หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดในการลงทุน

          จากที่เคยได้เอ่ยถึงนักลงทุนรูปแบบต่างๆมาแล้ว ตามบทความ นักลงทุนกับความเสี่ยง ต่อจากนี้จะมาพูดถึงการประยุกต์แนวคิดของนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตลาดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตลาดครับ

          สำหรับแนวทางในการลงทุนจะแบ่งได้หลักๆ เป็น2 แนวทางตามที่ทุกท่านได้ทราบกันดี คือแนวเก็งกำไร หรือ speculate (+technical ซึ่งผมจะรวม 2 แบบนี้ไปด้วยกันในบทความนี้ครับ) กับแนวพื้นฐาน หรือ Fundamental (+VI จะรวมเข้าไว้เช่นกันครับ) โดยพื้นฐานในการลงทุนทั้ง 2 แนวทางนี้คล้ายๆกันครับ คือ ซื้อที่ถูกและขายเมื่อแพง หรือขายแพงเพื่อไปซื้อถูกสำหรับผู้เล่น short / SBL / Put DW ครับ
          แต่นิยามของคำว่าถูกหรือแพงของการลงทุนทั้ง 2 แนวทางนี้กลับต่างกันอย่างสิ้นเชิง สาเหตุก็เนื่องมาจากมุมมองที่แตกต่างกันในการลงทุนครับ
          -สำหรับนักเก็งกำไรที่ชำนาญในตลาดจะสามารถทำกำไรได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของตลาด โดยในขาขึ้นจะสนใจที่ราคาหุ้นเป็นหลัก ความถูกของราคาจะอยู่ที่ว่าราคาที่ซื้อในวันนี้จะถูกกว่าราคาที่ซื้อในวันหน้า นักเก็งกำไรจึงไม่มีความกลัวที่จะซื้อหุ้นในราคาที่สูง เพราะเชื่อว่าแม้จะซื้อมาแพงก็สามารถนำไปขายที่ราคาแพงกว่าได้ ส่วนการทำกำไรในขาลงนั้น ก็จะทำตรงกันข้ามคือจะเริ่มจากการขาย ที่ราคาสูงก่อน แล้วไปรับซื้อคืนที่ราคาต่ำ โดยจะได้หุ้นเท่าเดิมแต่มีเงินที่ถือมากขึ้นครับ นักเก็งกำไรที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่มีระบบและวินัยในตัวเองที่ดีครับ เพื่อให้ทำกำไรได้มาก ในขณะที่ต้องให้ขาดทุนน้อยที่สุด จังหวะการเข้าออกมักจะใช้กราฟเป็นตัวบอกจังหวะทั้งขาขึ้นและลง เช่น MACD Bolinger Stochastic EMA RSI ADX เป็นต้น
          -สำหรับแนวพื้นฐานจะดูความถูกของกิจการเป็นหลักครับ การเข้าซื้อของแนวพื้นฐานจะต้องมีการวิเคราะห์ตัวกิจการอย่างดี เพื่อหามูลค่าที่เหมาะสมของกิจการนั้น และยิ่งถ้ามี Margin of safety  ด้วยจะดีมาก ดังนั้นนักลงทุนสายพื้นฐานมักจะซื้อหุ้นราคาถูกๆในกิจการที่มักไม่มีคนในตลาดสนใจกัน ทำให้สามารถซื้อได้ในราคาที่ถูก และต่อให้ราคาลดลงไปก็จะซื้อเพิ่มเข้าไปอีก แล้วก็รอจนเมื่อกิจการแสดงศักยภาพออกมา ราคามันก็จะมุ่งไปหาผลประกอบการเองครับ ค่าที่ชาวพื้นฐานให้ความสำคัญ เช่น P/E P/BV PEG ROA ROE MOS อัตราการปันผล จนถึงงบการเงิน และรายงานประจำปี
       
          เมื่อเรารู้ถึงลักษณะการลงทุนแต่ละแบบแล้วเราจึงควรรู้ด้วยว่าการลงทุนแบบไหนเหมาะกับสภาพตลาดแบบใดเพื่อให้เราสามารถทำกำไร และอยู่รอดได้ในตลาดแห่งนี้ครับ
          เราจึงต้องทราบก่อนว่าในตลาดนั้นมีรูปแบบใดบ้าง โดยแนวโน้มหลักจะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ
          1.แนวโน้มขาลง downtrend
          2.แนวโน้มขาขึ้น uptrend
          3.ไม่มีแนวโน้มชัดเจน sideway แต่มีแนวรับและแนวต้านที่ค่อนข้างแข็งแรง
          โดยปกติแนวโน้มขาขึ้นและขาลงไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแนวโน้ม (trend reversal) หรือไปในแนวโน้มเดิม (trend follow) ก็ตาม มักจะมีแนวโน้ม Sideway สำหรับการปรับฐานซักระยะ ก่อนจะมีการวิ่งตามแนวโน้มใหม่ต่อไป ดังนั้นจังหวะที่เราจะเข้าสู่ตลาดเราควรรู้เบื้องต้นก่้อนว่าเราจะเข้าไปอยู่ในช่วงแนวโน้มใด เพื่อให้วางแผนการลงทุนได้

