หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 13/10/2556

TF day

           อาทิตย์นี้ก็ติดตามตลาดกันแบบสบายๆ โดยตลาดได้ส่งสัญญาณที่ดีขึ้นโดย Indicator ทั้งหมดได้เริ่มแสดงความแข็งแรงของการขึ้นของตลาดได้บ้าง และโวลุ่มตลาดก็เริ่มเพิ่มขึ้นตามค่า Index ที่สูงขึ้นทำให้มองการขึ้นรอบนี้ค่อนข้างแข็งแรง และแรงซื้อก็เริ่้มกลับมาแล้ว โดยมองว่ากราฟน่าจะฟอร์มตัว เพื่อให้เกิด reversal pattern อย่างสมบูรณ์ต่อไป ตามที่คิดไว้น่าจะ เป็น Invert head and shoulder โดยการเด้งรอบนี้ควรไปสูงกว่า 1493 ซึ่งเป็น high เก่า แล้วก็ปรับฐานอีกครั้งหนึ่ง แล้วค่อยขึ้นต่อเนื่องไป

TF week

         ใน TF นี้ตลาดถือว่ายืนปิดในรอบสัปดาห์ได้ค่อนขางดีมีการปิดตัวเหนือ BB avg ที่บ่งบอกว่าจะเริ่มเป็น uptrend chammel และตัว ema ก็เริ่มเรียงตัวในแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่หากมองจาก TF นี้แล้วจะเห็นว่าตลาดคงไม่วิ่งกลับขึ้นไปข้างบนในช่วงเวลาระยะสั้น เพราะตัว สัญญาณ EMA ยังไม่ฟอร์มตัวกันดี และตัว ADX ก็ชะลอสัญญาณขาลงมาเรื่อยๆแล้ว แต่ควรต้องใช้เวลาในการสร้างฐานสักระยะ

          ส่วน TF month ก็คงเช่นเดิม ยังถือว่าอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นรอบใหญ่อยู่ครับ

         ในส่วนของการวิเคราะห์ช่วงนี้ อาจจะไม่ค่อยมีอะไรหวือหวาแล้ว โดยสัญญาณทางเทคนิคสำหรับคนที่เสี่ยงซื้อมาที่ดัชนี ต่ำกว่า 1400 จุด อาจจะถือไว้เลยก็ได้ เพราะหากมองตามรูปแบบการกลับตัวเป็นขาขึ้น น่าจะเกิดเป็น higher low ต่อไป โดยมอง higher low ถัดไปน่าจะอยู่แถวๆ 1425-1440 ถ้าจะให้ดีตลาดไม่ควรวิ่งแรงเพื่อทะลุขึ้นไปข้างบนเพราะจะทำให้ขึ้นไปได้ไม่ไกล แต่ควรสร้างฐานสักระยะและค่อยๆทยอยขึ้นต่อไป โดยมองระยะการสร้างฐานอาจจะอยู่ราวๆ 1-2 เดือนข้างหน้า แล้วตลาดค่อย rally ต่อไปในช่วงต้นปี โดยมองภาพรวมจากทั้ง 3TF คาดว่าตลาดน่าจะเริ่มขาขึ้นได้ต่อไป

Trading strategy :
สำหรับนักลงทุนระยะกลาง หากต้องการเก็บหุ้นเพิ่มเติมให้รอตลาดย่อตัวแล้วทยอยเก็บ
นักเก็งกำไร อาจจะทยอยขายทำกำไร แถวแนวต้าน 1470 1493 1520 ตามลำดับ แล้วค่อยมารับกลับเมื่อตลาดปรับฐานลงมา
ปัจจัยกดดันตลาด : ปัญหาเพดานหนี้สหรัฐ + QE ซึ่งมองว่าเป็นการนำประเด็นมาเพื่อรับข่าวกับตลาดมากกว่า

วันอาทิตย์ที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 6/10/2556

TF day
        
          จากกราฟรายวันที่แสดงออกมา ได้มีหยุดทำ low ใหม่แล้ว แม้จะไม่ได้ลงไปปิด GAP ที่ 1337 แต่รูปกราฟก็แสดงถึงความแข็งแรงของตลาดได้ โดยที่สามารถยืนได้เหนือเส้น 75 และ 200 วันได้เป็นเวลา 2 วันแล้ว ทำให้แนวโน้มในระยะสั้นนี้ มองว่าน่าจะจบขาลงแล้ว และหากตลาดยังมีแนวโน้มที่ดีต่อไปควรจะต้องวิ่งขึ้นต่อเนื่องเหนือเส้น 75 และ 200 วันต่อไป เพื่อยืนยันความแข็งแรงของแนวโน้มขาขึ้น ดังนั้นอาทิตย์หน้าตลาดควรจะต้องขึ้นต่อไป แต่ตลาดจะไม่วิ่งแรงเพราะ ตลาดยังกล้าๆกลัวๆกันอยู่ ประกอบกับต่างชาติยังคงเป็น net sell อยู่ ทำให้ช่วงนี้ ตลาดมีโอกาสวิ่งไปในทิศทาง sideway ค่อนข้างสูง Indicator ต่างๆ ยังคงก้ำกึ่งอยู่กลางๆ เป็นลักษณะแนวโน้มของ Sideway ในกรอบ ก่อนจะปรับตัวขึ้นต่อเนื่องในกรอบขาขึ้นต่อไป แต่ตัวที่ให้สังเกต คือ Indicator Bollinger band คือ BB top เริ่มบีบลงมา ส่วน BB bottom ได้ขยับตัวขึ้นมาเรื่อยๆและตอนนี้ ขึ้นมาถึง 1368 แล้วทำให้มองโอกาสปิด GAP 1337 ยิ่งน้อยลงไปอีก ทำให้รูปแบบ Sideway ในกรอบ BB ค่อนข้างชัดขึ้น และยังสามารถประคองตัวเหนือ เส้น BB Avg ที่ 1424 ได้ทำให้แนวโน้มระยะสั้นตลาดเลือกทางไปทางขึ้นมากกว่า

TF week

          Indicator ต่างๆยังไม่ยืนยันแนวโน้มขาขึ้นเท่าไหร่ แต่ก็เริ่มแสดงให้เห็นถึงการชะลอการลงของตลาด โดยหากตลาดจะยืนยันการกลับตัวใน TF week นี้ สัปดาห์หน้าควรต้องปิดเหนือเส้น EMA 20 ที่ 1435 ให้ได้จึงน่าจะยืนยันกากลับตัวของ TF นี้ได้

TF month
          
          ถือว่าเป็นการรีบาวน์กลับได้อย่างค่อนข้างดี ทำให้ไม่เสียทรงของการเป็นตลาดขาขึ้นในในระยะยาว จึงยังคงยืนยันว่า การขึ้นของตลาดรอบใหญ่ยังไม่จบไป และจากการนับ Elliote wave ก็ยังเห็นว่าเป็นการขึ้นของตลาดใน Wave ที่ 5 ได้อยู่ ทำให้ภาพในระยะ กลาง - ยาวตลาดยังคงไปได้อยู่

          สำหรับการวิเคราะห์ตลาด มีแนวโน้มว่าตลาดขาลงน่าจะจบลงแล้วโดยมุมมองจากในหลายๆ TF ประกอบกัน และคาดว่าอาจจะไม่ได้เห็นตลาดลงไปต่ำกว่า 1400 อีกแล้วเช่นกันซึ่งเป็นจุดที่ถือว่าเหมาะสมกับมูลค่าตลาดบ้านเราในปัจจุบัน แม้จะไม่มี MOS ให้มากนักก็ตาม และการคาดการณ์ในสัปดาห์หน้า หากตลาดยังคงขยับขึ้นอย่างต่อเนื่องก็เป็นการยืนยันสัญญาณแล้วว่าตลาดกำลังจะเปลี่ยนแนวโน้มไป โดยอาจจะเป็น Sideway ในระยะสั้นไปก่อน โดยมีแนวรับที่เส้น 75 และ 200 วันตามลำดับ และการขึ้นของตลาดที่ควรจะเป็นควรค่อยๆขยับขึ้นไปเรื่อยๆ เนื่องจาก โวลุ่มต่างๆยังไม่สูงมาก และอาจจะมีการขยับลงได้เป็นระยะ แต่เป็นช่วงที่เหมาะสมกับการทยอยสะสมหุ้นไปเรื่อยๆหากตลาดอ่อนตัวลงมา และหากตลาดจะเปลี่ยนเป็นแนวโน้มขาขึ้นอย่างชัดเจน ตลาดควรต้องขึ้นไปยืนเหนือ 1520 ซึ่งจะเป็นจุดที่โวลุ่มน่าจะเข้า แต่อย่าคาดหวังให้ตลาดกลับตัวเป็นขาขึ้นในระยะเวลาอันใกล้นี้ เพราะยังไม่ถึงช่วงเวลาเก็บหุ้น ซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือน 11-12 และตลาดอาจจะเริ่ม rally ในช่วงต้นปีอีกครั้งหนึ่งเพื่อรับกับเทศกาลปันผลประจำปีของบริษัทต่างๆ

