ตามที่เคยกล่าวมาในบทความก่อนๆมาแล้ว
เราจะทราบว่าในตลาดการลงทุนไม่ได้มีเพียงการลงทุนเพียงแค่การซื้อ-ขายหุ้นเท่านั้น
แต่มีผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนอีกมากมายหลายชนิด หนึ่งในนั้นก็คือ TFEX หรือ Thailand
Future Exchange นั่นเอง และเราจะมาเล่าความเป็นมาของ tfex
โดยคร่าวๆกันก่อนเพื่อให้รู้ที่มา และจุดประสงค์ของการมี tfex นี้เพื่ออะไร
คงต้องย้อนกลับไปสมัยก่อนที่ตลาดหุ้นมีเพียงแค่การซื้อ-ขายหุ้นเพื่อลงทุนเท่านั้น
ดังนั้นเมื่อตลาดหุ้นตกการถือหุ้นนับช่วงที่ตลาดตกนั้นนับเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง
จึงได้เกิดมีลักษณะการตกลงระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง
ระหว่างธนาคารพาณิชย์กับผู้ประกอบการที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนหลังจากที่มีการส่งมอบสินค้าและชำระราคากันในอนาคต โดยสมัยก่อนจะมีการทำสัญญา
Future อัตราแลกเปลี่ยนเงิน หรือดอกเบี้ยเท่านั้น
แต่ภายหลังได้นำมาใช้กับตลาดหุ้นใน SET50 จนกระทั่งมาถึงตัว Single stock future
(SSF) ในที่สุด
อย่างไรก็ดีแม้การนำสัญญา future มาใช้ในตลาดหุ้นก็ตาม
แต่จุดประสงค์หลักที่นำมาใช้ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก
โดยมีไว้เพื่อบริหารความเสี่ยงในการถือหุ้นของนักลงทุนในช่วงตลาดขาลง
เนื่องจากในสมัยก่อนการซื้อขายหุ้นโดยปกตินั้นจะมีการทำกำไรกันได้เฉพาะตลาดขาขึ้นเท่านั้น
ซึ่งก็ไม่เป็นปัญหาใดหากตลาดมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง
แต่เมื่อถึงช่วงขาลงหรือมีการปรับตัวอย่างรุนแรงของตลาด
เมื่อตลาดยิ่งลงหนักคนก็ยิ่งขายหนีทิ้งทำให้ตลาดตกมากกว่าที่ควรจะเป็น
ซึ่งจุดนี้จะทำให้นักลงทุนเสียโอกาสในการถือหุ้นของตน และทำให้เกิด Panic
ของนักลงทุนกันได้ง่าย แต่เมื่อมี tfex มาช่วยบริหารความเสี่ยงทำให้นักลงทุนสามารถ
ลดความเสี่ยงในการเสียโอกาสจากการตกลงของตลาดได้และยังช่วยไม่ให้ตลาด Panic จนตกลงมากเกินไปนั่นเอง
แต่อาจจะด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ประกอบกับความคึกคักที่สูงขึ้นของตลาด
tfex ทำให้สินค้าตัวนี้เป็นที่นิยมสูงขึ้น และมีสภาพคล่องที่มากขึ้น โดยปริมาณส่วนใหญ่ในตลาด Tfex จะมาจากตัวสินค้า Future SET50 และก็เป็นสินค้าหนึ่งที่นักเก็งกำไรและกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์เข้ามาหาผลกำไรจากความผันผวนของตลาดแห่งนี้ ซึ่งถ้าแบ่งตามกลุ่มผู้เล่นที่มีอยู่ในตลาดแล้ว กลุ่มที่ได้เปรียบที่สุดน่าจะเป็นกลุ่มสถาบัน เพราะเป็นกลุ่มที่รู้การเคลื่อนไหวของตลาดได้ดีที่สุดและไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นในการเทรดอีกด้วย
ด้วยจุดประสงค์ที่ผิดเพี้ยนไปจึงขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะใช้ Tfex เพื่ออะไร ซึ่งจะส่งผลให้วิธีการเล่นและระบบที่ใช้ก็จะต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน
วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วิเคราะห์ตลาด 14/7/2556
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นช่วงพลิกผันพอสมควร โดยจุดพลิกผันหลักน่าจะมาจากเรื่องที่ FED ประกาศคงที่อัตราดอกเบี้ย และแถลงว่าจะยังคงไม่ลดอัตราการออก QE ในช่วงระยะนี้ (แต่ผู้เขียนคาดว่าน่าจะเรื่มส่งสัญญาณลดอีกทีในช่วงเดือน ก.ย.) ส่งผลให้เงินเริ่มกลับไปหาผลตอบแทนกันต่อไป โดยที่เริ่มมีสัญญาณจากราคาน้ำมัน ซึ่งมาปัจจัยมาจากปริมาณการสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐลดลงมากกว่าที่คาดการณ์กันไว้ ประกอบกับปัญหาทางอิยิปต์ก็ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และมีโอกาสไปทดสอบที่ 110 US/บาเรลได้
ประกอบกับค่าเงินดอลที่เริ่มอ่อนค่าลงมาทันทีหลังจากการแถลงของนายเบอนันเก้ ทำให้มองว่าน่าจะมีเงินไหลออกเพื่อไปหาผลตอบแทนที่อื่นไปก่อน แต่คงไม่ใช่ปริมาณที่มากนักและคงไม่ใช่การลงทุนในระยะที่น่าจะนานซักเท่าใดนัก เพราะอย่างไรเสียเงินส่วนนั้นก็ต้องกลับมาที่เดิมอยู่ดี
ต่อไปจะมามองแนวโน้มของตลาดผ่านกราฟ Set กันครับ
จากรูปกราฟ Set ใน TF day ถือได้ว่ากราฟค่อนข้างสวยทีเดียวครับ ปรับตัวมายืนเหนือเส้น 25 วัน และสัญญาณเส้น EMA 5 ตัดขึ้นเหนือ EMA 10 วันได้ MACD สัญญาณเริ่มแข็งแรงขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าเส้น 0 อยู่ดี สัญญาณ ADX เริ่มลู่เข้าหากันแล้วน่าจะมีแรงส่งต่อไปได้ครับ โดยมองแล้วน่าจะมีการทดสอบแนวต้านที่ 1470 ครับ ถ้ายืนได้อาจจะมีโอกาสไปต่อ แนวต้านใหญ่ที่มองไว้น่าจะราวๆ 1560 ครับ
ส่วนกราฟ Week รูปกราฟยังดูไม่ค่อยสดใสนัก แต่ก็เริ่มมีสัญญาณการชะลอการปรับตัวลง ถ้าดูจากแท่งเทียนถือได้ว่าเริ่มมีกำลังซื้อสูงกว่าแรงขายบ้างแล้ว เพราะเกิด Hammer ที่หางค่อนข้างยาว ทำให้มองแล้วอาจจะเริ่มเห็นการกลับตัวได้บ้าง
ถ้ามองแนวโน้มการลงทุนช่วงนี้จะเห็นว่า กลุ่มพลังงานที่ขึ้นมาเป็นตัวนำตลาดครับโดยสาเหตุหลักก็มาจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก กลุ่มรองลงมาคือกลุ่มธนาคาร ที่น่าจะเก็งผลประกอบการในช่วงนี้ ประกอบกับแรงขายจากกลุ่มต่างชาติก่อนหน้านี้เริ่มเบาบางลงทำให้ปัจจัยที่กดดันตลาดช่วงนี้น้อยลง จึงมองแล้วน่าจะเห็นการปรับตัวขึ้นของตลาดได้ในสัปดาห์หน้าครับ แต่อาจจะเป็นการเล่นรอบที่ไม่ยาวนานนัก อย่างที่เกริ่นไปตรงแถวเรื่องค่าเงิน จึงมองการกลับมาของเงินส่วนนี้เป็นเพียงส่วนน้อยที่มาหากำไรจากตลาดหุ้นและมีระยะการลงทุนที่ไม่ยาวนานนัก เพราะในระยะกลางเงินเหล่านี้ต้องถูกนำออกจากระบบอยู่แล้ว หากมีการยกเลิก QE
Trading strategy : ซื้อเก็งกำไรระยะสั้น ในหุ้นขนาดกลางเล็ก-เล็กเนื่องจากยัง laggard จากการขึ้นของตลาดอยู่ ให้ดูแนวโน้มในกลุ่มนำตลาด คือพลังงานและ ธนาคารครับ
ปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น : แรงขายทำกำไรของนักลงทุนรายย่อยระยะสั้น
ปัจจยกดดันตลาดระยะกลาง-ยาว : การลดและถอน QE
ปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น : แรงขายทำกำไรของนักลงทุนรายย่อยระยะสั้น
ปัจจยกดดันตลาดระยะกลาง-ยาว : การลดและถอน QE
วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
แนวคิดในการลงทุน
จากที่เคยได้เอ่ยถึงนักลงทุนรูปแบบต่างๆมาแล้ว ตามบทความ นักลงทุนกับความเสี่ยง ต่อจากนี้จะมาพูดถึงการประยุกต์แนวคิดของนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตลาดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตลาดครับ
สำหรับแนวทางในการลงทุนจะแบ่งได้หลักๆ เป็น2 แนวทางตามที่ทุกท่านได้ทราบกันดี คือแนวเก็งกำไร หรือ speculate (+technical ซึ่งผมจะรวม 2 แบบนี้ไปด้วยกันในบทความนี้ครับ) กับแนวพื้นฐาน หรือ Fundamental (+VI จะรวมเข้าไว้เช่นกันครับ) โดยพื้นฐานในการลงทุนทั้ง 2 แนวทางนี้คล้ายๆกันครับ คือ ซื้อที่ถูกและขายเมื่อแพง หรือขายแพงเพื่อไปซื้อถูกสำหรับผู้เล่น short / SBL / Put DW ครับ
แต่นิยามของคำว่าถูกหรือแพงของการลงทุนทั้ง 2 แนวทางนี้กลับต่างกันอย่างสิ้นเชิง สาเหตุก็เนื่องมาจากมุมมองที่แตกต่างกันในการลงทุนครับ
-สำหรับนักเก็งกำไรที่ชำนาญในตลาดจะสามารถทำกำไรได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของตลาด โดยในขาขึ้นจะสนใจที่ราคาหุ้นเป็นหลัก ความถูกของราคาจะอยู่ที่ว่าราคาที่ซื้อในวันนี้จะถูกกว่าราคาที่ซื้อในวันหน้า นักเก็งกำไรจึงไม่มีความกลัวที่จะซื้อหุ้นในราคาที่สูง เพราะเชื่อว่าแม้จะซื้อมาแพงก็สามารถนำไปขายที่ราคาแพงกว่าได้ ส่วนการทำกำไรในขาลงนั้น ก็จะทำตรงกันข้ามคือจะเริ่มจากการขาย ที่ราคาสูงก่อน แล้วไปรับซื้อคืนที่ราคาต่ำ โดยจะได้หุ้นเท่าเดิมแต่มีเงินที่ถือมากขึ้นครับ นักเก็งกำไรที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่มีระบบและวินัยในตัวเองที่ดีครับ เพื่อให้ทำกำไรได้มาก ในขณะที่ต้องให้ขาดทุนน้อยที่สุด จังหวะการเข้าออกมักจะใช้กราฟเป็นตัวบอกจังหวะทั้งขาขึ้นและลง เช่น MACD Bolinger Stochastic EMA RSI ADX เป็นต้น
-สำหรับแนวพื้นฐานจะดูความถูกของกิจการเป็นหลักครับ การเข้าซื้อของแนวพื้นฐานจะต้องมีการวิเคราะห์ตัวกิจการอย่างดี เพื่อหามูลค่าที่เหมาะสมของกิจการนั้น และยิ่งถ้ามี Margin of safety ด้วยจะดีมาก ดังนั้นนักลงทุนสายพื้นฐานมักจะซื้อหุ้นราคาถูกๆในกิจการที่มักไม่มีคนในตลาดสนใจกัน ทำให้สามารถซื้อได้ในราคาที่ถูก และต่อให้ราคาลดลงไปก็จะซื้อเพิ่มเข้าไปอีก แล้วก็รอจนเมื่อกิจการแสดงศักยภาพออกมา ราคามันก็จะมุ่งไปหาผลประกอบการเองครับ ค่าที่ชาวพื้นฐานให้ความสำคัญ เช่น P/E P/BV PEG ROA ROE MOS อัตราการปันผล จนถึงงบการเงิน และรายงานประจำปี
เมื่อเรารู้ถึงลักษณะการลงทุนแต่ละแบบแล้วเราจึงควรรู้ด้วยว่าการลงทุนแบบไหนเหมาะกับสภาพตลาดแบบใดเพื่อให้เราสามารถทำกำไร และอยู่รอดได้ในตลาดแห่งนี้ครับ
เราจึงต้องทราบก่อนว่าในตลาดนั้นมีรูปแบบใดบ้าง โดยแนวโน้มหลักจะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ
1.แนวโน้มขาลง downtrend
2.แนวโน้มขาขึ้น uptrend
3.ไม่มีแนวโน้มชัดเจน sideway แต่มีแนวรับและแนวต้านที่ค่อนข้างแข็งแรง
โดยปกติแนวโน้มขาขึ้นและขาลงไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแนวโน้ม (trend reversal) หรือไปในแนวโน้มเดิม (trend follow) ก็ตาม มักจะมีแนวโน้ม Sideway สำหรับการปรับฐานซักระยะ ก่อนจะมีการวิ่งตามแนวโน้มใหม่ต่อไป ดังนั้นจังหวะที่เราจะเข้าสู่ตลาดเราควรรู้เบื้องต้นก่้อนว่าเราจะเข้าไปอยู่ในช่วงแนวโน้มใด เพื่อให้วางแผนการลงทุนได้
กราฟ Set TF Week 4/2551-ปัจจุบัน
