หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 30/6/2556

สิ้นสุดไปแล้วสำหรับ window dressing ในไตรมาสที่ 2 เป็นไปตามคาดสำหรับทางกองทุนซึ่งลากมาปิดสัญญา long ซีรี่ M เมื่อวันที่ 27/6/2556 ได้แบบไม่เจ็บตัวนัก สัปดาห์ต่อจากนี้ไปจะเริ่มเป็นไปตามปัจจัยตลาดโดยปกติแล้ว


นับว่าเป็นสัญญาณที่ดีที่เริ่มทีแรงซื้อกลับของต่างชาติในช่วง 2 วันสุดท้ายของสัปดาห์ ทำให้ปัจจัยในการกดดันตลาดลดลงไปพอสมควร แต่เมื่อพิจารณากำลังซื้อที่ดันตลาดขึ้นมาในช่วงนี้จะเห็นได้ว่าตลาดได้มีการปรับตัวขึ้นมาโดยหุ้นกลุ่ม SET50 เป็นหลัก ประกอบกับในแต่ละวัน ยังไม่มีแรงซื้อกลับมาเพื่อดันดัชนีให้ไปต่อได้อย่างแข็งแรงการแกว่งตัวค่อนข้างมาก จึงมองแล้วว่าไม่น่าจะเป็นขาขึ้นได้ น่าจะเป็นการขยับตัวในกรอบ sideway ซะมากกว่า ประกอบกับมูลค่าดัชนี้ที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก (จาก แนวรับ 1350 > 1450) แต่มูลค่าการซื้อขายกลับไม่ได้เพิ่มขึ้นตามเท่าใดนัก ทำให้ดูแล้วไม่น่าจะมีการไปต่อได้ไกลซักเท่าไร น่าจะมีการสะสมหุ้นก่อนที่จะถึงขาขึ้นรอบใหม่ต่อไป


ในรูป TF week เริ่มมีแท่งเขียวขึ้นเป็นแท่งแรก แต่จากกราฟยังมองแนวโน้มเป็นขาลงอยู่การเกิดแท่งเขียวยังเป็นเพียง เทคนิเคิลรีบาวด์จากปัจจัย window dressing โดยมีแนวรับที่แข็งแกร่งที่ 1350 (EMA 200) โดยมีการทดสอบแนวรับ ถึง 3 ครั้ง แต่ก็ไม่ผ่าน ต้องรอการ confirm trend อีกครั้งเมื่อหมดปัจจัย window dressing แล้ว

ในตลาดช่วงนี้มองแล้วว่าน่าจะเริ่มซึมลง vol จะไม่คึกคักเหมือนก่อนหน้านี้ ประกอบกับการเล่นสัญญา tfex ที่มีแนวโน้มจะลดปริมาณลงค่อนข้างมากเพราะ IM สูงถึง 98,800 บาท ยิ่งทำให้การแกว่งตัวของดัชนีไม่น่าจะหวือหวาเหมือนก่อนหน้านี้

Trading strategy : รอซื้อแถวแนวรับ 1350 ทำกำไรแถวแนวต้าน 1480 ยังมองว่าน่าจะ sideway ไปซักระยะก่อนจะถึงขาขึ้นรอบใหม่
ปัจจัยกดดันตลาดในระยะกลาง-ยาว : การลดหรือถอน QE

วิเคราะห์การบริโภค

เขียนไว้ตั้งแต่วันที่ 22/6/2556
โดยพื้นฐานของเศรษฐกิจบ้านเราแล้ว ยังคงดูมีเสถียรภาพและน่าจะเดินต่อไปได้ครับ
โดยปัจจุบันดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับ 73.8 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น

แต่ในข้อเท็จจริงบางอย่างดังที่ทุกท่านอาจจะได้สัมผัสและรู้สึกกันบ้างแล้วคือ อัตราการบริโภคของครัวเรือนได้ลดลง โดยสาเหตุหลักมาจาก อัตราหนี้สินต่อครัวเรือนที่สูงขึ้นโดยเทียบกับอัตรารายได้
(ข้อมูลจากสภาพัฒน์) เมื่อปี 55-56 รายได้คนทั้งประเทศขยายตัวที่ 7.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นครับ แต่ยอดสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวสูงถึง 21.6 เปอร์เซ็นต์
โดยสินเชื่อที่ขยายตัวมากที่สุดคือ สินเชื่อเกี่ยวกับ รถ และ ที่อยู่อาศัยตามนโยบายของรัฐที่เป็นตัวเร่งให้ประชาชนก่อหนี้เพิ่มขึ้นจนเกินตัว และอีกปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของประชาชน คือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (อาหาร, สินค้า, บริการ) ก็มีการปรับตัวขึ้นตามค่าแรงด้วยเช่นกัน โดยรวมแล้วแม้คนจะมีเงินเดือนเพิ่มขึ้นก็จริงแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจนักหากผู้ที่ได้ก่อสินเชื่อดังกล่าวมาแล้วจะมีกำลังบริโภคลดลงอย่างชัดเจน
ยอดขายรถในปี 2555 ทั้งหมด 1,436,335 คันเพิ่มจากปี 2554 ถึง 80.9%