Trading strategy :
สำหรับนักลงทุนที่ทยอยเก็บหุ้นมาแถวๆ 1380-1400 ให้ถือไว้ หรือทยอยซื้อเพิ่มเมื่อตลาดย่อตัว เพื่อลงทุนในระยะ กลาง-ยาวต่อไป
สำหรับนักเก็งกำไร เสี่ยงซื้อแล้วทำกำไรแถวแนวต้าน BB top แถวๆ 1480 stop loss เมื่อตลาดปรับตัวต่ำกว่า 1420
ปัจจัยกดดันตลาด : ต่างชาติยังไม่เก็บหุ้น การยกเพดานหนี้สหรัฐ (ซึ่งคาดว่าน่าจะผ่าน)

วันอังคารที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 1/10/2556

          ช่วงนี้ เริ่มอ่านหนังสือสอบนะครับ อาจจะไม่ได้อัพเดทบล๊อคมากแล้ว อาจจะกลับมาอีกทีปลายๆเดือนเลย

จะขอวิเคราะห์แบบสั้นๆ หรือไปติดตามในกระทู้เก่าๆ ก็ยังเป็นแนวโน้มเดิมครับ

ลักษณะตลาดวันนี้ 1/10/56 ตลาดได้พยายามปิด gap ของเมื่อวานนนี้ที่เปิดไว้ที่ 1413 จุด ดังนั้นพรุ่งนี้ต้องรอการยืนยันสัญญาณกลับตัวของแท่งเทียนวันพรุ่งนี้ ว่าตลาดจะออกทิศทางใด
         
          โดยมองว่าหากพรุ่งนี้ตลาดปิด gap ได้แล้วลงต่อ แสดงว่า การเด้งครั้งนี้เป็นรีบาวน์เพือลงต่อ โดยต้องลงไปทดสอบ แนว 1380 อีกครั้งครับ แล้วถ้าไม่ลงต่ำอีก อาจจะมีการ sideway แล้วเด้งเพื่อทะลุผ่าน 1413 อย่างแน่นอน แต่หากทะลุลงไปก็มองว่าควรลงไปปิด gap 1337 ครับ

          ส่วนอีกแนวโน้มคือหาก ตลาดปิด gap แล้วยืนเหนือ 1413 ถ้าให้ดีควรยืนเหนือ 1417 ที่เป็นเส้น 10 วันก็จะชัดเจนมากขึ้นว่า ตลาดจะไม่กลับลงมาที่ 1380 อีกแล้วครับ

          ดังนั้นใครที่ทยอยซื้อมา ควรรอดูสัญญาณแท่งเทียนพรุ่งนี้ เพื่อประกอบการตัดสินใจอีกทีได้ครับ

Trading Strategy : นักลงทุนระยะกลางทยอยซื้อลงทุนระยะกลาง 3-6 เดือน ได้โดยที่ความเสี่ยงน่าจะเริ่มลดลงแล้ว
หุ้นแนะนำ สำหรับระยะกลาง : กลุ่มคอมโมดิตี้ เหล็ก น้ำมัน และเดินเรือ ที่จะได้อานิสงค์จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในระยะกลาง
หุ้นกลุ่มปันผล : กลุ่มโบรกเกอร์ทั้งหลาย แต่ต้องรอเวลาเล่นของกลุ่ม ซึ่งจะอยู่ช่วงต้นปี

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 23/9/2556

TF day

          อาทิตย์นี้มาช้าสักหน่อยเนื่องจากงานค่อนข้างยุ่ง ส่วนอาทิตย์ที่แล้วก็ติดเรื่อง QE ก็ไม่อยากเขียนอะไรมากมาย แต่คิดว่าน่าจะยังทันสำหรับสัญญาณทางตลาดที่ออกมาสำหรับวันนี้ โดยหากมองในช่วงที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าตลาดปรับตัวขึ้นมาค่อนข้างแรงและทะยานขึ้นมาโดยมีการเปิด gap ไว้ถึง 3 gap ด้วยกัน โดยวันนี้ ได้ทำการปิด gap แรกไปเรียบร้อยแล้ว (เป็น gap vol สูงถึง 80,000M) ซึ่งตามหลักการไม่ควรจะปิดดังนั้นจึงเป็นการยืนยัน สัญญาณ gap สุดท้ายว่าเป็น exhausttion gap ซึ่งเป็นสัญญาณหนึ่งในการกลับตัว บ่งบอกว่า ขาขึ้นรอบนี้ได้จบลงแล้ว ส่วนการลงรอบนี้จะเป็นการปรับฐาน (wave 2 ของคลื่นใหม่) หรือจะเป็นขาลงคลื่นสุดท้าย (wave 5C)คงต้องรอตลาดมาเป็นผู้เฉลย เมื่อจุดต่ำสุดมาถึง แต่จากสัญญาณที่ออกมาในวันนี้ คงต้องติดตามกันไปว่าตลาดจะปรับตัวลงไปถึงไหนกัน โดยแนวรับสำคัญแรก น่าจะเป็นแถวๆ 1405 ซึ่งน่าจะเป็นแนวรับแรก ส่วนแนวรับที่ 2 แถวๆ 1380 และหากมีการลงไปปิด gap ที่ 3 ก็ไม่ควรหลุด 1350 และน่าจะยืนยันการปรับฐานได้ชัดเจนมากขึ้น แต่ที่สำคัญไม่ควรที่จะหลุด 1350 ลงไปเพราะน่าจะมีการลงไปทดสอบแถว low เดิม เลยทีเดียวซึ่งหมายความว่า wave นี้่จะเป็น 5C ไปทันที
          โดยมองแนวโน้มในช่วงนี้ไปในทางลงซะมากกว่า หากมองสัญญาณทางเทคนิคตัวอื่นประกอบก็คาดได้ว่ามีโอกาสลงต่อค่อนข้างสูงแต่จะลงถึงไหนก็รอดูในแต่ละแนวรับเอาครับ โดยจะไล่สัญญาณแต่ละ indicator มาคร่าวๆ

          ADX แรงซื้อเริ่มลดลง ประกอบกับแรงขายที่ชะลอไปก่อนหน้าเริ่มกลับมาอีกครั้ง และสัญญาณความแข็งแรงของแนวโน้มที่เริ่มลดลง ทำให้มองว่าเป็นการชะลอตัวของแนวโน้มขาขึ้น
          MACD เริ่มหักลง แต่สัญญาณยังไม่ตัดให้ขาย ทำให้มองว่าอาจจะเป็นการปรับฐานเฉยๆก็เป็นได้
          STO สัญญาณเริ่มหักลง และยังอยู่ในโซน OVB อีกด้วย ซึ่งจะไปพ้องกับ ADX ทำให้มองว่าตลาดน่าจะปรับลงไปต่อได้อีก
          RSI เริ่มชะลอตัวตั้งแต่ 2 วันก่อน และวันนี้ก็ปรับลงอย่างแรง ทำให้เห็นว่าวันนี้แรงขายออกมาค่อนข้างเยอะมาก
          Momentum ยังมีค่ามากกว่า 100 ถือว่ายังไม่เสียทรงของการขึ้นต่อ แต่ชะลอตัวเป็นไปในทิศทางเดียวกับ RSI

TF week

           ใน TF week ได้มีการเปิด gap ขึ้นมา 2 gap และหากตลาดในแนวโน้มที่จะขึ้นได้อย่างแข็งแรงนั้นควรต้องมีการทดสอบ gap ทั้งหมดใน Week ด้วย