ช่วงที่ 1 เป็นช่วง downtrend ค่อนข้างชัดเจน สาเหตุสืบเนื่องจากวิกฤต subprime ถือว่าเป็นวิกฤตจากปัจจัยภายนอกมากระทบโดยตรง ซึ่งถ้าดูกราฟทางเทคนิค จะยิ่งเห็นชัดว่าสัญญาณเริ่มตัดขาลงตั้งแต่แถวๆ 800 ลงมา MACD ตัดต่ำ 0 น่าจะเป็นช่วงที่นักเก็งกำไรไม่น่าจะเข้าตลาดมาทำกำไรนัก เพราะความเสี่ยงค่อนข้างสูง แต่ยังมีการลงทุนในช่วงนี้สำหรับนักเก็งกำไร คือสามารถทำการ short หุ้น หรือ Tfex ตามแนวโน้มได้ ส่วนนักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่อาจจะบริหารความเสี่ยงสำหรับการไม่ขายหุ้นออกมาโดยการ short tfex หุ้นตัวเองหรือ set ไว้ได้ครับ คำนวณปริมาณสัญญาให้พอเหมาะกับมูลค่าหุ้นตัวเองก็พอ
ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่ต่ำสุดของการตกแล้ว ช่วงนี้จะเป็นช่วงผีหลอกครับซึ่งจะเป็นทุกครั้งหลังจากที่มีการตกอย่างหนักของหุ้น ยิ่งตกหนักมากเท่าไหร่ช่วงนี้ก็ยิ่งยาวมากเท่านั้น เพราะคนมักจะติดหุ้นที่สูงกันหมดแล้วทำให้ไม่มีแรงซื้อ เช่นเดียวกับแรงขายที่หมดเพราะไม่มีคนจะขายแล้วเช่นกัน เป็นช่วง sideway ที่น่าเบื่อมากสำหรับนักเก็งกำไรเพราะเข้าตลาดมาก็ไม่มีกำไรเนื่องจากไม่มีการซื้อขายหุ้นนั่นเอง (นักเก็งกำไรจะมองหากำไรจากการขึ้นลงของหุ้นครับ) แต่ตรงกันข้ามสำหรับนักลงทุนพื้นฐาน จะถือเป็นช่วงที่มีความสุขกับการเก็บหุ้นถูกๆดีๆที่มีอยู่เต็มตลาดได้อย่างสบายใจโดยไม่มีคนมาแย่ง ทำให้ต้นทุนถูกมาก
ช่วงที่ 3 ช่วงที่เริ่มเป็นขาขึ้น หรือ uptrend ตรงจุดนี้ นักเก็งกำไรจะเริ่มเข้าสู่ตลาดกันแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับระบบแต่ละคนจะเข้าช่วงไหนอย่างไร ลักษณะการเก็งกำไรช่วงนี้คือเข้าซื้อหุ้นแล้วถือ let profit run ครับ จนกว่าจะมีสัญญาณขายออกมา ส่วนนักลุงทุน ก็จะถือหุ้นที่ซื้อมาไว้ไปยาวๆเลยครับ จนกว่าราคาจะแพงเกินพื้นฐานมากก็อาจพิจารณาขาย แต่สำหรับนักลงทุนใหม่ที่เพิ่งเข้าช่วงนี้จนถึงก่อน Sideway ในช่วงที่ 4 อาจจะต้องกำหนดจุด cut loss ไว้บ้างในกรณีที่หุ้นมีการเปลี่ยน trend หรือมีการปรับฐานครับ โดยอาจจะใช้เทคนิคอลเข้าช่วยเพื่อกำหนดจุดออกได้ครับ
ช่วงที่ 4 เป็นลักษณะ sideway ระหว่าง trend เพื่อรอการเปลี่ยนแนวโน้มต่อไป สำหรับนักเก็งกำไร มักจะทำกำไรในช่วงนี้ได้ค่อนข้างดี เพราะมีแนวรับแนวต้านที่ค่อนข้างแข็ง โดยใช้วิธีซื้อที่แนวรับ ขายที่แนวต้าน ส่วนนักลงทุน ช่วง sideway นี้เหมือนช่วงพักผ่อน ให้ค่อยๆตรวจสอบกิจการและหาบริษัทที่ดีราคาไม่แพง เพื่อปรับพอร์ตหรือเก็บหุ้นดีๆเข้าพอร์ตโดยให้ตั้งรับไว้แถวๆแนวรับหรือสูงกว่าเล็กน้อยก็ได้
ช่วงที่ 5 เป็นช่วงต่อเนื่องขาขึ้นหลังจาก sideway การเก็งกำไรและการลงทุนก็จะคล้ายๆกับช่วงที่ 3 นั่นเองครับ
ช่วงที่ 6 เป็นช่วงที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ถือว่าเป็นอีกวิกฤตที่ทำให้ตลาดมีการปรับตัวลงพอสมควร แต่ก็ยังถือว่าเป็นเพียง correction เล็กๆที่อยู่ในแนวโน้มหลักเท่านั้น
ช่วงที่ 7 นับเป็นช่วงที่อันตรายที่สุดสำหรับมือใหม่ที่เข้าสู่ตลาด และมักจะเป็นช่วงที่ตลาดเฟื่องฟูทำให้หน้าใหม่ที่เข้ามาแล้วไม่เท่าทันตลาดพลาดติดหุ้นราคาสูงกันได้ง่าย และราคาหุ้นก็สูงเกินปัจจัยพื้นฐานกันมาแล้ว จนถึงขนาดที่ว่าบทวิเคราะห์ต้องนำค่า P/E forward มาใช้เพื่อผลักดันตลาด ซึ่งเป็นหลักการลงทุนที่ไม่ถูกต้องนัก โดยในช่วงนี้สำหรับนักเก็งกำไร การที่ตลาดขึ้นสูงเพียงใดนั้นไม่เป็นปัญหาต่อการเก็งกำไรเลยเพราะถือคติว่าซื้อแพงเพื่อไปขายที่แพงกว่าได้และหากผิดพลาดก็จะ stop loss ทันที ในทางตรงกันข้ามกับช่วงที่2ที่ตลาดกำลังคึกสุดขีดจะเป็นช่วงที่นักเก็งกำไรทำกำไรได้ง่ายที่สุด เพราะมีปริมาณการซื้อขายมหาศาล ทำให้สามารถทำราคาเพื่อหากำไรจากรายย่อยได้ง่าย และยิ่งเมื่อมีการปรับฐานลงรายย่อยก็ยังมารับของต่อทำให้ความเสี่ยงน้อยลงไป ส่วนนักลงทุน ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่นักลงทุนเริ่มกลัวที่สุด เพราะในราคาหุ้นบางตัวมีราคาที่แพงขึ้นมากจึงไม่มีการซื้อหุ้นเพิ่มเติมเพื่อการลงทุนอย่างแน่นอน และอาจจะมีการพิจารณาปรับพอร์ตโดยขายทำกำไรออกมาบางส่วนด้วยซ้ำ จนเมื่อตลาดเริ่มมีการปรับฐานก็ใช้วิธีบริหารความเสี่ยงเช่นเดียวกับชาลงได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นเพียงการปรับฐานเล็กๆอาจจะไม่มีการ sap หรือซื้อหุ้นกลับก็ได้ครับ
โดยสรุปช่วงที่สำคัญๆ สำหรับนักเก็งกำไร และนักลงทุน คือช่วงที่ 2 และช่วงที่ 6-7 ถือว่าเป็นจุดแบ่งที่ค่อนข้างชัดเจนสำหรับนักลงทุนทั้ง 2 สายนี้ จากประสบการณ์ของผู้เขียนแล้วจากที่ได้เข้าตลาดมาที่ระดับราคาที่ค่อนข้างสูงจึงค่อนข้างที่จะ sensitive กับการที่จะรักษาต้นทุนไว้ และเก็บกำไรได้เมื่อมีโอกาสประกอบกับเมื่อมองในพื้นฐานหุ้นทั้งหลายก็มีความเห็นว่า ราคาหุ้นสูงเกินมูลค่าไปทั้งตลาด โดยคร่าวๆหลังตลาดขึ้นไปถึง 1600+ ค่า P/E ก็ขึ้นไปเกือบ 17 เท่า และผลตอบแทนก็ลดต่ำจนเหลือเพียง2-3% เท่านั้น จึงตัดสินใจใช้ลักษณะการเข้าตลาดแบบเก็งกำไรในช่วงที่(7)ผ่านมา ดังนั้นเมื่อถึงจุดที่สัญญาณขายมาจึงต้องขายตามระบบครับ ทำให้สามารถรักษาเงินต้นและกำไรไว้ได้ จึงมาแชร์ประสบการณ์ไว้ให้ ณ ที่นี้
ช่วงต่อไปนี้เมื่อเกิดการปรับฐานแล้วก็มองแล้วน่าจะเป็นการ sideway ซักระยะเพื่อเลือกแนวโน้มต่อไป และผู้เขียนก็หวังว่าทุกคนคงเอาบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ประกอบการลงทุนได้ครับ
สำหรับแนวทางในการลงทุนจะแบ่งได้หลักๆ เป็น2 แนวทางตามที่ทุกท่านได้ทราบกันดี คือแนวเก็งกำไร หรือ speculate (+technical ซึ่งผมจะรวม 2 แบบนี้ไปด้วยกันในบทความนี้ครับ) กับแนวพื้นฐาน หรือ Fundamental (+VI จะรวมเข้าไว้เช่นกันครับ) โดยพื้นฐานในการลงทุนทั้ง 2 แนวทางนี้คล้ายๆกันครับ คือ ซื้อที่ถูกและขายเมื่อแพง หรือขายแพงเพื่อไปซื้อถูกสำหรับผู้เล่น short / SBL / Put DW ครับ
แต่นิยามของคำว่าถูกหรือแพงของการลงทุนทั้ง 2 แนวทางนี้กลับต่างกันอย่างสิ้นเชิง สาเหตุก็เนื่องมาจากมุมมองที่แตกต่างกันในการลงทุนครับ
-สำหรับนักเก็งกำไรที่ชำนาญในตลาดจะสามารถทำกำไรได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของตลาด โดยในขาขึ้นจะสนใจที่ราคาหุ้นเป็นหลัก ความถูกของราคาจะอยู่ที่ว่าราคาที่ซื้อในวันนี้จะถูกกว่าราคาที่ซื้อในวันหน้า นักเก็งกำไรจึงไม่มีความกลัวที่จะซื้อหุ้นในราคาที่สูง เพราะเชื่อว่าแม้จะซื้อมาแพงก็สามารถนำไปขายที่ราคาแพงกว่าได้ ส่วนการทำกำไรในขาลงนั้น ก็จะทำตรงกันข้ามคือจะเริ่มจากการขาย ที่ราคาสูงก่อน แล้วไปรับซื้อคืนที่ราคาต่ำ โดยจะได้หุ้นเท่าเดิมแต่มีเงินที่ถือมากขึ้นครับ นักเก็งกำไรที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่มีระบบและวินัยในตัวเองที่ดีครับ เพื่อให้ทำกำไรได้มาก ในขณะที่ต้องให้ขาดทุนน้อยที่สุด จังหวะการเข้าออกมักจะใช้กราฟเป็นตัวบอกจังหวะทั้งขาขึ้นและลง เช่น MACD Bolinger Stochastic EMA RSI ADX เป็นต้น
-สำหรับแนวพื้นฐานจะดูความถูกของกิจการเป็นหลักครับ การเข้าซื้อของแนวพื้นฐานจะต้องมีการวิเคราะห์ตัวกิจการอย่างดี เพื่อหามูลค่าที่เหมาะสมของกิจการนั้น และยิ่งถ้ามี Margin of safety ด้วยจะดีมาก ดังนั้นนักลงทุนสายพื้นฐานมักจะซื้อหุ้นราคาถูกๆในกิจการที่มักไม่มีคนในตลาดสนใจกัน ทำให้สามารถซื้อได้ในราคาที่ถูก และต่อให้ราคาลดลงไปก็จะซื้อเพิ่มเข้าไปอีก แล้วก็รอจนเมื่อกิจการแสดงศักยภาพออกมา ราคามันก็จะมุ่งไปหาผลประกอบการเองครับ ค่าที่ชาวพื้นฐานให้ความสำคัญ เช่น P/E P/BV PEG ROA ROE MOS อัตราการปันผล จนถึงงบการเงิน และรายงานประจำปี
เมื่อเรารู้ถึงลักษณะการลงทุนแต่ละแบบแล้วเราจึงควรรู้ด้วยว่าการลงทุนแบบไหนเหมาะกับสภาพตลาดแบบใดเพื่อให้เราสามารถทำกำไร และอยู่รอดได้ในตลาดแห่งนี้ครับ
เราจึงต้องทราบก่อนว่าในตลาดนั้นมีรูปแบบใดบ้าง โดยแนวโน้มหลักจะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ
1.แนวโน้มขาลง downtrend
2.แนวโน้มขาขึ้น uptrend
3.ไม่มีแนวโน้มชัดเจน sideway แต่มีแนวรับและแนวต้านที่ค่อนข้างแข็งแรง
โดยปกติแนวโน้มขาขึ้นและขาลงไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแนวโน้ม (trend reversal) หรือไปในแนวโน้มเดิม (trend follow) ก็ตาม มักจะมีแนวโน้ม Sideway สำหรับการปรับฐานซักระยะ ก่อนจะมีการวิ่งตามแนวโน้มใหม่ต่อไป ดังนั้นจังหวะที่เราจะเข้าสู่ตลาดเราควรรู้เบื้องต้นก่้อนว่าเราจะเข้าไปอยู่ในช่วงแนวโน้มใด เพื่อให้วางแผนการลงทุนได้
กราฟ Set TF Week 4/2551-ปัจจุบัน
ช่วงที่ 1 เป็นช่วง downtrend ค่อนข้างชัดเจน สาเหตุสืบเนื่องจากวิกฤต subprime ถือว่าเป็นวิกฤตจากปัจจัยภายนอกมากระทบโดยตรง ซึ่งถ้าดูกราฟทางเทคนิค จะยิ่งเห็นชัดว่าสัญญาณเริ่มตัดขาลงตั้งแต่แถวๆ 800 ลงมา MACD ตัดต่ำ 0 น่าจะเป็นช่วงที่นักเก็งกำไรไม่น่าจะเข้าตลาดมาทำกำไรนัก เพราะความเสี่ยงค่อนข้างสูง แต่ยังมีการลงทุนในช่วงนี้สำหรับนักเก็งกำไร คือสามารถทำการ short หุ้น หรือ Tfex ตามแนวโน้มได้ ส่วนนักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่อาจจะบริหารความเสี่ยงสำหรับการไม่ขายหุ้นออกมาโดยการ short tfex หุ้นตัวเองหรือ set ไว้ได้ครับ คำนวณปริมาณสัญญาให้พอเหมาะกับมูลค่าหุ้นตัวเองก็พอ
ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่ต่ำสุดของการตกแล้ว ช่วงนี้จะเป็นช่วงผีหลอกครับซึ่งจะเป็นทุกครั้งหลังจากที่มีการตกอย่างหนักของหุ้น ยิ่งตกหนักมากเท่าไหร่ช่วงนี้ก็ยิ่งยาวมากเท่านั้น เพราะคนมักจะติดหุ้นที่สูงกันหมดแล้วทำให้ไม่มีแรงซื้อ เช่นเดียวกับแรงขายที่หมดเพราะไม่มีคนจะขายแล้วเช่นกัน เป็นช่วง sideway ที่น่าเบื่อมากสำหรับนักเก็งกำไรเพราะเข้าตลาดมาก็ไม่มีกำไรเนื่องจากไม่มีการซื้อขายหุ้นนั่นเอง (นักเก็งกำไรจะมองหากำไรจากการขึ้นลงของหุ้นครับ) แต่ตรงกันข้ามสำหรับนักลงทุนพื้นฐาน จะถือเป็นช่วงที่มีความสุขกับการเก็บหุ้นถูกๆดีๆที่มีอยู่เต็มตลาดได้อย่างสบายใจโดยไม่มีคนมาแย่ง ทำให้ต้นทุนถูกมาก