และในช่วงนี้อาจจะไม่ใช่ปีที่ดีนักสำหรับการส่งออก เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกก็ยังคงชะลอตัวอยู่และมีการผันผวนของค่าเงินที่ค่อนข้างรุนแรง การลงทุนหรือการขยายการผลิตสำหรับภาคเอกชนก็คงจะไม่มากนัก โดยเฉพาะในภาคยานยนต์ปีนี้น่าจะชะลอตัวอย่างชัดเจน ซึ่งตอนนี้ก้ได้เริ่มมีการทิ้งจองรถไปแล้วบางส่วนและทางค่ายรถต่างก็ต้องรีบระบายรถออกเนื่องจากยังมีออเดอร์ค้างส่งอยู่อีก อาจจะเป็นช่วงที่โชคดีกว่าสำหรับผู้ที่ไม่ได้ซื้อรถคันแรกในปีที่แล้วนะครับ เพราะทางศูนย์น่าจะมีโปรโมชั่นเพื่อการระบายรถแน่นอนครับ

อันนี้จะความเห็นของผมต่อสภาพการณ์นี้นะครับ ใครเห็นยังไงช่วยกัน ติหรือเพิ่มเติมได้นะครับ
ในภาพรวมเศรษฐกิจตอนนี้ผมยังมองว่าเศรษฐกิจไม่น่ามีปัญหาอะไรหรอกครับ
1.สำหรับเรื่องของตลาดหุ้นมันเป็นปัจจัยเรื่องของ fund flow ชั่วคราวเท่านั้น ท่านที่สนใจลงทุนอาจเริ่มมองหาหุ้นในดวงใจไว้ตั้งแต่ตอนนี้ได้แล้วนะครับ ส่วนจังหวะการซื้อขายก็พิจารณากันเองครับ
2.สภาพเศรษฐกิจโดยรวม หากมองจากผลประกอบการโดยรวมจะพอเห็นได้ว่า ก่อนหน้านี้มีบาง secter เท่านั้นที่เติบโดตอย่างโดดเด่น เช่น ด้านการเงินและสินเชื่อ ด้านยานยนต์ และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง กลุ่มสื่อสารและผู้ผลิตcontentต่างๆ ในขณะที่กลุ่มอื่นๆกลับทรงๆ หรือบางกลุ่มก็แย่กว่าเดิมเพราะปัจจัยภายนอกกดดัน เช่นกลุ่ม คอมโมดิตี้ และอาหารทะเล แต่ต่อไปผมมองว่า กำลังบริโภคภายในประเทศจะเริ่มลดลงเนื่องจากปัญหาหนี้สินครัวเรือนและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้คนลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยลง โดยน่าจะเริ่มสังเกตุได้จากการไปที่หรูหราน้อยลงหรือไปก็ใช้จ่ายกันในปริมาณที่น้อยลง จะส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดน่าจะหายไปพอสมควรครับ ดังที่บางท่านอาจจะรู้สึกกันได้
3.เมื่อสภาพคล่องหายไป ไม่มีการหมุนเวียนของเงินให้เกิดกำไร หรือการลงทุนขึ้น
เงินกู้ที่ได้ปล่อยไปก่อนหน้านี้ก็อาจจะมีปัญหาทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้กันและจะเกิดปัญหาบานปลาย

ผมก็ขอจบการวิเคราะห์แค่นี้ครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมาจนถึงตรงนี้ครับ โดยตอนนี้ผมมองปัจจัยเสี่ยงเพียงข้อเดียวของเศรษฐกิจไทยคือเรื่องปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่ค่อนข้างสูง เป็นปัจจัยกดดันการเจริญเติบโตในประเทศค่อนข้างมาก ในขณะที่ปัจจัยภายนอกประเทศไม่ได้สู้ดีนัก หรือไม่ก็อาจจะต้องรอถึง AEC กันเลยทีเดียว

วันเสาร์ที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ถัวขาขึ้น VS ถัวขาลง