TF month

           TF month ถือว่ายังไม่เสียรูปแบบของกราฟขาขึ้น เท่าใดนัก ยังคงอยู่ใน channel ขาขึ้นได้อยู่ และสัญญาณต่างๆก็ไม่ได้เลวร้ายนักและตัว sto ก็ใกล้ถึงจุดตัดซื้อแล้วเช่นกัน และสำหรับกราฟเดือนนี้ ไม่ควรปิดลงไปต่ำกว่า 1350 เพื่อให้สามารถยืนได้เหรือ BB middle ได้ เพื่อคงอยู่ในแนวโน้มขึ้นได้อยู่

          ถ้าในมุมมองแล้ว ส่วนตัวมองว่าการลงของตลาดรอบนี้ น่าจะเป็นการปรับฐานซะมากกว่า เพราะตลาดปรับตัวขึ้นมาแรงมาก จาก 1260 มาถึง 1494 คร่าวๆก็เกือบ 234 จุดเลยทีเดียว หากตลาดปรับตัวขึ้นมาสูงมาก ดังนั้นควรจะมีการปรับฐานที่แรงมากเป็นธรรมดา และหากเป็นการปรับฐานจริงๆ แนวโน้มต่ำสุดที่ตลาดจะไปถึงก็ไม่ควรลงไปต่ำกว่า 1350 ที่ 61.8% fibonanci แต่ยังคงมีประเด็นเรื่อง Window dressing ซึ่งน่าจะประคองตลาดได้อยู่บ้างเล็กน้อย จึงมองว่า อาจจะมีการเด้งขึ้นบ้าง ในช่วงปลายเดือนนี้ แต่ในต้นเดือน ตค อาจจะปรับฐานไปเรื่อยๆจนจบรอบ และควรต้องมีการ sideway เพื่อให้มีการเก็บหุ้นก่อนที่จะขึ้นต่อไปอย่างแข็งแรงได้

Trading Strategy :
          สำหรับนักลงทุน น่าจะใกล้ถึงจุดที่ได้ลงทุน และถือหุ้นในระยะกลางถึงยาวแล้ว โดยควรเฉลี่ยซื้อแถวแนวรับต่างๆที่ให้ไว้ที่ 1405 1380 1350
ปัจจัยกดดันตลาด : ไม่มี แต่น่าจะมีการเล่นข่าว taper QE และการล่าช้าของโครงการ 2.2 ล้านล้าน เป็นระยะๆ

วันอาทิตย์ที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 8/9/56


TF day + Fibo

          สำหรับอาทิตย์นี้เพิ่งรู้วิธีใช้ Fibo หลังจากหาวิธีใช้ไม่เป็นอยู่นาน หน้าตากราฟจึงแปลกตาออกไปซักเล็กน้อย วันนี้เรามาติดตามสัญญาณจากกราฟกัน จากที่เคยบอกไว้เมื่อสัปดาห์ก่อนว่า การขึ้นครั้งนี้เป็นเพียงการรีบาวน์ ยังไม่ใช่การกลับตัวขึ้นแต่อย่างใดนะครับ ยังไม่ต้องรีบร้อนในการกลับเข้าสู่ตลาดกัน แม้สัญญาณต่างจะมีแนวโน้มไปในทิศทางขึ้นทั้งหมด แต่การขึ้นดังกล่าวโวลุ่มกลับมีไม่มาก จึงไม่อาจมองได้ว่าเป็นการกลับตัวครับ ประกอบกับทิศทางการเคลื่อนที่ของกราฟยังอยู่ในกรอบแนวโน้มขาลงอยู่ โดยหากจะมีสัญญาณกลับตัวจะมี 2 กรณี คือ 1.ลงไปทดสอบ low เก่าแล้วไม่ทำ new low ทำให้เกิด Divergence หรือแนวรับของขาขึ้นได้ หรือ 2.ต้อง break trend line แนวต้านขาลงขึ้นไปให้ได้ โดยคร่าวๆ คือน่าจะต้องวิ่งขึ้นไปยืนเหนือ 1400 ให้ได้ซะก่อน ซึ่งโอกาสเป็นไปได้ค่อนข้างน้อย เนื่องจากตลาดที่เด้งขึ้นมาก่อนหน้านี้ โวลุ่มถือว่าน้อยมาก โดยคาดว่า แนวรีบาวน์สูงสุดไม่น่าจะผ่าน 1355 จากที่วิเคราะห์ไว้เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

TF Month +Fibo

          ส่วนกราฟเดือนจะฉายภาพให้เห็นถึงแนวโน้มที่ค่อนข้างใหญ่ เพื่อให้ทราบแนวโน้ม หรือความน่าจะเป็นของแนวรับ ต่ำสุดของตลาดครับ โดยหากวิเคราะห์จากตาม Elliote wave การเดินทางของตลาดค่อนข้างชัดว่าได้เดินทางมาถึง เวฟ 4 ของแนวโน้มใหญ่แล้วนับแต่เกิดวิกฤต Subprime โดยเวฟ 4 จะต้องไม่ลงไปต่ำกว่า high ของเวฟ 1 ซึ่งจะเป็นการคอนเฟิม ขาขึ้นต่อเนื่องของเทรนด์ใหญ่ครับ โดยจุุด High ของเวฟ 1 เก่าก็คือ 1148 และหากจะคงเป็นขาขึ้นใหญ่ต่อไปได้ ตลาดต้องยืนเหนือ เส้น Fibo 61.8 ให้ได้ หรือก็คือ 1171.43 ครับ เพื่อไปสู่ เวฟ 5 ใหญ่ต่อไปครับ

          ดังนั้นจะทำการสรุปภาพในระยะสั้น ก่อนซึ่งขณะนี้เป็นการรีบาวน์ โดยคาดการณ์ว่าน่าจะอยู่ใน corrective wave ใหญ่ ขา 4C  ก่อนจะลงไปทำขา 5C อีกครั้งเพื่อจบรอบขาลงอย่างสมบูรณ์ครับ และ ณ ตลาดที่ตำแหน่งนี้ ก็คาดว่าใกล้กับแนวต้านค่อนข้างมากแล้ว และเหตุที่ต้องนำกราฟ Fibo มาใช้ก็เพื่อประกอบการ หาจุดรับตำสุดที่คาดว่าตลาดควรจะต้องไปถึงครับ และตามหลักการของ Elliote wave ขา C จะยาวเป็น 1.618 เท่าของ ขา A ครับ(ขาA 1650-1350) ตาม Fibo รายวัน ที่ 161.8% แนวรับต่ำสุดของการลงรอบนี้น่าจะอยู่ประมาณ 1170-1180 ครับ ซึ่งมันฟ้อง จาก ภาพใหญ่ทั้ง TF day และ month และสำหรับผู้ที่ต้องการจะลงทุนจริงๆ ต้องลงทุนด้วยความใจเย็นครับ เพราะ ตลาดจะไม่ไปไหนเป็นเวลานาน กว่าจะถึงขาขึ้นรอบใหม่ (ในกรณีที่ ไม่หลุดรูปแนวโน้มใหญ่)

หมายเหตุ : การวิเคราะห์ในสัปดาห์นี้ จะเป็นไปตามหลักการเกือบทั้งหมดซึ่งมักจะเป็นไปตามหลักจิตวิทยา โดยอาจจะไม่เป็นไปตามทฤษฏีก็ได้ จึงขอให้ใช้วิจารณญาณในการอ่าน

ความเห็นส่วนตัว : แม้จะมองว่า ราคาหุ้นในตลาดยังน่าลงทุนแล้วก็ตาม แต่ยังคงเชื่อว่าหากตลาดจะขึ้นต่อไปได้ เราต้องยอมรับความจริงว่า ต้องให้มีผู้นำตลาดหรือเงินทุนจากภายนอกเพื่อผลักดันตลาด ดังนั้นตราบใดที่เงินทุนยังไหลออกอยู่เรื่อยๆจึงยังไม่น่าจะเห็นการกลับตัวของตลาดในช่วงเวลานี้เท่าใดนัก หรือต่อให้ไปได้ก็ไปได้ไม่ไกล เพราะเน้นเก็งกำไรระยะสั้น ซะส่วนมาก จึงมองเห็นภาพในแนว sideway  มากกว่า ก่อนจะปรับตัวขึ้นจึงยังไม่ต้องรีบร้อนในการลงทุนครับ และเมื่อมอง Timing น่าจะบรรจบกับแถลง QE เพื่อทำเวฟ 5C เพื่อจบรอบขาลงได้ครับ และควรจะอยู่ใน แนว Fibo ที่ให้ไว้ด้วยครับ