                                                     กราฟ Set TF Week 4/2551-ปัจจุบัน

          ช่วงที่ 1 เป็นช่วง downtrend ค่อนข้างชัดเจน สาเหตุสืบเนื่องจากวิกฤต subprime ถือว่าเป็นวิกฤตจากปัจจัยภายนอกมากระทบโดยตรง ซึ่งถ้าดูกราฟทางเทคนิค จะยิ่งเห็นชัดว่าสัญญาณเริ่มตัดขาลงตั้งแต่แถวๆ 800 ลงมา MACD ตัดต่ำ 0  น่าจะเป็นช่วงที่นักเก็งกำไรไม่น่าจะเข้าตลาดมาทำกำไรนัก เพราะความเสี่ยงค่อนข้างสูง แต่ยังมีการลงทุนในช่วงนี้สำหรับนักเก็งกำไร คือสามารถทำการ short หุ้น หรือ Tfex ตามแนวโน้มได้ ส่วนนักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่อาจจะบริหารความเสี่ยงสำหรับการไม่ขายหุ้นออกมาโดยการ short tfex หุ้นตัวเองหรือ set ไว้ได้ครับ คำนวณปริมาณสัญญาให้พอเหมาะกับมูลค่าหุ้นตัวเองก็พอ
          ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่ต่ำสุดของการตกแล้ว ช่วงนี้จะเป็นช่วงผีหลอกครับซึ่งจะเป็นทุกครั้งหลังจากที่มีการตกอย่างหนักของหุ้น ยิ่งตกหนักมากเท่าไหร่ช่วงนี้ก็ยิ่งยาวมากเท่านั้น เพราะคนมักจะติดหุ้นที่สูงกันหมดแล้วทำให้ไม่มีแรงซื้อ เช่นเดียวกับแรงขายที่หมดเพราะไม่มีคนจะขายแล้วเช่นกัน เป็นช่วง sideway ที่น่าเบื่อมากสำหรับนักเก็งกำไรเพราะเข้าตลาดมาก็ไม่มีกำไรเนื่องจากไม่มีการซื้อขายหุ้นนั่นเอง (นักเก็งกำไรจะมองหากำไรจากการขึ้นลงของหุ้นครับ) แต่ตรงกันข้ามสำหรับนักลงทุนพื้นฐาน จะถือเป็นช่วงที่มีความสุขกับการเก็บหุ้นถูกๆดีๆที่มีอยู่เต็มตลาดได้อย่างสบายใจโดยไม่มีคนมาแย่ง ทำให้ต้นทุนถูกมาก
          ช่วงที่ 3 ช่วงที่เริ่มเป็นขาขึ้น หรือ uptrend ตรงจุดนี้ นักเก็งกำไรจะเริ่มเข้าสู่ตลาดกันแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับระบบแต่ละคนจะเข้าช่วงไหนอย่างไร ลักษณะการเก็งกำไรช่วงนี้คือเข้าซื้อหุ้นแล้วถือ let profit run ครับ จนกว่าจะมีสัญญาณขายออกมา ส่วนนักลุงทุน ก็จะถือหุ้นที่ซื้อมาไว้ไปยาวๆเลยครับ จนกว่าราคาจะแพงเกินพื้นฐานมากก็อาจพิจารณาขาย แต่สำหรับนักลงทุนใหม่ที่เพิ่งเข้าช่วงนี้จนถึงก่อน Sideway ในช่วงที่ 4 อาจจะต้องกำหนดจุด cut loss ไว้บ้างในกรณีที่หุ้นมีการเปลี่ยน trend หรือมีการปรับฐานครับ โดยอาจจะใช้เทคนิคอลเข้าช่วยเพื่อกำหนดจุดออกได้ครับ
          ช่วงที่ 4 เป็นลักษณะ sideway ระหว่าง trend เพื่อรอการเปลี่ยนแนวโน้มต่อไป สำหรับนักเก็งกำไร   มักจะทำกำไรในช่วงนี้ได้ค่อนข้างดี เพราะมีแนวรับแนวต้านที่ค่อนข้างแข็ง โดยใช้วิธีซื้อที่แนวรับ ขายที่แนวต้าน ส่วนนักลงทุน ช่วง sideway นี้เหมือนช่วงพักผ่อน ให้ค่อยๆตรวจสอบกิจการและหาบริษัทที่ดีราคาไม่แพง เพื่อปรับพอร์ตหรือเก็บหุ้นดีๆเข้าพอร์ตโดยให้ตั้งรับไว้แถวๆแนวรับหรือสูงกว่าเล็กน้อยก็ได้
          ช่วงที่ 5 เป็นช่วงต่อเนื่องขาขึ้นหลังจาก sideway การเก็งกำไรและการลงทุนก็จะคล้ายๆกับช่วงที่ 3 นั่นเองครับ
          ช่วงที่ 6 เป็นช่วงที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ถือว่าเป็นอีกวิกฤตที่ทำให้ตลาดมีการปรับตัวลงพอสมควร แต่ก็ยังถือว่าเป็นเพียง correction เล็กๆที่อยู่ในแนวโน้มหลักเท่านั้น
          ช่วงที่ 7 นับเป็นช่วงที่อันตรายที่สุดสำหรับมือใหม่ที่เข้าสู่ตลาด และมักจะเป็นช่วงที่ตลาดเฟื่องฟูทำให้หน้าใหม่ที่เข้ามาแล้วไม่เท่าทันตลาดพลาดติดหุ้นราคาสูงกันได้ง่าย และราคาหุ้นก็สูงเกินปัจจัยพื้นฐานกันมาแล้ว จนถึงขนาดที่ว่าบทวิเคราะห์ต้องนำค่า P/E forward มาใช้เพื่อผลักดันตลาด ซึ่งเป็นหลักการลงทุนที่ไม่ถูกต้องนัก โดยในช่วงนี้สำหรับนักเก็งกำไร การที่ตลาดขึ้นสูงเพียงใดนั้นไม่เป็นปัญหาต่อการเก็งกำไรเลยเพราะถือคติว่าซื้อแพงเพื่อไปขายที่แพงกว่าได้และหากผิดพลาดก็จะ stop loss ทันที ในทางตรงกันข้ามกับช่วงที่2ที่ตลาดกำลังคึกสุดขีดจะเป็นช่วงที่นักเก็งกำไรทำกำไรได้ง่ายที่สุด เพราะมีปริมาณการซื้อขายมหาศาล ทำให้สามารถทำราคาเพื่อหากำไรจากรายย่อยได้ง่าย และยิ่งเมื่อมีการปรับฐานลงรายย่อยก็ยังมารับของต่อทำให้ความเสี่ยงน้อยลงไป ส่วนนักลงทุน ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่นักลงทุนเริ่มกลัวที่สุด เพราะในราคาหุ้นบางตัวมีราคาที่แพงขึ้นมากจึงไม่มีการซื้อหุ้นเพิ่มเติมเพื่อการลงทุนอย่างแน่นอน และอาจจะมีการพิจารณาปรับพอร์ตโดยขายทำกำไรออกมาบางส่วนด้วยซ้ำ จนเมื่อตลาดเริ่มมีการปรับฐานก็ใช้วิธีบริหารความเสี่ยงเช่นเดียวกับชาลงได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นเพียงการปรับฐานเล็กๆอาจจะไม่มีการ sap หรือซื้อหุ้นกลับก็ได้ครับ