ช่วงที่ 3 ช่วงที่เริ่มเป็นขาขึ้น หรือ uptrend ตรงจุดนี้ นักเก็งกำไรจะเริ่มเข้าสู่ตลาดกันแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับระบบแต่ละคนจะเข้าช่วงไหนอย่างไร ลักษณะการเก็งกำไรช่วงนี้คือเข้าซื้อหุ้นแล้วถือ let profit run ครับ จนกว่าจะมีสัญญาณขายออกมา ส่วนนักลุงทุน ก็จะถือหุ้นที่ซื้อมาไว้ไปยาวๆเลยครับ จนกว่าราคาจะแพงเกินพื้นฐานมากก็อาจพิจารณาขาย แต่สำหรับนักลงทุนใหม่ที่เพิ่งเข้าช่วงนี้จนถึงก่อน Sideway ในช่วงที่ 4 อาจจะต้องกำหนดจุด cut loss ไว้บ้างในกรณีที่หุ้นมีการเปลี่ยน trend หรือมีการปรับฐานครับ โดยอาจจะใช้เทคนิคอลเข้าช่วยเพื่อกำหนดจุดออกได้ครับ
ช่วงที่ 4 เป็นลักษณะ sideway ระหว่าง trend เพื่อรอการเปลี่ยนแนวโน้มต่อไป สำหรับนักเก็งกำไร มักจะทำกำไรในช่วงนี้ได้ค่อนข้างดี เพราะมีแนวรับแนวต้านที่ค่อนข้างแข็ง โดยใช้วิธีซื้อที่แนวรับ ขายที่แนวต้าน ส่วนนักลงทุน ช่วง sideway นี้เหมือนช่วงพักผ่อน ให้ค่อยๆตรวจสอบกิจการและหาบริษัทที่ดีราคาไม่แพง เพื่อปรับพอร์ตหรือเก็บหุ้นดีๆเข้าพอร์ตโดยให้ตั้งรับไว้แถวๆแนวรับหรือสูงกว่าเล็กน้อยก็ได้
ช่วงที่ 5 เป็นช่วงต่อเนื่องขาขึ้นหลังจาก sideway การเก็งกำไรและการลงทุนก็จะคล้ายๆกับช่วงที่ 3 นั่นเองครับ
ช่วงที่ 6 เป็นช่วงที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ถือว่าเป็นอีกวิกฤตที่ทำให้ตลาดมีการปรับตัวลงพอสมควร แต่ก็ยังถือว่าเป็นเพียง correction เล็กๆที่อยู่ในแนวโน้มหลักเท่านั้น
ช่วงที่ 7 นับเป็นช่วงที่อันตรายที่สุดสำหรับมือใหม่ที่เข้าสู่ตลาด และมักจะเป็นช่วงที่ตลาดเฟื่องฟูทำให้หน้าใหม่ที่เข้ามาแล้วไม่เท่าทันตลาดพลาดติดหุ้นราคาสูงกันได้ง่าย และราคาหุ้นก็สูงเกินปัจจัยพื้นฐานกันมาแล้ว จนถึงขนาดที่ว่าบทวิเคราะห์ต้องนำค่า P/E forward มาใช้เพื่อผลักดันตลาด ซึ่งเป็นหลักการลงทุนที่ไม่ถูกต้องนัก โดยในช่วงนี้สำหรับนักเก็งกำไร การที่ตลาดขึ้นสูงเพียงใดนั้นไม่เป็นปัญหาต่อการเก็งกำไรเลยเพราะถือคติว่าซื้อแพงเพื่อไปขายที่แพงกว่าได้และหากผิดพลาดก็จะ stop loss ทันที ในทางตรงกันข้ามกับช่วงที่2ที่ตลาดกำลังคึกสุดขีดจะเป็นช่วงที่นักเก็งกำไรทำกำไรได้ง่ายที่สุด เพราะมีปริมาณการซื้อขายมหาศาล ทำให้สามารถทำราคาเพื่อหากำไรจากรายย่อยได้ง่าย และยิ่งเมื่อมีการปรับฐานลงรายย่อยก็ยังมารับของต่อทำให้ความเสี่ยงน้อยลงไป ส่วนนักลงทุน ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่นักลงทุนเริ่มกลัวที่สุด เพราะในราคาหุ้นบางตัวมีราคาที่แพงขึ้นมากจึงไม่มีการซื้อหุ้นเพิ่มเติมเพื่อการลงทุนอย่างแน่นอน และอาจจะมีการพิจารณาปรับพอร์ตโดยขายทำกำไรออกมาบางส่วนด้วยซ้ำ จนเมื่อตลาดเริ่มมีการปรับฐานก็ใช้วิธีบริหารความเสี่ยงเช่นเดียวกับชาลงได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นเพียงการปรับฐานเล็กๆอาจจะไม่มีการ sap หรือซื้อหุ้นกลับก็ได้ครับ
โดยสรุปช่วงที่สำคัญๆ สำหรับนักเก็งกำไร และนักลงทุน คือช่วงที่ 2 และช่วงที่ 6-7 ถือว่าเป็นจุดแบ่งที่ค่อนข้างชัดเจนสำหรับนักลงทุนทั้ง 2 สายนี้ จากประสบการณ์ของผู้เขียนแล้วจากที่ได้เข้าตลาดมาที่ระดับราคาที่ค่อนข้างสูงจึงค่อนข้างที่จะ sensitive กับการที่จะรักษาต้นทุนไว้ และเก็บกำไรได้เมื่อมีโอกาสประกอบกับเมื่อมองในพื้นฐานหุ้นทั้งหลายก็มีความเห็นว่า ราคาหุ้นสูงเกินมูลค่าไปทั้งตลาด โดยคร่าวๆหลังตลาดขึ้นไปถึง 1600+ ค่า P/E ก็ขึ้นไปเกือบ 17 เท่า และผลตอบแทนก็ลดต่ำจนเหลือเพียง2-3% เท่านั้น จึงตัดสินใจใช้ลักษณะการเข้าตลาดแบบเก็งกำไรในช่วงที่(7)ผ่านมา ดังนั้นเมื่อถึงจุดที่สัญญาณขายมาจึงต้องขายตามระบบครับ ทำให้สามารถรักษาเงินต้นและกำไรไว้ได้ จึงมาแชร์ประสบการณ์ไว้ให้ ณ ที่นี้
ช่วงต่อไปนี้เมื่อเกิดการปรับฐานแล้วก็มองแล้วน่าจะเป็นการ sideway ซักระยะเพื่อเลือกแนวโน้มต่อไป และผู้เขียนก็หวังว่าทุกคนคงเอาบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ประกอบการลงทุนได้ครับ
วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
จุดเริ่มต้นการลงทุน
ก่อนอื่นเราควรทำความเข้าใจก่อนว่าทำไมเราจึงควรต้องมีการลงทุน สาเหตุก็สืบเนื่องมาจากการที่โลกของเรานั้นมีคำว่าเงินเฟ้อครับ ก็ขออธิบายสักเล็กน้อยสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าเงินเฟ้อนี้คืออะไร ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็คือมูลค่าของเงินที่ใช้ซื้อของได้น้อยลง หรือซื้อต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อของปริมาณเท่าเดิม ตัวอย่างเช่น ตัวเลขเงินเฟ้อที่ 2% สมมุติปีนี้เราซื้อาหาร 1 จานที่ 100 บาท แต่ในปีหน้าเราจะซื้ออาหาร 1 จานเราต้องใช้เงิน 102 บาทเพื่อซื้อหาร 1 จานเท่าเดิมครับ จากตัวอย่างเราจะเห็นได้ว่าหากเราถือเงินไว้เฉยๆโดยไม่นำเงินไปลงทุนหรือต่อยอดเงินนั้น มูลค่าของเงินจะลดลงเรื่อยๆครับ
คำถามต่อมาคือเราจะลงทุนอย่างไรดี ในกรณีที่แย่ที่สุดสำหรับการลงทุนที่เราควรพิจารณาคือ การลงทุนนั้นต้องไม่ให้ผลตอบแทนที่แย่กว่าเงินเฟ้อ เพื่ออย่างน้อยมูลค่าเงินที่เรามีในปัจจุบันจะไม่ลดลงอย่างแน่นอนในอนาคตครับ
*** บทนำ : บทความต่อจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การเก็งกำไรครับ การลงทุนจึงหมายถึงเงินเย็นที่ไม่ได้ใช้และมีระยะเวลาลงทุนที่ค่อนข้างยาวครับ ***
การลงทุนนั้นจะมีมากมายหลายแบบให้เลือกสรรค์ครับ ซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินคำว่า High Risk- High Return กันมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งมันก็เป็นจริงในตลาดเงินครับ โดยการลงทุนจะแบ่งคร่าวๆเป็นประเภทใหญ่ๆดังนี้
1.การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนที่ค่อนข้างมีความแน่นอนที่สุดในเรื่องของการคงมูลค่าสินทรัพย์ โดยที่มูลค่าจะเติบโตขึ้นตามทำเลที่ตั้งและอัตราการเติบโตของพื้นที่โดยรอบ อัตราเติบโตขึ้นต่ำก็ควรเป็นไปตามการประเมินมูลค่าที่ดินซึ่งจะมีการประเมินราคาใหม่ทุกๆ 4 ปี และส่วนมากราคาก็มักจะปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ ข้อดีของการลงทุนนี้คือ มีความเสี่ยงค่อนข้างน้อย ส่วนข้อเสียก็คือ อาจต้องใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง หรืออาจต้องรอจนกว่าจะมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ ซึ่งจะใช้เวลาค่อนข้างนานทีเดียว แต่ผลตอบแทนก็มักจะคุ้มค่าครับ
2.การลงทุนในเงินฝากหรือเงินกู้ การลงทุนในเงินฝากของสถาบันการเงินก็เหมือนกับเราเอาเงินไปให้ธนาคารยืมเพื่อไปใช้จ่ายหมุนเวียนในกิจการแล้วตอบแทนเราด้วยเงินดอกเบี้ยนั่นแหละครับ ส่วนพวกเงินกู้ ขอให้ทุกท่านไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ดอกเบี้ยกับผลตอบแทนในตลาดหุ้น ครับ
3.การลงทุนในตลาดทุน ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงกลางๆ โดยจะมีการลงทุนโดยเป็นผู้ถือหุ้นในตลาดหรือการไปซื้อกองทุนรวมก็ได้ครับ โดยส่วนนี้จะพูดถึงแนวทางสำหรับนักลงทุนครับ
สำหรับคนที่อาจจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจในตลาดหุ้นและไม่มีเวลาติดตามตลาด การลงทุนในเบื้องต้นที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นครับ (ไม่นับกองทุนทอง น้ำมัน หรือกองทุนบริหารความเสี่ยงอื่นๆนะครับ) โดยกองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ความสามารถที่จะมาบริหารเงินลงทุนให้เหมาะสมครับขึ้นอยู่นโยบายการลงทุนของกองทุนแต่ละกอง โดยมากแล้วมูลค่ากองทุนมักจะมีผลตอบแทนไปในทิศทางเดียวกับตลาด
หลายๆท่านอาจมีคำถามว่าแล้วถ้าตลาดเป็นขาลงละกองทุนที่เราถืออยู่มูลค่าไม่ลดลงด้วยหรือ คำตอบคือลดลงเช่นเดียวกับผู้ที่ลงทุนด้วยตัวเองในหุ้นครับ แต่จากการศึกษาของ เบนจามิน เกรแฮม แล้วมีคำตอบสำหรับการแก้ปัญหานี้ให้ โดยการลงทุนในธุรกิจที่ดีและเหมาะสมเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอผลตอบแทนที่ได้จากตลาดจะค่อยๆเพิ่มพูนขึ้นไปเรื่อยๆในระยะยาวครับ เพียงแต่ตลาดหุ้นมักจะมีช่วงที่ฮึกเหิม หรือหดหู่จนเกินควรแค่นั้นเอง ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบวิธีการลงทุนที่เรียบง่ายแต่ได้ผล นั่นก็คือ DCA นั่นเองครับ
DCA (Dollar Cost Average) เป็นวิธีที่ตัดปัญหาเรื่องอารมณ์และเหตุผลในการจับจังหวะการซื้อหุ้นทั้งหมดทิ้งไป โดยการกำหนดง่ายๆว่า เราจะลงทุนเป็นเงิน......บาท ในทุกๆ.... (วัน สัปดาห์ เดือน ปี) ก็แล้วแต่ความสามารถในการเก็บออมเงินทุนของแต่ละคน ซึ่งการลงทุนรูปแบบนี้การลงทุนในช่วงที่ราคาหุ้นต่ำเราก็จะลงทุนได้หุ้นมากขึ้นที่เงินเท่ากัน แต่เราจะได้หุ้นน้อยลงเมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นการลงทุนในช่วงที่หุ้นราคาถูกจะมาถัวเฉลี่ยกับช่วงที่ราคาหุ้นสูงได้ทำให้มูลค่าหุ้นเป็นไปตามแนวโน้มการเติบโตของตัวบริษัทได้ ประกอบกับตรรกะง่ายๆที่ว่า ตราบเท่าที่กิจการยังเติบโตไปได้ราคาหุ้นและผลตอบแทนย่อมต้องเติบโตไปด้วยเช่นกัน แต่ส่วนนี้นักลงทุนต้องใช้ความรู้ความสามารถในการเลือกหุ้นที่ดีเข้าพอร์ตด้วยตนเอง ต่างจากผู้ถือกองทุนรวมที่จะมีผู้บริหารกองทุนจัดการให้อยู่แล้ว หากไม่ต้องการความเสี่ยงในการลงทุนมากนักก็ลงทุนได้ในหุ้นใหญ่ของตลาดได้ เช่น SET50 SET100 เป็นต้น