ต้องย้อนถึงประโยชน์หรือ เหตุผลของแต่ละวิธีกันก่อนในเบื้องต้น
โดยหลักๆแล้ว วิธีการซื้อถัวเป็นการกระจายความเสี่ยงอย่างหนึ่งเพื่อไม่ให้การซื้อหุ้นในแต่ละครั้งได้ราคาที่เหมาะสมและเพื่อลดความเสี่ยงในการลงทุนในครั้งเดียวนั่นเอง เหมาะสำหรับนักลงทุนรายย่อยที่ยังไม่ค่อยเจนสังเวียนตลาดหุ้นเท่าใดนัก
วิธีการลงทุนให้มีกำไรในตลาดหุ้นนั้นมี 2 วิธีครับ คือซื้อถูกเอาไปขายแพง (ต่างกับ future) หรือไม่ก็ลงทุนเพื่อรอผลตอบแทนเป็นเงินปันผลออกมาครับ

ถ้าตามหลักการแล้ว การซื้อถัวขาขึ้นจะใช้สำหรับ นักลงทุนแนวเทคนิคครับ เพราะแนวเทคนิคจะถือคติว่า "ซื้อแพงเพื่อไปขายที่แพงกว่า" เมื่อใดที่แนวโน้มเปลี่ยน นั่นคือเวลาขายทำกำไรครับ ดังนั้นสำหรับการถัวขาขึ้นสำหรับนักเทคนิคจึงไม่ค่อยการกลัวการซื้อที่ราคาสูงขึ้นเท่าไหร่ ถ้านับการซื้อถัวแต่ละไม้ของนักเทคนิคแล้วเหมือนกับตั้งจุด safe ขึ้นไปในแต่ละครั้งของราคาที่สูงขึ้นไปนั่นเอง เมื่อถึง safe ใดที่ขาดทุน อาจจะทำกำไรออกมาเลย แต่ถ้าแนวโน้มยังไม่เปลี่ยนก็จะปล่อย let profit run ไปเรื่อยจนกว่าแนวโน้มจะเปลี่ยนครับ

ส่วนการถัวขาลง มักจะใช้กับนักลงทุนแนว VI หรือผู้ที่มองแนวต้านออกอย่างชัดเจน แต่ผมจะเน้นไปทาง VI ภาพจะชัดกว่าและเป็นไปตามหลักของแนว VI นะครับ หลักของแนว VI คือ "ซื้อเมื่อกิจการมีค่า MOS (magin of safety = ส่วนต่างความปลอดภัยของราคา) ที่เหมาะสม" (จริงๆหลักการเค้ายาวกว่านี้เยอะครับ แต่ผมสรุปสั้นๆให้เข้าใจง่าย) หรือซื้อเมื่อเห็นว่ากิจการนั้นมีมูลค่าที่ถูกมากแล้วนั่นเอง ดังนั้นเมื่อถึงจุดที่เค้าคิดว่าถูกแล้วเมื่อราคาลงอีกก็กล้าซื้อได้อีกครับ เพราะส่วนลึกของชาว VI เชื่อมั่นว่า ราคาหุ้นย่อมต้องวิ่งเข้าหาผลประกอบการที่แท้จริงครับ ก็คือได้ทั้งราคาถูกแถมมีปันผลไม่น้อย จึงไม่ค่อยแปลกใจนักที่ชาว VI ทั้งหลายต้องเป็นนักลงทุนระยะยาวผู้กล้าหาญที่จะลงทุนเมื่อ ตลาดซบเซาถึงที่สุดครับ และก็ไม่ต้องแปลกใจที่ชาว VI จะมีคำกล่าวที่ว่าถ้าไม่สามารถทนเห็น ราคาหุ้น-50% ได้ก็ไม่ควรเป็น VI ครับ (50%ที่ว่านี่ เป็นส่วนกำไรซะส่วนมากนะครับ)

ในจุดนี้ที่ตลาดขึ้นมาสู่สภาวะที่เหมาะสมแก่มูลค่าแล้วผู้ลงทุนก็แทบจะไม่เหลือ MOS กันแล้วการจะถัวขาลง ณ ตลาดที่สูงขนาดนี้จึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างเสี่ยงครับ เว้นแต่จะมองเห็นแนวรับออกชัดเจนครับ ซึ่งในทางปฏิบัติทำได้ยาก และสถานการณ์ ณ ปัจจุบันไม่ได้เอื้อให้ มี MOS มากมายถึงขนาดให้เราถือยาวอย่างสบายใจได้ หากเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นมาอาจทำให้เราเสียหายได้ ในขณะที่ผลตอบแทนตลาดก็ลดลงเรื่อยๆตามมูลค่าตลาดที่สูงขึ้น