Trading Strategy :
          สำหรับนักเก็งกำไร ก็คงแนะนำเช่นเดิม คือหากตลาด ปรับตัวขึ้นถึง 1350 แนะนำให้ขายทำกำไรทิ้งครับ
          ส่วนนักลงทุนควรรอการปรับตัวลงของตลาด เพื่อทดสบ low เดิมอีกครั้ง หากไม่เกิด new low อาจเกิดสัญญาณกลับตัวขึ้นไปได้ โดยมองที่แนวรับ 1280 -1300 เป็นหลักครับ หากยังไม่แน่ใจอาจจะรอ หลังแถลง QE น่าจะเห็นภาพชัดกว่าครับ
ปัจจัยกดดันตลาด : สงครามซีเรีย และ QE ที่จะแถลงในวันที่ 17-18 นี้แล้ว

วันอาทิตย์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 1/9/2556


TF day

        อาทิตย์นี้ เกิดเทคนิเคิลรีบาวน์จากการตกมาจากที่สูงพอสมควร โดยเกิดจากการชะลอแรงขายของต่างชาติ
โดยแนวโน้ม ของการเล่นรอบต้องใช้ตัว Indicator ที่เร็วที่สุด คือ Stohastic หรือปรับโดยการใช้ TF ที่ต่ำกว่านั้นเพื่อหาจังหวะการเก็งกำไรระยะสั้นเท่านั้น ประกอบกับช่วงวันศุกร์ทีผ่านมา หุ้นขนาดกลางและเล็กเริ่มมีแรงเก็งกำไรเข้ามา ทำให้อาจจะมีจังหวะในการเก็งกำไรในหุ้นขนาดเล็ก โดยมองแนวต้านที่ 1300 และ 1330 ตามเส้นค่าเฉลี่ย 5 และ 10 วันตามลำดับ และมองจุดรีบาวน์สูงสุดไม่น่าจะเกิน 1355 จากการประมาณการรีบาวน์ 50% จากการประมาณจุดสูงสุดต่ำสุดคือ (1450+1360) /2 =1355
          ลักษณะ การลงรอบนี้หากมองตาม Elliote wave น่าจะเป็น Correction wave ขา 4C เป็นเพียงการเด้งระยะสั้นเพื่อจะลงต่อเท่านั้น ยังเหลือขา 5C ซึ่งเป็นขาลงรอบสุดท้ายจึงจะสมบูรณ์ตามหลักการครับ หากมองแนวโน้มนี้น่าจะเห็นการปรับตัวลงสู่ New low ใหม่อีกครั้งของตลาดครับ

TF Month

          จากการวิเคราะห์ที่เคยเขียนไว้ในสัปดาห์ก่อน ว่าหากเห็นการปิดสิ้นเดือนต่ำกว่า 1400 ก็จะทำให้เห็นเรอ่มเป็นแนวโน้มลงใหญ่แล้ว แนวโน้มใหญ่จึงยังคงเป็นขาลงอย่างชัดเจน และยังไม่มีสัญญาณกลับตัวในการชะลอตัวของการตก ทำให้มองในระยะกลาง ยังไม่น่าจะเห็นการกลับตัวอย่างรวดเร็วของตัว SET ได้

           ดังนั้นในสัปดาห์นี้ยังไม่แนะนำให้ทำอะไร โดยตาม sentimen ของตลาดและแนวโน้มสัญญาณยังเป็นขาลงต่อเนื่อง จึงแนะนให้อยู่เฉยๆดีกว่า

Trading Stratgy : สำหรับผู้ที่เสี่ยงซื้อ แถวแนวรับ 1260-1280 อาจทยอยขายทำกำไรระยะสั้นแถวแนวต้านต่างๆ และควรทำกำไรทิ้งทั้งหมดหาก ตลาดวิ่งขึ้นถึง 1350 ได้ โดยหากตลาดจะปรับตัวขึ้นต่อ จะมีระยะเวลาให้เก็บหุ้นคืนได้ครับ
สำหรับนักลงทุน อาจจะเริ่มทยอยรับในสัดส่วนเล็กน้อย เพื่อลงทุนได้บ้างแล้ว และค่อยเพิ่มสัดส่วนการลงทุนตลาดเริ่มหยุดการทำ new low ใหม่
แนวโน้มตลาด : โดยแนวรับการรีบาวน์ 1280 แนวต้าน 1330-1350 โดยอาจจะต้องมีการลงไปทดสอบ low เดิมอีกครั้งหนึ่ง

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์อนาคตตลาดที่มองไม่เห็น (เดาล้วนๆ)

*******คาดการณ์อนาคตเล็กน้อยนะครับ โดยใช้หลักการทำสงครามทางการเงิน มองไปในทางเลวร้ายสุดๆครับหากใครไม่ชอบหรือมีหุ้นติดตัวอยู่ กรุณาผ่านนะครับ*******

และคงไม่แชร์ออกไปภายนอกครับ สำหรับผู้ติดตามบล๊อกนี้อยู่หากสนใจก็เชิญชมครับ
===========================================================================
>
>
>
>
>
>
>
>
>
>
>
>EDIT : 12/9/56 เพิ่มรูปกราฟ เพิ่อวิเคราะห์แนวรับต่ำสุดที่ตลาดจะไปถึง โดยคาดว่าน่าจะเป็นแถวๆ 1160-1180 ครับ

TF day + ทดสอบ Fibo ขา A

           ตามหลักการของ ellioite wave ขา C จะต้องยาวเป็น 1.618 เท่าของขา A ได้จุดต่ำสุดของ C ที่ 1148.97

TF day + Fibo จุดสูงสุดขา C4
          อันนี้ลองลากดูคร่าวๆ ตกแถวๆ 1163

TF Month + Fibo
          โดยหลักการของ Elliote wave ถือว่าอยู่ในเวฟ รอบใหญ่เวฟที่ 4 โดยต้องไม่ต่ำกว่า จุดสูงสุดของเวฟ 1 และต้องไม่ต่ำกว่า 38.2% ฟิโบนันชี่ แนวรับจะไปตกแถวๆ 1170
****เนื้อหาข้างล่างเป็นเนื้อหาเก่าครับ****
         ต้องเท้าความเกี่ยวกับเรื่องตลาดหุ้นบ้านเราสักนิดนึงโดยจุดต่ำสุดของตลาดหลังจาก เกิดวิกฤต subprime ขึ้นมาตลาดได้พังทลายลงอย่างรวดเร็ว สาเหตุเพราะต่างชาติดึงเงินที่อยู่ในตลาดบ้านเราออกทั้งหมด ทำให้ตลาดพังลงมาครับ แต่หลังจากที่ทางอเมริกา มีการประกาศใช้ QE 1 ตอนช่วงกลางปี 52 ก้ได้มีการนำเงินกงเต๊กที่พิมพ์ขึ้นมาเหล่านี้มาหาประโยชน์จากในตลาดบ้านเราครับ และทำมาเรื่อย กระทั่ง QE 2 3 ก็เช่นกัน
ดังนั้นเราจึงต้องยอมรับในจุดนี้ว่าส่วนหนึ่งที่ตลาดขึ้นมาขนาดนี้ได้เพราะเงิน QE ด้วยเช่นกัน เพียงแต่ผู้ที่อยู่ในตลาด ณ ช่วงเวลานั้นจึงเป็นผู้โชคดีและมีความกล้าที่จะลงทุนในขณะที่ทุกคนกลัวนั่นเองครับ ดังนั้นการที่เรามาลงทุนในขณะที่ตลาดสูงขนาดนี้จึงเป็นความเสี่ยงครับ เหมือนเรามาปั่นเงินให้ต่างชาติ แล้วก็เอาเงินออกไป โดยวัฏจักรนี้ค่อนข้างยาวพอสมควรแก่เวลาแล้ว (ส่วนมากรอบวัฏจักร ราวๆ5-7ปี) ผู้ที่เข้ามาทีหลังก้เป็นแค่ผู้เติมความมั่งคั่งให้กับผู้ที่มาก่อนแล้วนั่นเอง