ส่วนการลงทุนในตลาดทุนรูปแบบอื่นที่นิยมกันอย่างสูงก็คือแนว VI (Value Investor) หรือที่เรียกว่านักลงทุนเน้นคุณค่านั่นเอง เป็นการลงทุนโดยเทียบกับการซื้อมูลค่ากิจการต้องมีมูลค่า หรือการเจริญเติบโตที่ดีในอนาคตโดยราคาต้องสมเหตุสมผลหรือมีส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of Safety) สำหรับมูลค่าหุ้นนั้น มาก-น้อยแล้วแต่แนวการลงทุน-การรับความเสี่ยงของแต่ละท่าน
จริงๆแล้วสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นคนส่วนมากมักจะโดนความโลภเข้าครอบงำเมื่อเข้ามาอยู่ในตลาด สาเหตุก็เพราะมักมีคนอื่นมาโอ้อวดหรือเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับการได้กำไรจากการเล่นหุ้น ทำให้คนที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนน้อยหรือขาดทุนเกิดความไขว้เขวในการลงทุนไปสู่การเก็งกำไรได้ โดยเราไม่ได้มองอีกมุมหนึ่งว่าคนที่กำไรนั้นชอบโอ้อวด แต่ก็มีคนที่ขาดทุนนั้นแต่ไม่กล้าออกตัวเพราะเหมือนกับแสดงว่าตัวเองไม่มีฝีมือในตลาดหุ้นเช่นกัน
ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่แท้จริงแล้ว การลงทุนอยู่สม่ำเสมอในหุ้นที่ดีไม่ว่าตลาดจะเป็นเช่นไรก็ตามคุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีแน่นอน เพียงแต่ส่วนใหญ่คนมักจะเจ็บตัว และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตลาดหุ้น ทำให้หันหลังจากการลงทุนเสียหมด จนไม่อาจประสบความสำเร็จในการลงทุนได้
บทสรุปสำหรับการลงทุนนี้ ไม่ว่าจะลงทุนในรูปแบบใดล้วนมีผลตอบแทนทั้งสิ้นเพียงแต่ลงทุนให้ถูกจังหวะ ถูกเวลา และถูกที่ เราก็จะได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับแผนที่เราตั้งไว้ครับ อย่าลืมนะครับ เงินเก็บไว้เฉยๆมันด้อยค่าลงทุกวัน ให้มันออกไปทำงานซะบ้างครับ
คำถามต่อมาคือเราจะลงทุนอย่างไรดี ในกรณีที่แย่ที่สุดสำหรับการลงทุนที่เราควรพิจารณาคือ การลงทุนนั้นต้องไม่ให้ผลตอบแทนที่แย่กว่าเงินเฟ้อ เพื่ออย่างน้อยมูลค่าเงินที่เรามีในปัจจุบันจะไม่ลดลงอย่างแน่นอนในอนาคตครับ
*** บทนำ : บทความต่อจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การเก็งกำไรครับ การลงทุนจึงหมายถึงเงินเย็นที่ไม่ได้ใช้และมีระยะเวลาลงทุนที่ค่อนข้างยาวครับ ***
การลงทุนนั้นจะมีมากมายหลายแบบให้เลือกสรรค์ครับ ซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินคำว่า High Risk- High Return กันมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งมันก็เป็นจริงในตลาดเงินครับ โดยการลงทุนจะแบ่งคร่าวๆเป็นประเภทใหญ่ๆดังนี้
1.การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนที่ค่อนข้างมีความแน่นอนที่สุดในเรื่องของการคงมูลค่าสินทรัพย์ โดยที่มูลค่าจะเติบโตขึ้นตามทำเลที่ตั้งและอัตราการเติบโตของพื้นที่โดยรอบ อัตราเติบโตขึ้นต่ำก็ควรเป็นไปตามการประเมินมูลค่าที่ดินซึ่งจะมีการประเมินราคาใหม่ทุกๆ 4 ปี และส่วนมากราคาก็มักจะปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ ข้อดีของการลงทุนนี้คือ มีความเสี่ยงค่อนข้างน้อย ส่วนข้อเสียก็คือ อาจต้องใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง หรืออาจต้องรอจนกว่าจะมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ ซึ่งจะใช้เวลาค่อนข้างนานทีเดียว แต่ผลตอบแทนก็มักจะคุ้มค่าครับ
2.การลงทุนในเงินฝากหรือเงินกู้ การลงทุนในเงินฝากของสถาบันการเงินก็เหมือนกับเราเอาเงินไปให้ธนาคารยืมเพื่อไปใช้จ่ายหมุนเวียนในกิจการแล้วตอบแทนเราด้วยเงินดอกเบี้ยนั่นแหละครับ ส่วนพวกเงินกู้ ขอให้ทุกท่านไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ดอกเบี้ยกับผลตอบแทนในตลาดหุ้น ครับ
3.การลงทุนในตลาดทุน ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงกลางๆ โดยจะมีการลงทุนโดยเป็นผู้ถือหุ้นในตลาดหรือการไปซื้อกองทุนรวมก็ได้ครับ โดยส่วนนี้จะพูดถึงแนวทางสำหรับนักลงทุนครับ
สำหรับคนที่อาจจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจในตลาดหุ้นและไม่มีเวลาติดตามตลาด การลงทุนในเบื้องต้นที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นครับ (ไม่นับกองทุนทอง น้ำมัน หรือกองทุนบริหารความเสี่ยงอื่นๆนะครับ) โดยกองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ความสามารถที่จะมาบริหารเงินลงทุนให้เหมาะสมครับขึ้นอยู่นโยบายการลงทุนของกองทุนแต่ละกอง โดยมากแล้วมูลค่ากองทุนมักจะมีผลตอบแทนไปในทิศทางเดียวกับตลาด
หลายๆท่านอาจมีคำถามว่าแล้วถ้าตลาดเป็นขาลงละกองทุนที่เราถืออยู่มูลค่าไม่ลดลงด้วยหรือ คำตอบคือลดลงเช่นเดียวกับผู้ที่ลงทุนด้วยตัวเองในหุ้นครับ แต่จากการศึกษาของ เบนจามิน เกรแฮม แล้วมีคำตอบสำหรับการแก้ปัญหานี้ให้ โดยการลงทุนในธุรกิจที่ดีและเหมาะสมเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอผลตอบแทนที่ได้จากตลาดจะค่อยๆเพิ่มพูนขึ้นไปเรื่อยๆในระยะยาวครับ เพียงแต่ตลาดหุ้นมักจะมีช่วงที่ฮึกเหิม หรือหดหู่จนเกินควรแค่นั้นเอง ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบวิธีการลงทุนที่เรียบง่ายแต่ได้ผล นั่นก็คือ DCA นั่นเองครับ
DCA (Dollar Cost Average) เป็นวิธีที่ตัดปัญหาเรื่องอารมณ์และเหตุผลในการจับจังหวะการซื้อหุ้นทั้งหมดทิ้งไป โดยการกำหนดง่ายๆว่า เราจะลงทุนเป็นเงิน......บาท ในทุกๆ.... (วัน สัปดาห์ เดือน ปี) ก็แล้วแต่ความสามารถในการเก็บออมเงินทุนของแต่ละคน ซึ่งการลงทุนรูปแบบนี้การลงทุนในช่วงที่ราคาหุ้นต่ำเราก็จะลงทุนได้หุ้นมากขึ้นที่เงินเท่ากัน แต่เราจะได้หุ้นน้อยลงเมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นการลงทุนในช่วงที่หุ้นราคาถูกจะมาถัวเฉลี่ยกับช่วงที่ราคาหุ้นสูงได้ทำให้มูลค่าหุ้นเป็นไปตามแนวโน้มการเติบโตของตัวบริษัทได้ ประกอบกับตรรกะง่ายๆที่ว่า ตราบเท่าที่กิจการยังเติบโตไปได้ราคาหุ้นและผลตอบแทนย่อมต้องเติบโตไปด้วยเช่นกัน แต่ส่วนนี้นักลงทุนต้องใช้ความรู้ความสามารถในการเลือกหุ้นที่ดีเข้าพอร์ตด้วยตนเอง ต่างจากผู้ถือกองทุนรวมที่จะมีผู้บริหารกองทุนจัดการให้อยู่แล้ว หากไม่ต้องการความเสี่ยงในการลงทุนมากนักก็ลงทุนได้ในหุ้นใหญ่ของตลาดได้ เช่น SET50 SET100 เป็นต้น
ส่วนการลงทุนในตลาดทุนรูปแบบอื่นที่นิยมกันอย่างสูงก็คือแนว VI (Value Investor) หรือที่เรียกว่านักลงทุนเน้นคุณค่านั่นเอง เป็นการลงทุนโดยเทียบกับการซื้อมูลค่ากิจการต้องมีมูลค่า หรือการเจริญเติบโตที่ดีในอนาคตโดยราคาต้องสมเหตุสมผลหรือมีส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of Safety) สำหรับมูลค่าหุ้นนั้น มาก-น้อยแล้วแต่แนวการลงทุน-การรับความเสี่ยงของแต่ละท่าน
จริงๆแล้วสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นคนส่วนมากมักจะโดนความโลภเข้าครอบงำเมื่อเข้ามาอยู่ในตลาด สาเหตุก็เพราะมักมีคนอื่นมาโอ้อวดหรือเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับการได้กำไรจากการเล่นหุ้น ทำให้คนที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนน้อยหรือขาดทุนเกิดความไขว้เขวในการลงทุนไปสู่การเก็งกำไรได้ โดยเราไม่ได้มองอีกมุมหนึ่งว่าคนที่กำไรนั้นชอบโอ้อวด แต่ก็มีคนที่ขาดทุนนั้นแต่ไม่กล้าออกตัวเพราะเหมือนกับแสดงว่าตัวเองไม่มีฝีมือในตลาดหุ้นเช่นกัน
ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่แท้จริงแล้ว การลงทุนอยู่สม่ำเสมอในหุ้นที่ดีไม่ว่าตลาดจะเป็นเช่นไรก็ตามคุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีแน่นอน เพียงแต่ส่วนใหญ่คนมักจะเจ็บตัว และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตลาดหุ้น ทำให้หันหลังจากการลงทุนเสียหมด จนไม่อาจประสบความสำเร็จในการลงทุนได้
บทสรุปสำหรับการลงทุนนี้ ไม่ว่าจะลงทุนในรูปแบบใดล้วนมีผลตอบแทนทั้งสิ้นเพียงแต่ลงทุนให้ถูกจังหวะ ถูกเวลา และถูกที่ เราก็จะได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับแผนที่เราตั้งไว้ครับ อย่าลืมนะครับ เงินเก็บไว้เฉยๆมันด้อยค่าลงทุกวัน ให้มันออกไปทำงานซะบ้างครับ
วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วิเคราะห์ตลาด 7/7/2556
นับจากวันที่มีข่าว เรื่องประกาศอัตราการจ้างงานนอกภาคการเกษตรออกมาที่ 195,000 อัตรา สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 165,000 แม้ว่าอัตราการว่างงานจะคงไว้ที่ 7.6% ก็ตาม แต่ในแง่ความรู้สึกแล้วมองได้ว่าเศรษฐกิจทางสหรัฐเริ่มเติบดีขึ้นทำให้มีความกังวลเรื่อง อาจจะมีการชะลอ QE เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยตลาดต่างๆได้เริ่มตอบรับต่อข่าวนี้แทบจะในทันที
เริ่มจากตลาดเงิน อัตราแลกเปลี่ยน USD ต่อเงินสกุลอื่นๆแข็งค่าขึ้นทันทีครับ เช่น บาท ยูโร และเยน โดยมีแนวโน้มเดียวกันในค่าเงินอื่นเช่นกัน
ทำให้มองเห็นแนวโน้มการไหลกลับของเงินดอลลาร์อย่างชัดเจนในทุกๆตลาด ดูแนวโน้ม future ของตลาดอื่นๆก็เป็นไปในทิศทางลงอย่างชัดเจนครับ
เมื่อดูแนวโน้มของตลาด ดาวโจนส์ ที่บวกขึ้นไปถึง +147.29 ปิดที่ 15135.84 ประกอบกับ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 10ปีที่ขึ้นไปที่ 2.72% ทันทีที่ข่าวออกมามา
จึงมองเห็นแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนของเงินดอลล่าร์แล้วว่าน่าจะมีการไหลกลับของเงินอย่างแน่นอน สาเหตุเพราะการกังวลเรื่อง QE ที่ทำให้คนต้องรีบลดความเสี่ยงโดยการกลับไปถือเงินดอลไว้ก่อนและนำไปลงทุนต่อในรูปของเงินดอลเช่นตลาดหุ้น หรือ พันธบัตรของสหรัฐนั่นเอง โดยเป็นการลงทุนเพื่อรอเวลาที่จะดึงเงิน QE ออกจากระบบต่อไป