จริงๆก็ไม่ได้สนับสนุนทางเทคนิคเต็มตัวนะครับ แต่พูดตามหลักการทั่วไปคือ เมื่อตลาดขึ้นสู่ที่สูง ราคาที่สูงขึ้น ความเสี่ยงก็สูงตาม แต่ผลตอบแทนกลับลดลง หรือถ้าเราคิดว่าเป็นนักลงทุนที่แท้จริงก็ยังมีวิธีสุดคลาสสิค คือ DCA (dollar cost average) ครับ โดยให้เรากำหนดการลงทุนเท่าๆกันเป็นช่วงๆตลอดระยะเวลาที่ลงทุน เช่น เราจะลงทุนในตลาด โดยซื้อหุ้น .... เป็นจำนวนเงิน..... ทุกเดือน เป็นต้น หลักการนี้จะทำให้นักลงทุนไม่ต้องจับจังหวะตลาดใดๆ เพราะการลงทุนแบบนี้ผลการลงทุนในช่วงที่ดีจะมาช่วยเฉลี่ยกับช่วงผลลงทุนที่แย่ได้ ทำให้พอร์ตของเราเติบโตไปตามตลาดได้ แต่ต้องเลือกหุ้นดีๆนะครับ

สุดท้ายนี้ ขอให้เลือกตัดสินใจกันเองครับว่าเราจะเป็นแบบไหน จะซื้อถัวขึ้นหรือถัวลงหรือลงทุนแบบ DCA ไปเลย ไม่ว่าวิธีใดล้วนมีหลักการใช้ของมัน หวังว่าบทความนี้คงทำให้หลายๆเลิกหลงทางบ้างครับ

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2556

เตือนใจ Tfex

เตือนใจสำหรับผู้เล่น tfex ครับ
โดยจุดประสงค์หลักแล้ว Tfex เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงครับ ใช้สำหรับผู้ที่มีหุ้นใน set50 หรือ SSF ทั้งหลาย เพื่อที่จะได้ไม่ต้องขายหุ้นออกมาเมื่อถึงเวลาที่หุ้นนั้นราคาตกซึ่งอาจจะทำให้หุ้นในตลาดยิ่งตกหนักรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งจุดประสงค์ในปัจจุบันได้ต่างไปจากวัตถุประสงค์แต่แรกค่อนข้างมาก โดยภายหลังได้กลับมาเป็นเครื่องมือในการเก็งกำไรของรายย่อยบางส่วน แต่ก็คงเสียเปรียบพวกรายใหญ่ที่มีกำลังเงินและหุ้น ที่สามารถกำหนดทิศทางตลาดได้ เพื่อนำมาใช้หาประโยชน์จากคนที่วางสัญญาผิดทาง และstop loss เพื่อปิดสัญญานั่นเอง

ลักษณะการทำงานของตัว Tfex จะมีลักษณะเป็น Zero sum game เพาะสัญญา tfex จะเกิดขึ้นได้จะต้องมีผู้ short long ตรงกันที่ราคานั้ นั่นคือหากมีคนนึงได้เงินจะต้องมีคนที่เสียเงินครับ ในจำนวนที่เท่าเทียมกันครับ และเนื่องด้วยเอกลักษณ์เฉพาะของตัวสัญญาที่ทำกำไรได้ทั้งขาขึ้น-ลงนั่นเอง ในทางกลับกันเราก็จะเสียเงินได้ทั้งขาขึ้น-ลงเช่นกัน ดังนั้นจึงไม่แปลกใจที่บางคนจะมองว่า tfex คือบ่อนถูกกฏหมายดีๆนี่เอง ผู้ที่ได้เปรียบที่สุดในเกมนี้ก็คือโบรกเกอร์ครับ ยิ่งมีการแกว่ง หรือผันผวนมากเท่าไหร่ คนก็ยิ่งเปิดสัญญาปิดสัญญากันบ่อยขึ้น จึงไม่ค่อยแปลกใจนักหากช่วงที่ไม่มีทิศทางที่ชัดเจน กลุ่มสถาบันจะเป็นกลุ่มที่ทำตลาดผันผวนจนจับทิศทางกันไม่ได้