          และจากภาพรวมตลาดขณะนี้ที่อ้างอิงจาก  http://marketdata.set.or.th/mkt/marketsummary.do?language=th&country=TH  set = 1293 PE ราวๆ 13.83 PB 1.977 ปันผลเฉลี่ย 3.2% ผลตอบแทนแทบจะเทียบเท่ากับดอกเบี้ยเงินฝากประจำพิเศษบางที่แล้ว และหากมองไปตามเศรษฐกิจของบ้านเราแล้วก็จะเริ่มเห็นการชะลอตัวในภาคต่างๆ ทั้งรัฐ เอกชน ส่งออก ผู้บริโภค ถือว่าพื้นฐานทางเศรษฐกิจเปลี่ยนครับ น่าจะเริ่มส่งผลชัดขึ้นอีกในไตรมาส 3 จึงไม่แปลกใจนักหากจะมีการทะยอยขายหุ้นทิ้ง ณ ระดับ set ปัจจุบัน

          ถ้ามองในมุมผม ยังไงตลาดตอนนี้ก็เพิ่งเหมาะสมสำหรับการลงทุน แต่ไม่ใช่ในระยะยาวที่อนาคตเศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ตามความเห็นคือ ยังไม่มี MOS สำหรับตลาด ณ ปัจจุบันครับ แต่หากมองรายตัวอาจจะมีบางตัวที่น่าสนใจแล้วก้ได้

          กลับมาที่มุมมองของนักลงทุนต่างชาติ ในเมื่อเขาเข้ามาแล้วกำลังจะออกไป ถ้าเป็นตัวผมเองผมจะค่อยๆทยอยขายไปเรือยๆ และหากวางแผนว่าจะมีการกลับมาลงทุนอีกครั้งหนึ่งจะต้องมีการถือหุ้น ส่วนสุดท้ายไว้ในมือแน่นอนสำหรับการทุบหุ้นครั้งสุดท้ายเพื่อให้ตลาดพังลงมาและ ค่อยเข้ามาเก็บกวาดล้างกระดานเล่นใหม่ ดังนั้นถ้าตามที่ผมคิดไว้การลดลงของตลาดตรงจุดนี้ไม่ใช่การ ปรับฐานเพื่อขึ้นรอบใหม่ แต่เป็นการล้างกระดานเพื่อเริ่มรอบใหม่มากกว่า ซึ่งก็น่าจะทำตามแผนมาได้ในระดับหนึ่งแล้ว โดยการหลอกล่อให้รายย่อยเข้าไปซื้อหุ้นแล้วติดไว้สูงๆ จนไม่มีเงินมารับกับการเทหน้าตักครั้งสุดท้าย จึงน่าจะได้เห็นการพังทลายของตลาดครับ ที่เคยมีนักวิเคราะห์ว่าอาจโน circuit breaker คาดว่าอาจไม่ไกลเกินจริงนัก

จากรูปเกมการเงินนี้ ผมให้ข้อคิดเห็นว่าถ้ามองแล้วเหมือนการพิมพ์เงินมาปล้นเงิน(ในตลาดหุ้น/บอนด์) ประเทศอื่นมากกว่า ที่ฝรั่งทั้งเมกา ยุโรป และ ญี่ปุ่น ทำ QE มาร่วมด้วยช่วยกันถลุง ทรัพยากรเงินในประเทศต่างๆเช่น bric หรือ emerging market น่าจะใกล้เดินทางมาสู่จุดสุดท้ายแห่งปาร์ตี้แล้ว และผมคาดว่าอีกเราอาจจะได้เห็นการตกอย่างรุนแรงหรือพังทลายของตลาดในไม่ช้านี้อย่างแน่นอนครับ เพื่อให้มีการล้างไพ่มาเล่นใหม่ เพราะหรั่งคงไม่กลับมาซื้อของแพงต่อจากเราหรอกครับ

ปล.ทั้งหมดนี้เป็นเพียงความเห็นส่วนตัว และผมคาดการณ์จากมุมมองที่ต่างชาติจะได้เปรียบมากที่สุดครับ เพราะมีทั้งเงินและสร้างข่าวสารเกี่ยวกับตลาดต่างได้ๆ ขอให้ทุกคนบริโภคบทวิเคราะห์อย่างมีสติครับ
ปล2. และผมคงไม่คาดว่าตลาดจะลงไปถึงไหน ถ้ามันลงสุดเมื่อไหร่ก็ต่อเมื่อราย่อยตายทั้งตลาดนั่นแหละครับ

วันอาทิตย์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2556

เรียนรู้ TFEX (2)

          บทเรียนต่อไปจะเป็นเรื่องความรู้เบื้องต้นในการเทรดสัญญา Tfex ครับ โดยหลักการของ Tfex มีที่มาจากการทำสัญยาซื้อขายสินค้าอ้างอิงในอนาคตระหว่างคู่สัญญา 2 ฝ่าย โดยสินค้าอ้างอิงก็ตามแต่จะตกลงกัน โดยในตลาด Tfex ก็จะมีการซื้อขายสัญญาที่อ้างอิงตามตัวสินค้าต่างๆเช่น ตัว SET50 future ตัวหุ้นที่เป็นที่นิยมของตลาดหรือ single stock future
         ตัวสัญญานั้นจะสมบูรณ์ได้ก็ต่อเมื่อมีคู่สัญญา 2 ฝ่ายตกลงเข้าทำสัญญาซึ่งกันและกัน โดนฝ่ายหนึ่งคาดการณ์ว่าสินค้าอ้างอิงจะมีราคาลดลง ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งคาดารณ์ว่า สินค้าอ้างอิงจะมีราคาสูงขึ้นจับคู่ตรงกันโดยผ่านการวางเงินประกันไว้ที่คนกลางเพื่อไว้ชำระค่าสัญญา ดังนั้นจากลักษณะของสัญญาแล้ว จะเห็นได้ว่า การซื้อขายหรือทำสัญญา Tfex นั้นจะมีผู้ที่ได้กำไรและมีผู้เสียกำไรในปริมาณที่เท่ากัน จึงอาจพูดได้ว่าเป็น Zero sum game อย่างแท้จริง จึงไม่แปลกใจนักหากจะมีบางคนปรามาสว่า Tfex เหมือนบ่อนถูกกฎหมายดีๆนี่เอง (**ส่วนนี้จะต่างจากการซื้อหุ้นเพราะหุ้นมีผลตอบแทนให้แก่ผู้ถือหุ้นและผู้ถือหุ้นจะเติบโตไปด้วยกันพร้อมกับบริษัทได้)

         เมื่อเรารู้ถึงการทำงานของตัว Tfex แล้วต่อไปเราจะมาเริ่มเรียนรู้การซื้อขาย Tfex เบื้องต้น โดยระบบจะเริ่มจากการ เปิดสัญญาก่อน Open การเปิดสัญญาจะเปิดสถานะตรงกันข้ามในซี่รี่เดียวกันไม่ได้ และหากต้องการปิดสัญญาให้เลือก Close แต่ต้องมีสัญญาถือไว้จึงสามารถส่งคำสั่งไปปิดได้