สำหรับแนวโน้มตลาดในอาทิตย์หน้า จะมีแรงกดดันตลาดจากปัจจัยการไหลเงินกลับของเงินอย่างแน่นอนครับ โอกาสตลาดจะสดใสโอกาสคงมีไม่มาก เพราะตอนนี้ยอดเงินของต่างชาติที่อยู่ในตลาดหุ้นบ้านเราก็ยังมีอีกพอสมควร (Net 120,000 M ไม่รวมมูลค่าเพิ่มจากตลาดปรับตัวสูงขึ้น) ตอนนี้จึงน่าจะมองแรงขายของต่างชาติเป็นหลักครับ อยู่ที่ว่าจะมีการเทขายลักษณะใด ถ้าค่อยๆลงสวยก็ดีไปครับ ตลาดไม่ค่อย Panic แต่ถ้าลงแบบแรงๆน่าจะเกิด panic ตามมาแน่นอนจึงขึ้นอยู่กับว่าจะมีการขายในลักษณะใด เพราะไม่ใช่แต่ทางฝั่งเราเท่านั้นต่างชาติก็มี panic เช่นกันครับซึ่งไม่มีใครยอมขาดทุนกว่าใครแน่นอน
แต่อย่างไรก็ดียังพอมีพระเอกในสถานการณ์นี้อยู่บ้างครับ เท่าที่มองเห็นน่าจะเป็นกลุ่มพลังงานครับ เพราะราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นเป็น 103.49 ต่อบาเรล โดยสาเหตุหลักมาจากการจราจลยืดเยื้อในอิยิปต์ครับ แต่เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว น่าจะพอยันตลาดได้บ้างเล้กน้อยแต่อย่าคาดหวังอะไรมากครับ
ช่วงนี้แนะให้ดูทิศทางตลาดไปก่อนครับ ยังไม่ต้องรีบเข้าตลาดปัจจัยลบยังมีเยอะกว่าปัจจัยบวกครับ ต่อให้ตลาดขึ้นได้ก็ไปได้ไม่ไกล ยังดูมีความเสี่ยงอยู่ค่อนข้างมาก ยังมองว่ามีโอกาสลงต่ออยู่ครับ
Trading strategy : wait and see
ปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น : Fundflow ไหลออก
เริ่มจากตลาดเงิน อัตราแลกเปลี่ยน USD ต่อเงินสกุลอื่นๆแข็งค่าขึ้นทันทีครับ เช่น บาท ยูโร และเยน โดยมีแนวโน้มเดียวกันในค่าเงินอื่นเช่นกัน
ทำให้มองเห็นแนวโน้มการไหลกลับของเงินดอลลาร์อย่างชัดเจนในทุกๆตลาด ดูแนวโน้ม future ของตลาดอื่นๆก็เป็นไปในทิศทางลงอย่างชัดเจนครับ
เมื่อดูแนวโน้มของตลาด ดาวโจนส์ ที่บวกขึ้นไปถึง +147.29 ปิดที่ 15135.84 ประกอบกับ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 10ปีที่ขึ้นไปที่ 2.72% ทันทีที่ข่าวออกมามา
จึงมองเห็นแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนของเงินดอลล่าร์แล้วว่าน่าจะมีการไหลกลับของเงินอย่างแน่นอน สาเหตุเพราะการกังวลเรื่อง QE ที่ทำให้คนต้องรีบลดความเสี่ยงโดยการกลับไปถือเงินดอลไว้ก่อนและนำไปลงทุนต่อในรูปของเงินดอลเช่นตลาดหุ้น หรือ พันธบัตรของสหรัฐนั่นเอง โดยเป็นการลงทุนเพื่อรอเวลาที่จะดึงเงิน QE ออกจากระบบต่อไป
สำหรับแนวโน้มตลาดในอาทิตย์หน้า จะมีแรงกดดันตลาดจากปัจจัยการไหลเงินกลับของเงินอย่างแน่นอนครับ โอกาสตลาดจะสดใสโอกาสคงมีไม่มาก เพราะตอนนี้ยอดเงินของต่างชาติที่อยู่ในตลาดหุ้นบ้านเราก็ยังมีอีกพอสมควร (Net 120,000 M ไม่รวมมูลค่าเพิ่มจากตลาดปรับตัวสูงขึ้น) ตอนนี้จึงน่าจะมองแรงขายของต่างชาติเป็นหลักครับ อยู่ที่ว่าจะมีการเทขายลักษณะใด ถ้าค่อยๆลงสวยก็ดีไปครับ ตลาดไม่ค่อย Panic แต่ถ้าลงแบบแรงๆน่าจะเกิด panic ตามมาแน่นอนจึงขึ้นอยู่กับว่าจะมีการขายในลักษณะใด เพราะไม่ใช่แต่ทางฝั่งเราเท่านั้นต่างชาติก็มี panic เช่นกันครับซึ่งไม่มีใครยอมขาดทุนกว่าใครแน่นอน
แต่อย่างไรก็ดียังพอมีพระเอกในสถานการณ์นี้อยู่บ้างครับ เท่าที่มองเห็นน่าจะเป็นกลุ่มพลังงานครับ เพราะราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นเป็น 103.49 ต่อบาเรล โดยสาเหตุหลักมาจากการจราจลยืดเยื้อในอิยิปต์ครับ แต่เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว น่าจะพอยันตลาดได้บ้างเล้กน้อยแต่อย่าคาดหวังอะไรมากครับ
ช่วงนี้แนะให้ดูทิศทางตลาดไปก่อนครับ ยังไม่ต้องรีบเข้าตลาดปัจจัยลบยังมีเยอะกว่าปัจจัยบวกครับ ต่อให้ตลาดขึ้นได้ก็ไปได้ไม่ไกล ยังดูมีความเสี่ยงอยู่ค่อนข้างมาก ยังมองว่ามีโอกาสลงต่ออยู่ครับ
Trading strategy : wait and see
ปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น : Fundflow ไหลออก
วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
ดอกเบี้ยกับผลตอบแทนในตลาดหุ้น
คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่แต่ละคนเข้ามาลงทุนนั้นต้องการผลตอบแทนอย่างแน่นอน แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าการลงทุนแบบไหนจะให้ผลตอบแทนอะไรบ้างและคุ้มค่ากับความเสี่ยงที่มีหรือไม่ ดังนั้นเราจึงควรทำความรู้จักของผลตอบแทนในการลงทุนแบบต่างๆกันเพื่อให้เราจัดสรรค์เงินลงทุนของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ
โดยเราจะเริ่มต้นจากผลตอบแทนของการลงทุนในแต่ละแบบก่อน โดยเริ่มจากดอกเบี้ย ผลตอบแทนของดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งที่ทุกคนค่อนข้างคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เพราะได้พบเจออยู่ประจำในชีวิตประจำวัน โดยนิยามของดอกเบี้ยก็คือการที่เรานำเงินของเราไปให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้(ผู้กู้)นำเงินของเราไปเพื่อลงทุนหรือหาผลประโยชน์ โดยให้ค่าตอบแทนแก่เราในรูปแบบของเงินดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่เราได้พบเจออยู่เสมอ เช่น การกู้ยืมระหว่างกัน การฝากธนาคาร การซื้อพันธบัตร และหุ้นกู้ของบริษัทต่างๆ โดยผลตอบแทนและความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
-การกู้ยืมระหว่างกัน ตามกฎหมายแล้วให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 15% ต่อปี หรือถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ก็ให้ใช้ 7.5%ต่อปี ความเสี่ยงคือ อาจเกิดการเบี้ยวหนี้ได้
-ฝากธนาคาร ในปัจจุบันทางธนาคารก็ได้มีพัฒนาด้านเงินฝากขึ้นมาหลากหลายเพื่อตอบสนองแก่การลงทุนในระยะต่างๆ ตามแต่ความประสงค์ของผู้ฝากเงินครับ ผลตอบแทนก็แตกต่างไปตามข้อกำหนดของแต่ละที่ ความเสี่ยง ถือว่าค่อนข้างน้อย โดย ณ ปัจจุบันมีการประกันความเสี่ยงของเงินต้นให้ที่ 1 ล้านบาทต่อคนต่อธนาคาร ในกรณีที่ธนาคารเกิดล้มขึ้นมาครับ เรากระจายความเสี่ยงได้โดยการเปิดบัญชีหลายธนาคารได้ครับ
-พันธบัตร เปรียบเสมือนเราเป็นเจ้าหนี้รัฐบาล ผลตอบแทนจะสูงขึ้นตามอายุพันธบัตรที่มากขึ้นครับ และโดยส่วนมากก็มักจะมีอายุค่อนนาน จึงเหมาะกับผู้ที่ลงทุนระยะยาวครับ ความเสี่ยงแทบจะไม่มี มีเพียงแต่การเสียโอกาสที่จะนำเงินนั้นมาลงทุนอย่างอื่นเท่านั้นเอง
-หุ้นกู้ของบริษัท ก็คือบริษัทมาของกู้เงินจากเราเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายนั่นเอง โดยผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นกู้จะขึ้นกับค่า credit rating ของหุ้นกู้นั้นๆ โดยหุ้นกู้ที่ credit rating สูง จะได้ผลตอบแทนต่ำกว่า แต่ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ส่วนหุ้นกู้ที่มี credit rating ต่ำจะให้ผลตอบแทนที่สูง แต่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ AAA , AA , A ,BBB, BB ,B ,C ,D ระดับที่เหมาะแก่การลงทุนขึ้นไปควรอยู่ระดับ BBB ขึ้นไปครับ
ต่อไปเป็นผลตอบแทนในตลาดหุ้น โดยสมัยก่อนที่ยังไม่มีนวัตกรรมทางการเงินมากมายนัก การลงทุนในตลาดหุ้นจะมีเพียงลักษณะเดียวคือการซื้อ-ขายหุ้นของ บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปการลงทุนในรูปแบบเดิมก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองต่อการบริหารความเสี่ยง หรือการแสวงหากำไรแก่นักลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ดังเช่นในตลาดบ้านเราขณะนี้ก็เริ่มมีนวัตกรรมการลงทุนในหลายๆตลาด ได้แก่
1.ตลาดหุ้น
2.DW (Derivative Warrant)
3.ตลาด Tfex
4.ตลาด Option
โดยในส่วนนี้จะกล่าวถึงการลงทุนเป็นหลักจึงไม่ขอเอ่ยถึงการเก็งกำไรหรือการบริหารความเสี่ยงในตลาด DW Tfex และ Option ครับ
ตลาดหุ้น มีผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน 2 ชนิดคือ ส่วนเพิ่มมูลค่าหุ้น (Capital gain) และเงินปันผล (Dividend)
- Capital gain ปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้น มี 2 อย่างด้วยกัน คือ ผลประกอบการ ซึ่งเป็นปัจจัยชี้นำมูลค่าหุ้นได้ในระยะยาว และ แรง Demand-Supply ในหุ้นตัวนั้น ซึ่งเป็นปัจจัยชี้นำราคาหุ้นในระยะสั้น ดังนั้นสำหรับนักลงทุนแล้วหากเรามั่นใจว่าหุ้นที่เราคัดสรรค์มาอย่างดีแล้วนั้นจะมีการเติบโตต่อไปในอนาคต ราคาหุ้นในอนาคตย่อมต้องสูงขึ้นด้วยอย่างแน่นอนครับ ซึ่งจะต่างจากนักเก็งกำไรในการลงทุนนั้นหากผู้เข้ามาแสวงหากำไรในราคาหุ้น (capital gain) ย่อมมีความเสี่ยงสำหรับการผันผวนของราคาหุ้นในระยะสั้นครับ
-Dividend จะมากน้อยขึ้นอยู่กับผลประกอบการ และนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัท โดยทั้ง 2 สิ่งนี้จะเป็นปัจจัยสะท้อนไปที่ราคาหุ้นด้วยเช่นกัน โดยนักลงทุนบางท่านก็อาจะเน้นที่ปันผลเป็นหลักอย่างเดียวก็มี หรือที่เรียกกันว่า หุ้นห่านทองคำ นั่นเอง
โดยเราจะสังเกตุได้ว่า ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยจะคล้ายคลึงกับผลตอบแทนจากเงินปันผลมากทีเดียว แต่หากมองภาพในระยะสั้นแล้วเราจะมองเห็นว่า ผลตอบแทนของเงินปันผลนั้นจะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามมูลค่าของหุ้น ยกตัวอย่างเช่น
ที่ราคาหุ้น 10 บาท มีเงินปันผลให้ 1 บาท ดังนั้นผลตอบแทนของหุ้นตัวนี้มีค่าเท่ากับ 10% แต่เมื่อราคาหุ้นที่สูงขึ้น กลับจะทำให้ผลตอบแทนในรูปปันผลลดต่ำลง โดยเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปที่ 20 บาท หากเราถือตั้งแต่ราคา 10 บาท เราก็จะได้ Capital gain ถึง 100% แต่ผลตอบแทนจากเงินปันผลจะลดลงเหลือเพียง 5% เท่านั้น ผู้เขียนจึงต้องการจะสื่อให้เห็นว่า การที่เราซื้อหุ้นปันผลในราคาที่สูงเพื่อคาดหวังกับเงินปันผลเพื่อเอาชนะอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้องนัก ยกเว้นแต่เราจะมองว่ากิจการของหุ้นตัวนั้นจะมีการเติบโตที่ดีขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอนเพื่อให้เราถือหุ้นเพื่อการลงทุนได้อย่างสบายใจนั่นเอง