          โดยสรุปช่วงที่สำคัญๆ สำหรับนักเก็งกำไร และนักลงทุน คือช่วงที่ 2 และช่วงที่ 6-7 ถือว่าเป็นจุดแบ่งที่ค่อนข้างชัดเจนสำหรับนักลงทุนทั้ง 2 สายนี้ จากประสบการณ์ของผู้เขียนแล้วจากที่ได้เข้าตลาดมาที่ระดับราคาที่ค่อนข้างสูงจึงค่อนข้างที่จะ sensitive กับการที่จะรักษาต้นทุนไว้ และเก็บกำไรได้เมื่อมีโอกาสประกอบกับเมื่อมองในพื้นฐานหุ้นทั้งหลายก็มีความเห็นว่า ราคาหุ้นสูงเกินมูลค่าไปทั้งตลาด โดยคร่าวๆหลังตลาดขึ้นไปถึง 1600+ ค่า P/E ก็ขึ้นไปเกือบ 17 เท่า และผลตอบแทนก็ลดต่ำจนเหลือเพียง2-3% เท่านั้น จึงตัดสินใจใช้ลักษณะการเข้าตลาดแบบเก็งกำไรในช่วงที่(7)ผ่านมา ดังนั้นเมื่อถึงจุดที่สัญญาณขายมาจึงต้องขายตามระบบครับ ทำให้สามารถรักษาเงินต้นและกำไรไว้ได้ จึงมาแชร์ประสบการณ์ไว้ให้ ณ ที่นี้
          ช่วงต่อไปนี้เมื่อเกิดการปรับฐานแล้วก็มองแล้วน่าจะเป็นการ sideway ซักระยะเพื่อเลือกแนวโน้มต่อไป และผู้เขียนก็หวังว่าทุกคนคงเอาบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ประกอบการลงทุนได้ครับ

2 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ14 กรกฎาคม 2556 เวลา 11:44

    setไทย 1600 pe 17
    แล้ว ในกลุ่ม tip pe ประเทศไหน สูงกว่า - คะ

    ตอบลบ
  2. ของ set มันดูได้อยู่ครับ แต่ของ อินโดกับ ฟิลิฟปินส์นี่ ไม่ทราบเหมือนกันครับ
    ณ เพลานี้ ตลาดเรา 1453 Pe ยัง 16.5 เลยครับ
    http://marketdata.set.or.th/mkt/marketsummary.do?language=th&country=TH
    P/E อยู่แถวๆใต้กราฟครับ ลองมองหาดูนะ
    ปล.เงินลงทุนน้อย ทำให้ไม่ได้ลงทุนในต่างประเทศเลยยังไม่สนใจครับ

    ตอบลบ