         การส่งคำสั่งซื้อ-ขาย จะเริ่มโดยการ Open หรือเปิดสัญญา แล้วเลือกว่า
         -ซื้อสัญญาก่อนที่ราคาต่ำ เพื่อไปขายสัญญาออกที่ราคาสูงเพื่อทำกำไรส่วนต่าง แต่หากขายสัญญาได้ถูกกว่าที่ซื้อมาก็จะถูกหักส่วนต่างจากเงินประกันที่วางไว้เช่นกัน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าแทงขึ้น (Open buy หรือ long position ---> close sell เพื่อปิดสัญญา long)
         -ขายสัญญาก่อนที่ราคาสูง เพื่อไปซื้อสัญญาคืนที่ราคาต่ำเพื่อทำกำไรส่วนต่าง แต่หากซื้อคืนได้ในราคาสูงกว่าที่ขายไปก็จะถูกหักส่วนต่างจากเงินประกันที่วางไว้เช่นกัน หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่าแทงลง (Open sell หรือ short position ---> close buy เพื่อปิดสัญญา short)
          ส่วนการปิดสถานะสัญญา ต้องทำตรงข้ามกับการเปิดสถานะเสมอ
          การใส่คำสั่งเพิ่มเติม ช่องที่ 1 ให้ใส่ชื่อสัญญา เช่น S50U13 โดยที่
          -S50 ชื่อย่อของสัญญา set50 , BR ชื่อย่อของ น้ำมันbrent , GF ชื่อย่อของ gold future และชื่อตัวย่อหุ้นเป็นต้น
          -U หมายถึง กำหนดหมดอายุของสัญญา โดยจะแบ่งเป็น 12 ซี่รี่ซึ่งจะหมดอายุในแต่ละเดือน แต่สัญญาที่นิยมกันมากมักจะเป็นสัญญาทุกช่วง สิ้นไตรมาสหรือ 3 เดือนคือ ซี่รี่ H (มี.ค.) , M (มิ.ย) , U (ก.ย.) , Z (ธ.ค.)
          -13 หมายถึง ปีที่หมดอายุ ใช้ดูประกอบกับตัวซี่รี่
          ช่องที่ 2 ใส่จำนวนสัญญาที่ต้องการเปิด หากมีหลายสัญญาและต้องการแตกออเดอร์ย่อยให้ใส่ ตัวเลขที่ P/B vol
          ช่องที่ 3 ใส่ราคาที่ต้องการ
เมื่อส่งคำสั่งเรียบร้อยแล้ว การจับคู่ซื้อขายจะเหมือนกับการซื้อขายหุ้นทุกประการ ซึ่งส่วนนี้ผู้ที่ผ่านตลาดมาบ้างคงจะทราบกันอยู่แล้ว จึงไม่ขออธิบายเพิ่มเติม

วันเสาร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 25/8/2556


TF day

          ผ่านไปอีก 1 สัปดาห์แดงเดือด ถือว่าเป็นสัญญาณลงที่ค่อนข้างชัดเจนทีเดียวสำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยตอนแรกไม่คิดว่าจะลงแรงและเร็วขนาดนี้
          จากกราฟ Day เริ่มมีสัญญาณการรีบาวน์ทางเทคนิคเล็กน้อย โดยช่วงนี้จะให้ความสำคัญกับ Fund flow ซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการวิเคราห์แนวโน้ม
          แท่งเทียนไปปิดที่ BB ล่างพอดี แต่กราฟเป็นแท่งแดงเต็มแท่ง ทำให้มองแนวโน้มมีโอกาสลงต่อเนื่อง แต่เนื่องจากวันศุกร์ ฝ่ายขายหนักกลับเป็น prop trade จึงมองเป็นลักษณะการขายทุบมากกว่า
          ADX แรงซื้อเริ่มชะลอตัวเล็กน้อย ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับการชะลอแรงขายของต่างชาติ และเริ่มมีแรงซื้อกลับเข้ามาบ้าง แต่สัญญาณแนวโน้มเทรน เริ่มชัดขึ้นว่าเป็นขาลง
          MACD ตัดลง ชัดเจน แสดงถึงแนวโน้มขาลง พร้อมกับ ตัว MACD ที่ตัดลงต่ำมาก
          RSI 30.129 เกือบถึงเขต OVS 
          Sto ไปอยู่ในโซน OVS เรียบร้อย เส้นสัญญาณยังไม่แสดงถึงการรีบาวน์ %Kแต่มีการยกตัวสูงเล็กน้อยจาก วันที่ 21 ส่วน %D มีการชะลอการลงเล็กน้อยเช่นกัน เส้นสัญญาณตัดขึ้นแต่สัญญาณไม่แข็งแรงนัก
          Momentum มีการฟื้นตัวเล็กน้อย
         
          จากการวิเคราะห์กราฟ day มีแนวโน้มรีบาวน์ได้ในระยะสั้น

TF week

          ส่วนแนวโน้มกราฟ week คร่าวๆ จากสัญญาณแท่งล่าสุด ทำให้ indicator ทุกตัว โดยเฉพาะ Momentum แสดงถึงการอ่อนแรงของรูปกราฟอย่างชัดเจน และ MACD ใกล้ตัดลง 0 ซึ่งน่าจะเป็น indicator ในการบอกแนวโน้มที่ช้าที่สุดแล้ว จึงน่าจะบอกได้ว่าช่วงนี้เป็นแนวโน้มขาลงอย่างเต็มตัวแล้ว แถมยังปิด ต่ำเส้น 75Week จึงทำให้อาจจะเป็นแนวต้านแทนได้

TF month

          กราฟ Month ตามที่วิเคราะห์ไปเมื่ออาทิตย์ก่อน ว่าหากปิดเดือนแล้วเกิดปิดต่ำกว่า 1400 ขึ้นมาจะเกิดแท่งแดงติดต่อกัน 4 แท่ง ซึ่งตามแนวโน้มแล้วคาดว่ามีโอกาสค่อนข้างสูงมากทีเดียวที่จะปิดเดือนในระดับต่ำกว่า 1400 ซึ่งในความเป็นจริงหากเกิด Three black crow นี่ให้ถือเป็นสัญญาณอันตรายได้แล้ว แต่หากมีแท่งที่ 4 คาดว่าผู้ที่ลงทุนระยะยาวอาจจะต้องเริ่มพิจารณาความเสี่ยงของการถือหุ้นที่ลงทุนบ้างแล้ว หากมีต้นทุนต่ำอาจจะต้องทำการเก็บต้นทุนหรือทำกำไรออกแล้ว ส่วนผู้ที่ติดสูงก็น่าจะเริ่มพิจารณาการถือครองหุ้นของท่านครับ

ยอดซื้อ-ขาย prop และ ต่างชาตินับจากวันที่เทขายอย่างหนักตามลำดับ

          จากแนวโน้มในสัปดาห์ที่ผ่านมา แนวโน้มการขายของต่างชาติค่อยๆชะลอตัวลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งยอดซื้อขายเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เป็นการเทขายทุบตลาดจากทางฝั่ง prop trade จึงมองเป็นนัยยะว่าน่าจะเป็นการทุบเก็บหุ้นหรือตัว tfex ซะมากกว่า และยังมองแนวรับระยะสั้นที่ 1340 ที่แรงขายต่างชาติชะลอตัวได้ในระยะนี้ Sentimen ตลาดจากปัจจัย fundflow จึงน่าจะเบาบางไปชั่วคราว ส่วนปัจจัยที่น่าจะทำให้ตลาดรีบาวน์ได้ในระยะสั้นน่าจะมากจาก การ cover short จากทางฝั่ง prop trade ประกอบกับ สัญญาณช่วงนี้ก็เริ่มเข้าเขต OVS กันแล้ว ทำให้น่าจะเห็นการรีบาวน์ทางเทคนิคได้ในระยะสั้นนี้

          ความเห็นส่วนตัว จากที่เปิดยอดซื้อขายในวันศุกร์ออกมาทำให้คาดว่ามีโอกาสที่น่าจะมีการรีบาวน์ในสัปดาห์หน้า ประกอบกับการเทขายของ prop ในตลอดวัน ทำให้เกิด basis ในการเปิดสัญญา tfex ค่อนข้างมากทีเดียว จากแนวโน้ม Net จากทางฝั่งสถาบันเข้ามาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ทำให้ยิ่งมองโอกาสรีบาวน์ค่อนข้างสูงขึ้นไปอีก ประกอบกับถ้าแรงขายจากทางต่างชาติชะลอตัว ทาง prop น่าจะมีการทำกำไรระยะสั้นจากการ รีบาวน์ครั้งนี้ไม่น้อย โดนมองแนวต้านของการรีบาวน์อยู่ราวๆ 1380 แต่ไม่น่าถึง 1400 แนวรับในอาทิตย์หน้าน่าจะอยู่ราวๆ 1340 ครับ ยังมองว่าน่าจะออก Sideway ไปทางลงเล็กน้อย จนกว่าจะถึง แถลงของ FED ครับ แนวรับสำคัญที่ไม่ควรจะหลุดคือ สำหรับ SET จะอยู่ที่ 1280 /SET50 850 ตามลำดับ หากหลุดแนวนี้ก็ตัวใครตัวมันครับ

