หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วิเคราะห์การบริโภค

เขียนไว้ตั้งแต่วันที่ 22/6/2556
โดยพื้นฐานของเศรษฐกิจบ้านเราแล้ว ยังคงดูมีเสถียรภาพและน่าจะเดินต่อไปได้ครับ
โดยปัจจุบันดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคยังคงอยู่ในระดับ 73.8 แสดงให้เห็นว่าผู้บริโภคยังคงเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจน่าจะดีขึ้น

แต่ในข้อเท็จจริงบางอย่างดังที่ทุกท่านอาจจะได้สัมผัสและรู้สึกกันบ้างแล้วคือ อัตราการบริโภคของครัวเรือนได้ลดลง โดยสาเหตุหลักมาจาก อัตราหนี้สินต่อครัวเรือนที่สูงขึ้นโดยเทียบกับอัตรารายได้
(ข้อมูลจากสภาพัฒน์) เมื่อปี 55-56 รายได้คนทั้งประเทศขยายตัวที่ 7.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นครับ แต่ยอดสินเชื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคลขยายตัวสูงถึง 21.6 เปอร์เซ็นต์
โดยสินเชื่อที่ขยายตัวมากที่สุดคือ สินเชื่อเกี่ยวกับ รถ และ ที่อยู่อาศัยตามนโยบายของรัฐที่เป็นตัวเร่งให้ประชาชนก่อหนี้เพิ่มขึ้นจนเกินตัว และอีกปัจจัยที่มีผลกระทบโดยตรงต่อรายได้ของประชาชน คือค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน (อาหาร, สินค้า, บริการ) ก็มีการปรับตัวขึ้นตามค่าแรงด้วยเช่นกัน โดยรวมแล้วแม้คนจะมีเงินเดือนเพิ่มขึ้นก็จริงแต่ก็มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน จึงไม่น่าแปลกใจนักหากผู้ที่ได้ก่อสินเชื่อดังกล่าวมาแล้วจะมีกำลังบริโภคลดลงอย่างชัดเจน
ยอดขายรถในปี 2555 ทั้งหมด 1,436,335 คันเพิ่มจากปี 2554 ถึง 80.9%

และในช่วงนี้อาจจะไม่ใช่ปีที่ดีนักสำหรับการส่งออก เพราะเศรษฐกิจทั่วโลกก็ยังคงชะลอตัวอยู่และมีการผันผวนของค่าเงินที่ค่อนข้างรุนแรง การลงทุนหรือการขยายการผลิตสำหรับภาคเอกชนก็คงจะไม่มากนัก โดยเฉพาะในภาคยานยนต์ปีนี้น่าจะชะลอตัวอย่างชัดเจน ซึ่งตอนนี้ก้ได้เริ่มมีการทิ้งจองรถไปแล้วบางส่วนและทางค่ายรถต่างก็ต้องรีบระบายรถออกเนื่องจากยังมีออเดอร์ค้างส่งอยู่อีก อาจจะเป็นช่วงที่โชคดีกว่าสำหรับผู้ที่ไม่ได้ซื้อรถคันแรกในปีที่แล้วนะครับ เพราะทางศูนย์น่าจะมีโปรโมชั่นเพื่อการระบายรถแน่นอนครับ

อันนี้จะความเห็นของผมต่อสภาพการณ์นี้นะครับ ใครเห็นยังไงช่วยกัน ติหรือเพิ่มเติมได้นะครับ
ในภาพรวมเศรษฐกิจตอนนี้ผมยังมองว่าเศรษฐกิจไม่น่ามีปัญหาอะไรหรอกครับ
1.สำหรับเรื่องของตลาดหุ้นมันเป็นปัจจัยเรื่องของ fund flow ชั่วคราวเท่านั้น ท่านที่สนใจลงทุนอาจเริ่มมองหาหุ้นในดวงใจไว้ตั้งแต่ตอนนี้ได้แล้วนะครับ ส่วนจังหวะการซื้อขายก็พิจารณากันเองครับ
2.สภาพเศรษฐกิจโดยรวม หากมองจากผลประกอบการโดยรวมจะพอเห็นได้ว่า ก่อนหน้านี้มีบาง secter เท่านั้นที่เติบโดตอย่างโดดเด่น เช่น ด้านการเงินและสินเชื่อ ด้านยานยนต์ และกลุ่มอสังหาริมทรัพย์และวัสดุก่อสร้าง กลุ่มสื่อสารและผู้ผลิตcontentต่างๆ ในขณะที่กลุ่มอื่นๆกลับทรงๆ หรือบางกลุ่มก็แย่กว่าเดิมเพราะปัจจัยภายนอกกดดัน เช่นกลุ่ม คอมโมดิตี้ และอาหารทะเล แต่ต่อไปผมมองว่า กำลังบริโภคภายในประเทศจะเริ่มลดลงเนื่องจากปัญหาหนี้สินครัวเรือนและค่าครองชีพที่สูงขึ้น ซึ่งจะทำให้คนลดรายจ่ายฟุ่มเฟือยลง โดยน่าจะเริ่มสังเกตุได้จากการไปที่หรูหราน้อยลงหรือไปก็ใช้จ่ายกันในปริมาณที่น้อยลง จะส่งผลให้สภาพคล่องในตลาดน่าจะหายไปพอสมควรครับ ดังที่บางท่านอาจจะรู้สึกกันได้
3.เมื่อสภาพคล่องหายไป ไม่มีการหมุนเวียนของเงินให้เกิดกำไร หรือการลงทุนขึ้น
เงินกู้ที่ได้ปล่อยไปก่อนหน้านี้ก็อาจจะมีปัญหาทำให้เกิดการผิดนัดชำระหนี้กันและจะเกิดปัญหาบานปลาย

ผมก็ขอจบการวิเคราะห์แค่นี้ครับ ขอบคุณทุกท่านที่ติดตามอ่านมาจนถึงตรงนี้ครับ โดยตอนนี้ผมมองปัจจัยเสี่ยงเพียงข้อเดียวของเศรษฐกิจไทยคือเรื่องปัญหาหนี้สินครัวเรือนที่ค่อนข้างสูง เป็นปัจจัยกดดันการเจริญเติบโตในประเทศค่อนข้างมาก ในขณะที่ปัจจัยภายนอกประเทศไม่ได้สู้ดีนัก หรือไม่ก็อาจจะต้องรอถึง AEC กันเลยทีเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น