โดยความเสี่ยงสำหรับหุ้นห่านทองคำ ณ ราคาสูงก็คือ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลต่อราคาหุ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ในกรณีที่หุ้นนั้นไม่ได้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจนทำให้อัตราเงินปันผลสูงขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ย เมื่อผลตอบแทนน้อยลงก็น่าจะมีการไหลของเงินไปสู่ที่ผลตอบแทนดีกว่าและปลอดภัยกว่าครับ
ส่วนตัวผู้เขียนมองว่า ณ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว และเริ่มมีสัญญาณขึ้นบ้างแล้วใน bond ของทางสหรัฐ ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้เพื่อเป็นอีกปัจจัยในการตัดสินใจเลือกหุ้นในการลงทุนครับ
โดยเราจะเริ่มต้นจากผลตอบแทนของการลงทุนในแต่ละแบบก่อน โดยเริ่มจากดอกเบี้ย ผลตอบแทนของดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งที่ทุกคนค่อนข้างคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เพราะได้พบเจออยู่ประจำในชีวิตประจำวัน โดยนิยามของดอกเบี้ยก็คือการที่เรานำเงินของเราไปให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้(ผู้กู้)นำเงินของเราไปเพื่อลงทุนหรือหาผลประโยชน์ โดยให้ค่าตอบแทนแก่เราในรูปแบบของเงินดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่เราได้พบเจออยู่เสมอ เช่น การกู้ยืมระหว่างกัน การฝากธนาคาร การซื้อพันธบัตร และหุ้นกู้ของบริษัทต่างๆ โดยผลตอบแทนและความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไปดังนี้
-การกู้ยืมระหว่างกัน ตามกฎหมายแล้วให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 15% ต่อปี หรือถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ก็ให้ใช้ 7.5%ต่อปี ความเสี่ยงคือ อาจเกิดการเบี้ยวหนี้ได้
-ฝากธนาคาร ในปัจจุบันทางธนาคารก็ได้มีพัฒนาด้านเงินฝากขึ้นมาหลากหลายเพื่อตอบสนองแก่การลงทุนในระยะต่างๆ ตามแต่ความประสงค์ของผู้ฝากเงินครับ ผลตอบแทนก็แตกต่างไปตามข้อกำหนดของแต่ละที่ ความเสี่ยง ถือว่าค่อนข้างน้อย โดย ณ ปัจจุบันมีการประกันความเสี่ยงของเงินต้นให้ที่ 1 ล้านบาทต่อคนต่อธนาคาร ในกรณีที่ธนาคารเกิดล้มขึ้นมาครับ เรากระจายความเสี่ยงได้โดยการเปิดบัญชีหลายธนาคารได้ครับ
-พันธบัตร เปรียบเสมือนเราเป็นเจ้าหนี้รัฐบาล ผลตอบแทนจะสูงขึ้นตามอายุพันธบัตรที่มากขึ้นครับ และโดยส่วนมากก็มักจะมีอายุค่อนนาน จึงเหมาะกับผู้ที่ลงทุนระยะยาวครับ ความเสี่ยงแทบจะไม่มี มีเพียงแต่การเสียโอกาสที่จะนำเงินนั้นมาลงทุนอย่างอื่นเท่านั้นเอง
-หุ้นกู้ของบริษัท ก็คือบริษัทมาของกู้เงินจากเราเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายนั่นเอง โดยผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นกู้จะขึ้นกับค่า credit rating ของหุ้นกู้นั้นๆ โดยหุ้นกู้ที่ credit rating สูง จะได้ผลตอบแทนต่ำกว่า แต่ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ส่วนหุ้นกู้ที่มี credit rating ต่ำจะให้ผลตอบแทนที่สูง แต่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ AAA , AA , A ,BBB, BB ,B ,C ,D ระดับที่เหมาะแก่การลงทุนขึ้นไปควรอยู่ระดับ BBB ขึ้นไปครับ
ต่อไปเป็นผลตอบแทนในตลาดหุ้น โดยสมัยก่อนที่ยังไม่มีนวัตกรรมทางการเงินมากมายนัก การลงทุนในตลาดหุ้นจะมีเพียงลักษณะเดียวคือการซื้อ-ขายหุ้นของ บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปการลงทุนในรูปแบบเดิมก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองต่อการบริหารความเสี่ยง หรือการแสวงหากำไรแก่นักลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ดังเช่นในตลาดบ้านเราขณะนี้ก็เริ่มมีนวัตกรรมการลงทุนในหลายๆตลาด ได้แก่
1.ตลาดหุ้น
2.DW (Derivative Warrant)
3.ตลาด Tfex
4.ตลาด Option
โดยในส่วนนี้จะกล่าวถึงการลงทุนเป็นหลักจึงไม่ขอเอ่ยถึงการเก็งกำไรหรือการบริหารความเสี่ยงในตลาด DW Tfex และ Option ครับ
ตลาดหุ้น มีผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน 2 ชนิดคือ ส่วนเพิ่มมูลค่าหุ้น (Capital gain) และเงินปันผล (Dividend)
- Capital gain ปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้น มี 2 อย่างด้วยกัน คือ ผลประกอบการ ซึ่งเป็นปัจจัยชี้นำมูลค่าหุ้นได้ในระยะยาว และ แรง Demand-Supply ในหุ้นตัวนั้น ซึ่งเป็นปัจจัยชี้นำราคาหุ้นในระยะสั้น ดังนั้นสำหรับนักลงทุนแล้วหากเรามั่นใจว่าหุ้นที่เราคัดสรรค์มาอย่างดีแล้วนั้นจะมีการเติบโตต่อไปในอนาคต ราคาหุ้นในอนาคตย่อมต้องสูงขึ้นด้วยอย่างแน่นอนครับ ซึ่งจะต่างจากนักเก็งกำไรในการลงทุนนั้นหากผู้เข้ามาแสวงหากำไรในราคาหุ้น (capital gain) ย่อมมีความเสี่ยงสำหรับการผันผวนของราคาหุ้นในระยะสั้นครับ
-Dividend จะมากน้อยขึ้นอยู่กับผลประกอบการ และนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัท โดยทั้ง 2 สิ่งนี้จะเป็นปัจจัยสะท้อนไปที่ราคาหุ้นด้วยเช่นกัน โดยนักลงทุนบางท่านก็อาจะเน้นที่ปันผลเป็นหลักอย่างเดียวก็มี หรือที่เรียกกันว่า หุ้นห่านทองคำ นั่นเอง
โดยเราจะสังเกตุได้ว่า ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยจะคล้ายคลึงกับผลตอบแทนจากเงินปันผลมากทีเดียว แต่หากมองภาพในระยะสั้นแล้วเราจะมองเห็นว่า ผลตอบแทนของเงินปันผลนั้นจะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามมูลค่าของหุ้น ยกตัวอย่างเช่น
ที่ราคาหุ้น 10 บาท มีเงินปันผลให้ 1 บาท ดังนั้นผลตอบแทนของหุ้นตัวนี้มีค่าเท่ากับ 10% แต่เมื่อราคาหุ้นที่สูงขึ้น กลับจะทำให้ผลตอบแทนในรูปปันผลลดต่ำลง โดยเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปที่ 20 บาท หากเราถือตั้งแต่ราคา 10 บาท เราก็จะได้ Capital gain ถึง 100% แต่ผลตอบแทนจากเงินปันผลจะลดลงเหลือเพียง 5% เท่านั้น ผู้เขียนจึงต้องการจะสื่อให้เห็นว่า การที่เราซื้อหุ้นปันผลในราคาที่สูงเพื่อคาดหวังกับเงินปันผลเพื่อเอาชนะอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้องนัก ยกเว้นแต่เราจะมองว่ากิจการของหุ้นตัวนั้นจะมีการเติบโตที่ดีขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอนเพื่อให้เราถือหุ้นเพื่อการลงทุนได้อย่างสบายใจนั่นเอง
โดยความเสี่ยงสำหรับหุ้นห่านทองคำ ณ ราคาสูงก็คือ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลต่อราคาหุ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ในกรณีที่หุ้นนั้นไม่ได้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจนทำให้อัตราเงินปันผลสูงขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ย เมื่อผลตอบแทนน้อยลงก็น่าจะมีการไหลของเงินไปสู่ที่ผลตอบแทนดีกว่าและปลอดภัยกว่าครับ
ส่วนตัวผู้เขียนมองว่า ณ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว และเริ่มมีสัญญาณขึ้นบ้างแล้วใน bond ของทางสหรัฐ ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้เพื่อเป็นอีกปัจจัยในการตัดสินใจเลือกหุ้นในการลงทุนครับ
วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
นักลงทุนกับความเสี่ยง
เป็นคำพูดที่มีมาช้านานแล้ว และมันก็เป็นจริงในระดับหนึ่งครับ แต่สิ่งเหล่านี้จะมีผลน้อยลงกับนักลงทุนผู้ช่ำชองในตลาดความเสี่ยงจะลดน้อยลงตามความสามารถที่เพิ่มขึ้น โดยจะแบ่งความเสี่ยงเป็นแนวคิดได้ตามแนวการลงทุน ก็คือ
1.แนวเก็งกำไร (Speculate) คติประจำใจ : มีกำไรที่ไหนไปที่นั่น ,ซื้อแพงเพื่อไปขายแพงกว่า
เป็นนักลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงสุด มีลักษณะการเล่นหุ้นตามข่าวหรือตามกระแสทุกอย่าง แต่มีการจำกัดความเสี่ยงโดยการ Cut loss ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุนแบบนี้ครับ โดยนักเก็งกำไรก็ยังแบ่งเป็นหลายระดับตามหลักของการเข้าทำกำไร ได้แก่
- ตามระยะเวลาที่เก็งกำไร เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรืออาจจะเป็นรอบเก็งกำไรในช่วงต่างของปี โดยลักษณะการเข้าเก็งกำไรของกลุ่มนี้จะมี จุดเข้าออกที่ค่อนข้างชัดเจนตามระยะเวลาที่เข้าทำกำไร แต่อาจมีจ้อด้อยที่การทำกำไรอาจไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าใดนัก
- ตามกระแสเงินทุน Fundflow โดยจะมองตามกระแสเงินทุนต่างชาติเป็นหลัก เพราะถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงต่อปัจจัยราคาหุ้นโดยตรง และมีรอบการเข้าออกที่ค่อนข้างชัดเจน มีนักลงทุนไม่น้อยที่อิงกระแสนี้เช่นกัน
- ตามกระแสข่าวดี/ร้ายที่มีต่อหุ้น ลักษณะนี้มักจะต้องเป็นข่าววงในก่อน และเมื่อกระจายสู่สาธารณะก็จะเป็นช่วงที่หมดรอบไปแล้ว ปริมาณของกำไรขึ้นอยู่กับการเข้าถึงข่าวและความแน่นอนของข่าว
แต่ไม่ว่าจะเข้าทำกำไรในลักษณะใดก็ตามต้องมีวินัยที่ดีในการ cut loss เสมอไม่ว่า ตลาดจะเป็นเช่นไรก็ตาม และต้องมีการ take profit หรือ protect profit ไว้เช่นเดียวกัน
2.แนวเทคนิค (Technical) คติประจำใจ : กราฟคือพระเจ้า
เป็นนักลงทุนที่มีความเสี่ยงรองลงมา เพราะโดยพื้นฐานของทาง technical แล้วมักไม่ได้มองที่พื้นฐานของตัวหุ้นเลย สิ่งที่เชื่อถือได้สำหรับนักเทคนิคคือ กราฟ และโวลุ่มการซื้อขายเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำกำไรของนักเทคนิคคือรอจนสัญญาณชัดเจนแล้วจึงลงมือครับ ส่วนสัญาณที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น
-MACD มีความแน่นอนต่อแนวโน้มค่อนข้างสูง แต่สัญญาณถือได้ว่าช้าที่สุดในบรรดา Indicator ทั้งหลาย เหมาะกับการทำกำไรตามแนวโน้มขาขึ้นและขาลง แต่ไม่เหมาะกับช่วง Sideway