Trading stratgy : wait and see สำหรับนักลงทุนครับ /ลุ้นรีบาวน์ระยะสั้นโดยที่ upside ไม่ได้มากสำหรับนักเก็งกำไรที่รับความเสี่ยงได้สูง
แนวโน้มตลาด : Sideway down หากไม่หลุด 1300 และ 1280

         

วันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 16/8/2556

TF-day
TF-Week
TF-Month

จากรูปกราฟคร่าวๆนะครับ
ADX แรงซื้อเริ่มแผ่วครับ แต่ความชัดเจนของสัญญาณ ยังไม่ชัดเจน
MACD ยังดำน้ำอยู่ตื้นๆ เหมือนกำลังเลือกแนวโน้มอยู่
RSI / Momentum ไม่ทำ high ใหม่ แถมเริ่มหักหัวลงทำให้มองแล้วแรงเด้งครั้งนี่ น่าจะหมดแรงแล้ว
Sto เข้าเขต OVB ตัดลง สัญญาณขายครับ (แต่สัญญาณมันค่อนข้างไวกว่าเพื่อนครับ อาจจะไม่ลงจริงก้ได้ จึงแนะนำให้เฝ้าระวังไว้ก่อน)
          โดย sentiment ของตลาด โดยรวมถือว่าไม่ค่อยดีครับ จากที่ตอนแรกคิดว่าจะขึ้นไปทดสอบแนวต้านเดิมที่ 1480 กลับกลายเป็นว่า ไปทดสอบได้แค่ 1465 แล้วก็ไหลลงต่อ ถ้าตามเทคนิคัล ถือว่าการีบาวน์ ของรอบ 1520 จบแล้วครับ และถ้านับตาม elliote wave จะเห็นชัดครับว่า ตรง 1465 นี่เป็นเวปใหญ่ขาลง เป็นขาลงของเวฟ C ครับ (สนใจไปศึกษากันดูนะครับ ว่ามันมีเวฟใหญ่เวฟย่อยยังไงบ้าง)
          กราฟ TF month ถ้าสิ้นเดือนนี้ปิดต่ำกว่า 1400 ขึ้นมา จะน่ากลัวมากครับ เพราะเป็นแท่ง แดง 4 แท่งติดต่อกัน/ ส่วน week ฟ้องว่าที่ขึ้นมารอบนี้เป็นการรีบาวน์เฉยๆครับ ยังเป็นขาลงต่อเนื่องและน่าจะจบรอบรีบาวน์แล้วเพราะ จุดสูงสุดใหม่ แค่ 1465 เทียบกับ high เก่าที่รีบาวน์ไว้ 1520 จึงมองแล้วโอกาสว่าน่าจะลงค่อนข้างสูงครับ มีโอกาสไปทดสอบ แถว 1400 ค่อนข้างสูง และถ้าหลุดก็อาจไปถึงแนวรับเก่าที่ 1350 ถ้ารับอยู่อีก ก็ต้องดูรีบาวน์ว่าผ่าน 1400 ได้ไหม ถ้าผ่านได้ รูปแนวโน้มจะออกแนว sideway ครับ แต่ถ้าไม่ผ่าน ก็แปลว่าตลาดยังเป็นขาลงต่อเนื่องครับ
          สำหรับหน้าไพ่ที่ติดตามมาซักพัก ก็เริ่มมองเห็นได้ว่าทางหรั่งยังเหลือ short อยู่ ส่วนกองก็ทยอยปิด  long จนหมดตั้งแต่กลางๆเดือนที่แล้วเริ่มมี short สะสมบ้างแล้ว ประกอบกับ มีการ short SSF ไว้แล้วเช่นกัน จึงคาดว่ากองไม่ห่วงที่ตลาดจะลงมากครับ

          ส่วนหนึ่งวันนี้เป็นวันศุกร์ แถมเมื่อวานก็มีการประกาศ jobless claim และตัวเลข CPI ออกมาดีกว่าคาดทำให้คนวิตก QE (อีกแล้ว) และตัวเลขต่างๆก็ไปในทิศทางเดียวกัน เช่น ค่าเงิน 10years treasury bond และตลาด ดาวน์โจนก็ปรับตัวลง ดูแล้วคือ คนอเมริกาเอาเงินออกจากสินทรัพย์เสี่ยงต่อเนื่องครับ ทำให้ตลาดหุ้นโดนกดดันจาก fundflow อีกครั้ง ประกอบกับวันนี้ช่วงบ่ายมีแรงขายออกมาราวๆ 3-4 พันล้านในหุ้นกลุ่ม set 50 ครับ(สังเกตุจากใน list เห็นกระพริบกันค่อนข้างถี่มาก)น่าจะเป็นจากทางต่างชาติ สรุปสิ้นวันรายย่อยโดนรุม 3-1 จะดอยไม่ดอยวันจันทร์น่าจะรู้กันครับ
          แนวโน้มตลาดน่าจะลงต่อเนื่องครับ อาจรอรับแถวแนวรับบ้างเพื่อลุ้นรีบาวน์ได้ครับ และถ้ารับอยู่ที่แนวรบใหญ่ไหน ก็อาจจะออกแนว sideway ไปได้ครับ
          ความเห็นส่วนตัว : คาดว่าตลาดอาจจะปรับตัว sideway มากกว่า โดยน่าจะอยู่บริเวณ 1400-1450 ซึ่งน่าจะพอเหมาะกับมูลค่าหุ้นของบ้านเรา ณ ปัจจุบัน แต่บอกไว้ก่อนนะครับว่าไม่มี Mos ให้นักลงทุนเท่าใดนัก หากต้องการลงทุนจริงๆรอหลังจากที่อะไรๆชัดเจน ตอน FED แถ-ลง taper QE ในวันที่ 17-18 กย นั่นแหละครับที่น่าจะกำหนดทิศทาง ตลาดอย่างชัดเจน.... แต่ที่ผมติดใจอยู่คือเรื่อง สัญญาสะสม tfex ของกองและหรั่งมากกว่าครับ ที่ทำให้มองเป็น sideway ไม่ค่อยถนัด

Trading stratgy : ลดพอร์ตลง และอาจจะลองเข้าเก็งกำไรแถวแนวรับใหญ่ได้ ถ้าเก็งกำไรระยะสั้นก็เน้นรายตัวดูครับ
แนวโน้มตลาด : รอให้ FED แถลงให้ชัดเจนและรอดูการตอบรับจากตลาด อาจขึ้นหรือลงก้ได้ เพราะตลาดได้รับข่าวไปบ้างแล้ว แต่มีมุมมองทางลงมากกว่า

วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เรียนรู้ TFEX (1)