และด้วย leverage ที่ค่อนข้างสูง เมื่อเทียบกับสมัยก่อน levarage อยู่ที่ราวๆ จุดนึงถึง2% การแกว่งตัวจึงไม่ได้มากนัก แต่ปัจจุบันที่อัตราทดเท่าเดิม แต่ค่าการแกว่งตัว 1 จุดเพียง 1% เศษๆเท่านั้นการขยับตัวของหุ้นใหญ่บางตัวเพียงเล็กน้อยย่อมมีผล ต่อดัชนีอย่างมีนัยยะสำคัญ การควบคุมราคาหุ้นใหญ่บางตัวจึงทำให้ดัชนีแกว่งได้อย่างรวดเร็ว ยิ่งทำให้รายใหญ่ได้เปรียบรายย่อยมากขึ้นไปอีก โดยเฉพาะช่วงที่ไม่ค่อยมีvol แต่กลับมีการแกว่งที่รุนแรงขนาดนี้

ผมแนะนำในช่วง sideway แบบนี้ให้ผู้ที่รับตวามเสี่ยงได้ต่ำ ควรอยู่เฉยในช่วงนี้ครับ ส่วนผู้ที่รับความเสี่ยงได้สูงควรมีจุดทำกำไรและ stop loss ที่ดีครับ
**หมายเหตุ**
-tfex เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงครับ ไม่ใช่เพิ่มความเสี่ยง
-tfex ทำกำไรได้ทั้ง 2 ขา แต่ก็ขาดทุนได้ทั้ง 2 ขาเช่นกัน
-ผู้เล่น tfex ระยะสั้นเปรียบกับนักเก็งกำไร (โดนกินค่าคอมเยอะ)ผู้เล่นตามแนวโน้ม เปรียบเสมือน VI ที่ถือสัญญาตามแนวโน้ม (นานๆซื้อขายทีตามแนวโน้ม)
-tfex ไม่เล่นไม่ได้เงิน แต่ก็ไม่เสียเงินเช่นกัน
-เราเล่น tfex แต่อย่าให้ tfex เล่นเราครับ เล่นแล้วเครียดได้ไม่คุ้มเสียสุขภาพจิตหรอกครับ
-ตลาดหุ้นยังเปิดทุกวัน หุ้นก็มีขึ้นมีลงทุกวัน ไม่ต้องกลัวไม่ได้เปิดสัญญาหรอกครับ

สุดท้ายนี้ที่เขียนบทความนี้ก็หวังจะให้ผู้ที่กำลังจะเข้ามาเล่นหรือผู้เล่นอยู่ได้ตระหนักถึงสิ่งเหล่านี้ครับ เพื่อที่ทุกคนจะได้อยู่รอดได้ในตลาดนี้ครับ
ปัจจุบัน ค่า IM ปัจจุบันคือ 98,800 เริ่มใช้ตั้งแต่ 28/6/2556

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ตรรกะวิบัติ QE

ในตอนนี้คนเหมือนจะชอบ QE โดยพยายามแช่งไม่อยากให้เศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้น ทั้งๆที่เค้าเป็นพี่ใหญ่อันดับ 1 ของโลก แต่ความจริงแล้วยิ่งเศรษฐกิจของสหรัฐดีมากขึ้นเท่าไหร่ เศรษฐกิจโลกก็มีแนวโน้มดีขึ้นอย่างยั่งยืนครับ ไม่อยากให้ทุกคนมอง QE(เงินกงเต๊ก)ที่เป็นเงินของปลอมเป็นพระเจ้าครับ อยากให้มองตัวสหรัฐที่กำลังดีวันดีคืนนี่แหละของจริง

แต่ตอนนี้คนหลงมัวเมากับ QE จนมองว่าเงิน QE นี่แหละเป็นเงินแท้จับต้องได้ โดยจุดประสงค์หลักของ QE แล้วเพื่อให้นำเงินมากระตุ้นเศรษฐกิจให้มีการใช้จ่ายหมุนเวียน แต่ ตอนนี้กลับนำเงินที่ว่ามาใช้แสวงหากำไรซะมากกว่า

อันที่จริงผมไม่ได้เกลียด QE นะครับ ชอบซะด้วยซ้ำ แต่ทุกคนควรตระหนักไว้เสมอว่า เงินส่วนนี้มันออกมาโดยไม่มีมูลค่ารองรับ แต่บังเอิญที่มันเป็นเงินสกุลหลักของโลก มันจึงยังคงสถานะได้ ดังนั้นเมื่อใดที่QE ต้องย้อนกลับสู่สภาพที่แท้จริง หวังว่าทุกคนคงไม่เป็นเหยื่อเงินกงเต๊ก ที่มากอบโกยเอาเงินจริงบ้านเราไปนะครับ