-Stochastic มีความเร็วของสัญญาณต่อการขึ้นลงของราคาค่อนข้างเร็ว มักจะใช้ประกอบกับ indicator ตัวอื่นเพื่อยืนยันสัญญาณมากกว่า แต่ใช้ทำไรได้ดีในช่วง sideway ครับ
-EMA/SMA มีความเร็วของสัญญาณขึ้นอยู่กับการวางระบบในการเทรดของแต่ละคน หากวางระบบได้ดีแล้วมีการทดสอบ back test กับระบบจนมั่นใจแล้ว ความเสี่ยงที่มีก็จะถูกจำกัดอยู่ในระบบที่เราวางไว้ครับ และอาจจะต้องมีการ cut loss บ้างเมื่อระบบเกิด false signal (ให้สัญญาณผิดพลาด)
โดยหลักของนักเทคนิคแล้ว ถือว่าเป็นนักลงทุนที่ทำผลตอบแทนได้ค่อนข้างดี เพราะโดยหลักแล้วนักเทคนิคมักไม่ทำกำไรออกมาจนกว่าระบบจะส่งสัญญาณ ทำให้มี let profit run อย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่ขาย ณ จุดสูงสุดเช่นกันยกเว้นแต่มีการกำหนดจุดทำกำไรแน่นอนแล้วเท่านั้น
โดยทั่วไปนักลงทุนทั้ง 2 ประเภทมักทำกำไรได้ในทั้งขาขึ้นและขาลงโดยมีการเล่นทำกำไรทั้งใน tfex Option derivative-warrant
3.แนวพื้นฐาน (Fundamental) คติประจำใจ : ราคาหุ้นต้องวิ่งเข้าสู่ปัจจัยพื้นฐานเสมอ
เป็นนักลงทุนที่ความเสี่ยงเริ่มน้อยลง แต่ในการเลือกลงทุนในหุ้นแต่ละตัวนั้นก็ต้องทำการบ้านในการดูพื้นฐานกิจการ งบการเงิน และปัจจัยทางเศรษฐกิจไว้บ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจ ส่วนมากมักจะเป็นนักลงทุนในระยะกลางจนถึงระยะยาว
นักลงทุนกลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยต่อราคาหุ้นมากมาย ขอเพียงแค่ให้มี MOS บ้างและมีผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความต้องการก็พอ และจากการที่เลือกสรรค์หุ้นอย่างดีแล้วจึงต้องมั่นใจว่ากิจการที่เราเป็นเจ้าของนั้นยังมีพื้นฐานที่ดีอยู่ ก็ยังคงถือหุ้นตัวนั้นต่อไปตราบเท่าที่พื้นฐานยังไม่เปลี่ยน โดยไม่สนกับราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน เพราะไม่ว่าหุ้นจะขึ้นลงอย่างไรมันย่อมวิ่งเข้าหามูลค่าพื้นฐานของตัวกิจการเสมอ ตราบเท่าที่กิจการยังเติบโตต่อไป ราคาหุ้นในระยะยาวก็ย่อมต้องสูงขึ้นตามนั่นเอง
แต่ความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนประเภทนี้ก็คือ มูลค่าหุ้นที่อาจลดลงชั่วคราว โดยปัจจัยภายนอกมากระทบซะมากกว่า หรืออีกอย่างก็คือ เสียโอกาสของเงินในการทำกำไรเท่านั้นเอง โดยจุดนี้แหละเป็นบททดสอบสำหรับนักลงทุนระยะยาวครับ
4.แนวมูลค่า (Value Investor) คติประจำใจ : เจอของถูกเมื่อไหร่ค่อยเจอกัน
จะคล้ายๆกับนักลงทุนพื้นฐาน แต่นักลงทุนแนวนี้จะแสวงหามูลค่าของตัวกิจการ และเล็งเห็นถึงศักยภาพของกิจการอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับมูลค่าของตัวกิจการที่ต้องการ โดยมากนักลงทุนแนวนี้จะมีแนวคิดที่ค่อนข้างก้าวหน้ากว่ากลุ่มอื่น คือจะไปมองหากิจการลงทุนที่มีมูลค่าที่ถูกแต่มีความสามารถทำธุรกิจที่ดีได้ในอนาคต ในขณะที่คนอื่นๆยังมองไม่เห็น ทำให้ซื้อหุ้นได้ในราคาที่ถูกเพราะไม่ต้องไปแย่งซื้อกับใคร
และผลตอบแทนที่ได้ของนักลงทุนกลุ่มนี้มักจะสูงกว่ากลุ่มอื่นๆทั้งหมด เพราะได้กิจการมาในราคาที่คนอื่นไม่สนใจ แต่เมื่อกิจการเริ่มแสดงศักยภาพตามที่นักลงทุนมองไว้ราคามักจะวิ่งขึ้นไปหลายเท่าตัวเลยทีเดียว และสำหรับความเสี่ยงของนักลงทุนประเภทนี้ค่อนข้างต่ำ ความเสี่ยงเดียวที่น่าจะมี คือ การที่มองธุรกิจที่ผิดพลาดเองเท่านั้น
5.นักค้ากำไร (Arbitrage) คติประจำใจ : อะไรก็ได้ขอให้มีกำไร
โดยนิยามของนักค้ากำไรก็คือ การทำกำไรโดยไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงน้อยมากๆ นักลงทุนลักษณะนี้ต้องใช้ความรู้และความสามารถเฉพาะตัวที่ค่อนข้างสูงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจ บวกกับต้องมีวิสัยทัศน์ในการทำไรที่ค่อนข้างแม่นยำเพื่อให้ความเสี่ยงนั้นต่ำที่สุด กล่าวคือความสามารถของนักค้ากำไรที่เก่งนั้นจะทำกำไรได้สูงในขณะที่ความเสี่ยงต่ำมาก ยกตัวอย่างเช่น การ เปิด Short - long spread ในสัญญา tfex , การทำ tender offer , การซื้อ-ขาย-แปลงหุ้นwarrant ครับ
6.เจ้ามือ (Host) คติประจำใจ : จุดไฟล่อแมงเม่า
เป็นนักลงทุนที่ผู้เขียนไม่สนับสนุนที่สุดครับ เพราะเจ้ามือจะใช้หลักการในการเก็งกำไรโดยไม่สนใจพื้นฐานหุ้น ใช้ vol ดันราคาเท่านั้นครับ ซึ่งมันจะเป็น zero sum game คือต้องมีคนได้-เสียในเกมนี้ ใครลุกช้าเสียเงินครับ โดยหลักการของเจ้ามือจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
1)ช่วงเก็บหุ้น ช่วงนี้โวลุ่มจะบางๆ มีโวลุ่มเข้าบ้างเล้กน้อยแต่ไม่มีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น จนกว่าจะเก็บหุ้นจนพอใจ
2)ช่วงลากโชว์ หรือ เรียกแขก จะเป็นช่วงที่มีการเริ่มทำราคาขึ้นไปสูงขึ้นโดยมีโวลุ่มสนับสนุน โดยช่วงนี้ก็จะมีการปล่อยข่าวดีๆหรือข่าวลับวงในออกมาเพื่อกระตุ้นราคา ลักษณะการลากก็ทำได้ไม่ยาก โยนไปโยนมาระหว่างเจ้ามือเอาก็ได้ครับ และให้ติดอยู่ใน most active นานๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุน แต่ช่วงลากนี้ต้องมีการตกลงกับผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือผู้บริหารไว้ก่อนเพื่อมิให้เกิดการสกัดขากันเกิดขึ้นครับ
3)ช่วงระบายของ เมื่อนักลงทุนรายย่อยเริ่มเข้ามาผสมโรงตามที่คาดไว้แล้วก็ทำการลากต่อไปยังเป้าหมาย แล้วจึงเริ่มระบายของออก โดยค่อยๆทยอยขายไปเรื่อยๆปล่อยให้รายย่อยทำงานต่อไป จนเมื่อใดที่นักลงทุนรายย่อยเริ่มหมดแรงแล้ว ก็ทำการปิดรอบครับ ขายทิ้งทุบทุกราคา เพราะขายเท่าไหร่ก็กำไร เมื่อหุ้นทิ้งดิ่งอย่างแรงพร้อมโวลุ่มก็เป็นสัญญาณหมดรอบครับ ใครลุกช้าก็ติดดอยไป
โดยทั่วไปแล้วการปั่นมักจะทำตอนช่วงที่ตลาดคึกคักสุดขีด เพราะนักลงทุนหน้าใหม่เยอะและไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมพวกนี้จึงทำให้ทำกำไรได้ง่าย ส่วนผู้ชำนาญแล้วจะรู้ว่าหุ้นไหนเป็นอย่างไรดีมักจะเล่นสนุกสนานตามน้ำซะมากกว่า
~~~ แล้วคุณละครับเป็นนักลงทุนแบบไหน ~~~
1.แนวเก็งกำไร (Speculate) คติประจำใจ : มีกำไรที่ไหนไปที่นั่น ,ซื้อแพงเพื่อไปขายแพงกว่า
เป็นนักลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงสุด มีลักษณะการเล่นหุ้นตามข่าวหรือตามกระแสทุกอย่าง แต่มีการจำกัดความเสี่ยงโดยการ Cut loss ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุนแบบนี้ครับ โดยนักเก็งกำไรก็ยังแบ่งเป็นหลายระดับตามหลักของการเข้าทำกำไร ได้แก่
- ตามระยะเวลาที่เก็งกำไร เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรืออาจจะเป็นรอบเก็งกำไรในช่วงต่างของปี โดยลักษณะการเข้าเก็งกำไรของกลุ่มนี้จะมี จุดเข้าออกที่ค่อนข้างชัดเจนตามระยะเวลาที่เข้าทำกำไร แต่อาจมีจ้อด้อยที่การทำกำไรอาจไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าใดนัก
- ตามกระแสเงินทุน Fundflow โดยจะมองตามกระแสเงินทุนต่างชาติเป็นหลัก เพราะถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงต่อปัจจัยราคาหุ้นโดยตรง และมีรอบการเข้าออกที่ค่อนข้างชัดเจน มีนักลงทุนไม่น้อยที่อิงกระแสนี้เช่นกัน
- ตามกระแสข่าวดี/ร้ายที่มีต่อหุ้น ลักษณะนี้มักจะต้องเป็นข่าววงในก่อน และเมื่อกระจายสู่สาธารณะก็จะเป็นช่วงที่หมดรอบไปแล้ว ปริมาณของกำไรขึ้นอยู่กับการเข้าถึงข่าวและความแน่นอนของข่าว
แต่ไม่ว่าจะเข้าทำกำไรในลักษณะใดก็ตามต้องมีวินัยที่ดีในการ cut loss เสมอไม่ว่า ตลาดจะเป็นเช่นไรก็ตาม และต้องมีการ take profit หรือ protect profit ไว้เช่นเดียวกัน
2.แนวเทคนิค (Technical) คติประจำใจ : กราฟคือพระเจ้า
เป็นนักลงทุนที่มีความเสี่ยงรองลงมา เพราะโดยพื้นฐานของทาง technical แล้วมักไม่ได้มองที่พื้นฐานของตัวหุ้นเลย สิ่งที่เชื่อถือได้สำหรับนักเทคนิคคือ กราฟ และโวลุ่มการซื้อขายเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำกำไรของนักเทคนิคคือรอจนสัญญาณชัดเจนแล้วจึงลงมือครับ ส่วนสัญาณที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น
-MACD มีความแน่นอนต่อแนวโน้มค่อนข้างสูง แต่สัญญาณถือได้ว่าช้าที่สุดในบรรดา Indicator ทั้งหลาย เหมาะกับการทำกำไรตามแนวโน้มขาขึ้นและขาลง แต่ไม่เหมาะกับช่วง Sideway
-Stochastic มีความเร็วของสัญญาณต่อการขึ้นลงของราคาค่อนข้างเร็ว มักจะใช้ประกอบกับ indicator ตัวอื่นเพื่อยืนยันสัญญาณมากกว่า แต่ใช้ทำไรได้ดีในช่วง sideway ครับ
-EMA/SMA มีความเร็วของสัญญาณขึ้นอยู่กับการวางระบบในการเทรดของแต่ละคน หากวางระบบได้ดีแล้วมีการทดสอบ back test กับระบบจนมั่นใจแล้ว ความเสี่ยงที่มีก็จะถูกจำกัดอยู่ในระบบที่เราวางไว้ครับ และอาจจะต้องมีการ cut loss บ้างเมื่อระบบเกิด false signal (ให้สัญญาณผิดพลาด)
โดยหลักของนักเทคนิคแล้ว ถือว่าเป็นนักลงทุนที่ทำผลตอบแทนได้ค่อนข้างดี เพราะโดยหลักแล้วนักเทคนิคมักไม่ทำกำไรออกมาจนกว่าระบบจะส่งสัญญาณ ทำให้มี let profit run อย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่ขาย ณ จุดสูงสุดเช่นกันยกเว้นแต่มีการกำหนดจุดทำกำไรแน่นอนแล้วเท่านั้น
โดยทั่วไปนักลงทุนทั้ง 2 ประเภทมักทำกำไรได้ในทั้งขาขึ้นและขาลงโดยมีการเล่นทำกำไรทั้งใน tfex Option derivative-warrant
3.แนวพื้นฐาน (Fundamental) คติประจำใจ : ราคาหุ้นต้องวิ่งเข้าสู่ปัจจัยพื้นฐานเสมอ
เป็นนักลงทุนที่ความเสี่ยงเริ่มน้อยลง แต่ในการเลือกลงทุนในหุ้นแต่ละตัวนั้นก็ต้องทำการบ้านในการดูพื้นฐานกิจการ งบการเงิน และปัจจัยทางเศรษฐกิจไว้บ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจ ส่วนมากมักจะเป็นนักลงทุนในระยะกลางจนถึงระยะยาว
นักลงทุนกลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยต่อราคาหุ้นมากมาย ขอเพียงแค่ให้มี MOS บ้างและมีผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความต้องการก็พอ และจากการที่เลือกสรรค์หุ้นอย่างดีแล้วจึงต้องมั่นใจว่ากิจการที่เราเป็นเจ้าของนั้นยังมีพื้นฐานที่ดีอยู่ ก็ยังคงถือหุ้นตัวนั้นต่อไปตราบเท่าที่พื้นฐานยังไม่เปลี่ยน โดยไม่สนกับราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน เพราะไม่ว่าหุ้นจะขึ้นลงอย่างไรมันย่อมวิ่งเข้าหามูลค่าพื้นฐานของตัวกิจการเสมอ ตราบเท่าที่กิจการยังเติบโตต่อไป ราคาหุ้นในระยะยาวก็ย่อมต้องสูงขึ้นตามนั่นเอง
แต่ความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนประเภทนี้ก็คือ มูลค่าหุ้นที่อาจลดลงชั่วคราว โดยปัจจัยภายนอกมากระทบซะมากกว่า หรืออีกอย่างก็คือ เสียโอกาสของเงินในการทำกำไรเท่านั้นเอง โดยจุดนี้แหละเป็นบททดสอบสำหรับนักลงทุนระยะยาวครับ
4.แนวมูลค่า (Value Investor) คติประจำใจ : เจอของถูกเมื่อไหร่ค่อยเจอกัน
จะคล้ายๆกับนักลงทุนพื้นฐาน แต่นักลงทุนแนวนี้จะแสวงหามูลค่าของตัวกิจการ และเล็งเห็นถึงศักยภาพของกิจการอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับมูลค่าของตัวกิจการที่ต้องการ โดยมากนักลงทุนแนวนี้จะมีแนวคิดที่ค่อนข้างก้าวหน้ากว่ากลุ่มอื่น คือจะไปมองหากิจการลงทุนที่มีมูลค่าที่ถูกแต่มีความสามารถทำธุรกิจที่ดีได้ในอนาคต ในขณะที่คนอื่นๆยังมองไม่เห็น ทำให้ซื้อหุ้นได้ในราคาที่ถูกเพราะไม่ต้องไปแย่งซื้อกับใคร
และผลตอบแทนที่ได้ของนักลงทุนกลุ่มนี้มักจะสูงกว่ากลุ่มอื่นๆทั้งหมด เพราะได้กิจการมาในราคาที่คนอื่นไม่สนใจ แต่เมื่อกิจการเริ่มแสดงศักยภาพตามที่นักลงทุนมองไว้ราคามักจะวิ่งขึ้นไปหลายเท่าตัวเลยทีเดียว และสำหรับความเสี่ยงของนักลงทุนประเภทนี้ค่อนข้างต่ำ ความเสี่ยงเดียวที่น่าจะมี คือ การที่มองธุรกิจที่ผิดพลาดเองเท่านั้น
5.นักค้ากำไร (Arbitrage) คติประจำใจ : อะไรก็ได้ขอให้มีกำไร
โดยนิยามของนักค้ากำไรก็คือ การทำกำไรโดยไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงน้อยมากๆ นักลงทุนลักษณะนี้ต้องใช้ความรู้และความสามารถเฉพาะตัวที่ค่อนข้างสูงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจ บวกกับต้องมีวิสัยทัศน์ในการทำไรที่ค่อนข้างแม่นยำเพื่อให้ความเสี่ยงนั้นต่ำที่สุด กล่าวคือความสามารถของนักค้ากำไรที่เก่งนั้นจะทำกำไรได้สูงในขณะที่ความเสี่ยงต่ำมาก ยกตัวอย่างเช่น การ เปิด Short - long spread ในสัญญา tfex , การทำ tender offer , การซื้อ-ขาย-แปลงหุ้นwarrant ครับ
6.เจ้ามือ (Host) คติประจำใจ : จุดไฟล่อแมงเม่า
เป็นนักลงทุนที่ผู้เขียนไม่สนับสนุนที่สุดครับ เพราะเจ้ามือจะใช้หลักการในการเก็งกำไรโดยไม่สนใจพื้นฐานหุ้น ใช้ vol ดันราคาเท่านั้นครับ ซึ่งมันจะเป็น zero sum game คือต้องมีคนได้-เสียในเกมนี้ ใครลุกช้าเสียเงินครับ โดยหลักการของเจ้ามือจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
1)ช่วงเก็บหุ้น ช่วงนี้โวลุ่มจะบางๆ มีโวลุ่มเข้าบ้างเล้กน้อยแต่ไม่มีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น จนกว่าจะเก็บหุ้นจนพอใจ
2)ช่วงลากโชว์ หรือ เรียกแขก จะเป็นช่วงที่มีการเริ่มทำราคาขึ้นไปสูงขึ้นโดยมีโวลุ่มสนับสนุน โดยช่วงนี้ก็จะมีการปล่อยข่าวดีๆหรือข่าวลับวงในออกมาเพื่อกระตุ้นราคา ลักษณะการลากก็ทำได้ไม่ยาก โยนไปโยนมาระหว่างเจ้ามือเอาก็ได้ครับ และให้ติดอยู่ใน most active นานๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุน แต่ช่วงลากนี้ต้องมีการตกลงกับผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือผู้บริหารไว้ก่อนเพื่อมิให้เกิดการสกัดขากันเกิดขึ้นครับ
3)ช่วงระบายของ เมื่อนักลงทุนรายย่อยเริ่มเข้ามาผสมโรงตามที่คาดไว้แล้วก็ทำการลากต่อไปยังเป้าหมาย แล้วจึงเริ่มระบายของออก โดยค่อยๆทยอยขายไปเรื่อยๆปล่อยให้รายย่อยทำงานต่อไป จนเมื่อใดที่นักลงทุนรายย่อยเริ่มหมดแรงแล้ว ก็ทำการปิดรอบครับ ขายทิ้งทุบทุกราคา เพราะขายเท่าไหร่ก็กำไร เมื่อหุ้นทิ้งดิ่งอย่างแรงพร้อมโวลุ่มก็เป็นสัญญาณหมดรอบครับ ใครลุกช้าก็ติดดอยไป
โดยทั่วไปแล้วการปั่นมักจะทำตอนช่วงที่ตลาดคึกคักสุดขีด เพราะนักลงทุนหน้าใหม่เยอะและไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมพวกนี้จึงทำให้ทำกำไรได้ง่าย ส่วนผู้ชำนาญแล้วจะรู้ว่าหุ้นไหนเป็นอย่างไรดีมักจะเล่นสนุกสนานตามน้ำซะมากกว่า
~~~ แล้วคุณละครับเป็นนักลงทุนแบบไหน ~~~
วันอังคารที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2556
วลีดังหลังตลาด(หุ้น)
วลีโดยส่วนมากมักจะตรงไปตรงมา ดังนั้นผู้เขียนจะยกมาแต่วลีที่มีแนวคิดอีกด้านหนึ่งมาเสนอเพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจอย่างถูกต้องไม่เข้าข้างตนเองเกินไปจนทำให้เสียโอกาสทางการลงทุนได้
-ไม่ขายไม่ขาดทุน
เป็นหนึ่งในวลีที่ผู้พ่ายแำพ้ในสนามลงทุนนี้ใช้ปลอบใจตัวเองเมื่อยามที่ตัวเองพลาดพลั้ง และไม่ยอมรับความผิดพลาดของตนเองโดยมากมักจะเกิดขึ้นกับหุ้นปั่นมากกว่าหุ้นแนวพื้นฐาน เนื่องจากหุ้นปั่นนั้นไม่มีปัจจัยดึงดูดให้ราคาหุ้นมามารถขึ้นได้ในระยะยาว ราคาที่ขึ้นชั่วครั้งคราวเป็นผลมาจากแรงซื้อ-ขายหุ้นล้วนๆ ดังนั้นเมื่อหมดรอบการเก็งกำไรแล้วราคาหุ้นมักจะกลับสู่สถานะเดิม
-VI จำเป็น
โดยลักษณะแล้วจะคล้ายๆ ไม่ขายไม่ขาดทุน แต่ต่างกันตรงที่หุ้นที่ถือครับ ถ้าหากเป็นหุ้นที่เราคัดสรรแล้วว่าเป็นหุ้นพื้นฐานดีมีอนาคต ก็ยังถือว่าข้อดีอยู่บ้างว่าอย่างน้อยราคาที่เราซื้อสูงนั้นยังมีโอกาสกลับไปสูงจุดเดิมได้ ฉะนั้นระยะเวลาในการเป็น VI จำเป็นจึงขึ้นอยู่กับค่า premium ที่เราจ่ายไปขณะซื้อหุ้นนั้นๆ เนื่องจากว่าหุ้นพื้นฐานที่ดีนั้นถึงแม้เราจะซื้อที่ราคาสูงแต่หากตัวบริษัทนั้นดีอย่างที่เราคาดหวังไว้ ราคาย่อมต้องเติบโตตามบริษัทอย่างแน่นอน เพียงแต่เราอาจเสียโอกาสของเงินเท่านั้น แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าไม่ขายไม่ขาดทุนครับ
-อิสรภาพทางการเงิน
เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ VI หลายๆคนต้องการเลยทีเดียว แต่การที่จะมุ่งไปถึงจุดที่ต้องการได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่ามีความต้องการทางการเงินในระดับใด เพื่อจะได้วางแผนทางการลงทุนได้อย่างถูกต้อง โดยเราต้องตัดเรื่องความโลภและฟุ่มเฟือยทิ้งไป เพราะถ้ามีทั้ง 2 อย่างนี้เข้ามาแล้วไม่ว่าจะมีเงินสักเพียงใดก็ไม่เพียงต่อต่อความต้องการของเรา ทำให้การลงทุนนั้นต้องมีความเสี่ยงโดยไม่จำเป็นเพียงเพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามความต้องการของเรา ถ้าเราลองสังเกตุ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้นมักจะเป็นคนมัธยัสไม่หรูหราฟุ่มเฟือย มีความอดทนในการรอเพื่อให้การลงทุนผลิดอกออกผลจนพอใจแล้วจึงนำมาใช้สอยเพื่อเป็นกำไรแก่ชีวิตบ้าง
ดังนั้นอิสรภาพทางการเงินไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินไปนักหากเราวางแผนแต่เนิ่นๆ มีการลงทุนที่ถูกต้อง เราต้องอดทนและมีเวลาให้มันเจริญเติบโตจนถึงจุดที่เราตั้งใจไว้ เราก็จะมีอิสรภาพทางการเงินดังที่หวังได้ครับ
***หมายเหตุ***
ใครที่นึกวลีหรือข้อคิดที่แปลกๆได้ ลองเสนอมาได้นะครับผมจะเพิ่มเติมให้ครับ
-ไม่ขายไม่ขาดทุน
เป็นหนึ่งในวลีที่ผู้พ่ายแำพ้ในสนามลงทุนนี้ใช้ปลอบใจตัวเองเมื่อยามที่ตัวเองพลาดพลั้ง และไม่ยอมรับความผิดพลาดของตนเองโดยมากมักจะเกิดขึ้นกับหุ้นปั่นมากกว่าหุ้นแนวพื้นฐาน เนื่องจากหุ้นปั่นนั้นไม่มีปัจจัยดึงดูดให้ราคาหุ้นมามารถขึ้นได้ในระยะยาว ราคาที่ขึ้นชั่วครั้งคราวเป็นผลมาจากแรงซื้อ-ขายหุ้นล้วนๆ ดังนั้นเมื่อหมดรอบการเก็งกำไรแล้วราคาหุ้นมักจะกลับสู่สถานะเดิม
-VI จำเป็น
โดยลักษณะแล้วจะคล้ายๆ ไม่ขายไม่ขาดทุน แต่ต่างกันตรงที่หุ้นที่ถือครับ ถ้าหากเป็นหุ้นที่เราคัดสรรแล้วว่าเป็นหุ้นพื้นฐานดีมีอนาคต ก็ยังถือว่าข้อดีอยู่บ้างว่าอย่างน้อยราคาที่เราซื้อสูงนั้นยังมีโอกาสกลับไปสูงจุดเดิมได้ ฉะนั้นระยะเวลาในการเป็น VI จำเป็นจึงขึ้นอยู่กับค่า premium ที่เราจ่ายไปขณะซื้อหุ้นนั้นๆ เนื่องจากว่าหุ้นพื้นฐานที่ดีนั้นถึงแม้เราจะซื้อที่ราคาสูงแต่หากตัวบริษัทนั้นดีอย่างที่เราคาดหวังไว้ ราคาย่อมต้องเติบโตตามบริษัทอย่างแน่นอน เพียงแต่เราอาจเสียโอกาสของเงินเท่านั้น แต่ก็ถือว่ายังดีกว่าไม่ขายไม่ขาดทุนครับ
-อิสรภาพทางการเงิน
เป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ VI หลายๆคนต้องการเลยทีเดียว แต่การที่จะมุ่งไปถึงจุดที่ต้องการได้นั้นก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคลว่ามีความต้องการทางการเงินในระดับใด เพื่อจะได้วางแผนทางการลงทุนได้อย่างถูกต้อง โดยเราต้องตัดเรื่องความโลภและฟุ่มเฟือยทิ้งไป เพราะถ้ามีทั้ง 2 อย่างนี้เข้ามาแล้วไม่ว่าจะมีเงินสักเพียงใดก็ไม่เพียงต่อต่อความต้องการของเรา ทำให้การลงทุนนั้นต้องมีความเสี่ยงโดยไม่จำเป็นเพียงเพื่อหวังผลตอบแทนที่สูงขึ้นตามความต้องการของเรา ถ้าเราลองสังเกตุ บุคคลที่ประสบความสำเร็จในการลงทุนนั้นมักจะเป็นคนมัธยัสไม่หรูหราฟุ่มเฟือย มีความอดทนในการรอเพื่อให้การลงทุนผลิดอกออกผลจนพอใจแล้วจึงนำมาใช้สอยเพื่อเป็นกำไรแก่ชีวิตบ้าง
ดังนั้นอิสรภาพทางการเงินไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินไปนักหากเราวางแผนแต่เนิ่นๆ มีการลงทุนที่ถูกต้อง เราต้องอดทนและมีเวลาให้มันเจริญเติบโตจนถึงจุดที่เราตั้งใจไว้ เราก็จะมีอิสรภาพทางการเงินดังที่หวังได้ครับ
***หมายเหตุ***
ใครที่นึกวลีหรือข้อคิดที่แปลกๆได้ ลองเสนอมาได้นะครับผมจะเพิ่มเติมให้ครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)