         ตามที่เคยกล่าวมาในบทความก่อนๆมาแล้ว เราจะทราบว่าในตลาดการลงทุนไม่ได้มีเพียงการลงทุนเพียงแค่การซื้อ-ขายหุ้นเท่านั้น แต่มีผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนอีกมากมายหลายชนิด หนึ่งในนั้นก็คือ TFEX หรือ Thailand Future Exchange นั่นเอง และเราจะมาเล่าความเป็นมาของ tfex โดยคร่าวๆกันก่อนเพื่อให้รู้ที่มา และจุดประสงค์ของการมี tfex นี้เพื่ออะไร
         คงต้องย้อนกลับไปสมัยก่อนที่ตลาดหุ้นมีเพียงแค่การซื้อ-ขายหุ้นเพื่อลงทุนเท่านั้น ดังนั้นเมื่อตลาดหุ้นตกการถือหุ้นนับช่วงที่ตลาดตกนั้นนับเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง จึงได้เกิดมีลักษณะการตกลงระหว่างคู่สัญญาด้วยกันเอง ระหว่างธนาคารพาณิชย์กับผู้ประกอบการที่ต้องการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นเพื่อป้องกันความเสี่ยงจากการผันผวนหลังจากที่มีการส่งมอบสินค้าและชำระราคากันในอนาคต โดยสมัยก่อนจะมีการทำสัญญา Future อัตราแลกเปลี่ยนเงิน หรือดอกเบี้ยเท่านั้น แต่ภายหลังได้นำมาใช้กับตลาดหุ้นใน SET50 จนกระทั่งมาถึงตัว Single stock future (SSF) ในที่สุด
         อย่างไรก็ดีแม้การนำสัญญา future มาใช้ในตลาดหุ้นก็ตาม แต่จุดประสงค์หลักที่นำมาใช้ก็ไม่ได้แตกต่างกันมากนัก โดยมีไว้เพื่อบริหารความเสี่ยงในการถือหุ้นของนักลงทุนในช่วงตลาดขาลง เนื่องจากในสมัยก่อนการซื้อขายหุ้นโดยปกตินั้นจะมีการทำกำไรกันได้เฉพาะตลาดขาขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็ไม่เป็นปัญหาใดหากตลาดมีการปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่เมื่อถึงช่วงขาลงหรือมีการปรับตัวอย่างรุนแรงของตลาด เมื่อตลาดยิ่งลงหนักคนก็ยิ่งขายหนีทิ้งทำให้ตลาดตกมากกว่าที่ควรจะเป็น ซึ่งจุดนี้จะทำให้นักลงทุนเสียโอกาสในการถือหุ้นของตน และทำให้เกิด Panic ของนักลงทุนกันได้ง่าย แต่เมื่อมี tfex มาช่วยบริหารความเสี่ยงทำให้นักลงทุนสามารถ ลดความเสี่ยงในการเสียโอกาสจากการตกลงของตลาดได้และยังช่วยไม่ให้ตลาด Panic จนตกลงมากเกินไปนั่นเอง
         แต่อาจจะด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป ประกอบกับความคึกคักที่สูงขึ้นของตลาด tfex ทำให้สินค้าตัวนี้เป็นที่นิยมสูงขึ้น และมีสภาพคล่องที่มากขึ้น โดยปริมาณส่วนใหญ่ในตลาด Tfex จะมาจากตัวสินค้า Future SET50 และก็เป็นสินค้าหนึ่งที่นักเก็งกำไรและกลุ่มบริษัทหลักทรัพย์เข้ามาหาผลกำไรจากความผันผวนของตลาดแห่งนี้ ซึ่งถ้าแบ่งตามกลุ่มผู้เล่นที่มีอยู่ในตลาดแล้ว กลุ่มที่ได้เปรียบที่สุดน่าจะเป็นกลุ่มสถาบัน เพราะเป็นกลุ่มที่รู้การเคลื่อนไหวของตลาดได้ดีที่สุดและไม่ต้องเสียค่าคอมมิชชั่นในการเทรดอีกด้วย

         ด้วยจุดประสงค์ที่ผิดเพี้ยนไปจึงขึ้นอยู่ที่ว่าเราจะใช้ Tfex เพื่ออะไร ซึ่งจะส่งผลให้วิธีการเล่นและระบบที่ใช้ก็จะต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน

วันอาทิตย์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 14/7/2556

          ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ถือว่าเป็นช่วงพลิกผันพอสมควร โดยจุดพลิกผันหลักน่าจะมาจากเรื่องที่ FED ประกาศคงที่อัตราดอกเบี้ย และแถลงว่าจะยังคงไม่ลดอัตราการออก QE ในช่วงระยะนี้ (แต่ผู้เขียนคาดว่าน่าจะเรื่มส่งสัญญาณลดอีกทีในช่วงเดือน ก.ย.) ส่งผลให้เงินเริ่มกลับไปหาผลตอบแทนกันต่อไป โดยที่เริ่มมีสัญญาณจากราคาน้ำมัน ซึ่งมาปัจจัยมาจากปริมาณการสำรองน้ำมันดิบของสหรัฐลดลงมากกว่าที่คาดการณ์กันไว้ ประกอบกับปัญหาทางอิยิปต์ก็ยังไม่คลี่คลาย ทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น และมีโอกาสไปทดสอบที่ 110 US/บาเรลได้



          ประกอบกับค่าเงินดอลที่เริ่มอ่อนค่าลงมาทันทีหลังจากการแถลงของนายเบอนันเก้ ทำให้มองว่าน่าจะมีเงินไหลออกเพื่อไปหาผลตอบแทนที่อื่นไปก่อน แต่คงไม่ใช่ปริมาณที่มากนักและคงไม่ใช่การลงทุนในระยะที่น่าจะนานซักเท่าใดนัก เพราะอย่างไรเสียเงินส่วนนั้นก็ต้องกลับมาที่เดิมอยู่ดี


          ต่อไปจะมามองแนวโน้มของตลาดผ่านกราฟ Set กันครับ



          จากรูปกราฟ Set ใน TF day ถือได้ว่ากราฟค่อนข้างสวยทีเดียวครับ ปรับตัวมายืนเหนือเส้น 25 วัน และสัญญาณเส้น EMA 5 ตัดขึ้นเหนือ EMA 10 วันได้ MACD สัญญาณเริ่มแข็งแรงขึ้น แต่ก็ยังต่ำกว่าเส้น 0 อยู่ดี สัญญาณ ADX เริ่มลู่เข้าหากันแล้วน่าจะมีแรงส่งต่อไปได้ครับ โดยมองแล้วน่าจะมีการทดสอบแนวต้านที่ 1470 ครับ ถ้ายืนได้อาจจะมีโอกาสไปต่อ แนวต้านใหญ่ที่มองไว้น่าจะราวๆ 1560 ครับ
          ส่วนกราฟ Week รูปกราฟยังดูไม่ค่อยสดใสนัก แต่ก็เริ่มมีสัญญาณการชะลอการปรับตัวลง ถ้าดูจากแท่งเทียนถือได้ว่าเริ่มมีกำลังซื้อสูงกว่าแรงขายบ้างแล้ว เพราะเกิด Hammer ที่หางค่อนข้างยาว ทำให้มองแล้วอาจจะเริ่มเห็นการกลับตัวได้บ้าง
          ถ้ามองแนวโน้มการลงทุนช่วงนี้จะเห็นว่า กลุ่มพลังงานที่ขึ้นมาเป็นตัวนำตลาดครับโดยสาเหตุหลักก็มาจากการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก กลุ่มรองลงมาคือกลุ่มธนาคาร ที่น่าจะเก็งผลประกอบการในช่วงนี้ ประกอบกับแรงขายจากกลุ่มต่างชาติก่อนหน้านี้เริ่มเบาบางลงทำให้ปัจจัยที่กดดันตลาดช่วงนี้น้อยลง จึงมองแล้วน่าจะเห็นการปรับตัวขึ้นของตลาดได้ในสัปดาห์หน้าครับ แต่อาจจะเป็นการเล่นรอบที่ไม่ยาวนานนัก อย่างที่เกริ่นไปตรงแถวเรื่องค่าเงิน จึงมองการกลับมาของเงินส่วนนี้เป็นเพียงส่วนน้อยที่มาหากำไรจากตลาดหุ้นและมีระยะการลงทุนที่ไม่ยาวนานนัก เพราะในระยะกลางเงินเหล่านี้ต้องถูกนำออกจากระบบอยู่แล้ว หากมีการยกเลิก QE

Trading strategy : ซื้อเก็งกำไรระยะสั้น ในหุ้นขนาดกลางเล็ก-เล็กเนื่องจากยัง laggard จากการขึ้นของตลาดอยู่ ให้ดูแนวโน้มในกลุ่มนำตลาด คือพลังงานและ ธนาคารครับ
ปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น : แรงขายทำกำไรของนักลงทุนรายย่อยระยะสั้น
ปัจจยกดดันตลาดระยะกลาง-ยาว : การลดและถอน QE

วันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

แนวคิดในการลงทุน

          จากที่เคยได้เอ่ยถึงนักลงทุนรูปแบบต่างๆมาแล้ว ตามบทความ นักลงทุนกับความเสี่ยง ต่อจากนี้จะมาพูดถึงการประยุกต์แนวคิดของนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในตลาดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตลาดครับ

          สำหรับแนวทางในการลงทุนจะแบ่งได้หลักๆ เป็น2 แนวทางตามที่ทุกท่านได้ทราบกันดี คือแนวเก็งกำไร หรือ speculate (+technical ซึ่งผมจะรวม 2 แบบนี้ไปด้วยกันในบทความนี้ครับ) กับแนวพื้นฐาน หรือ Fundamental (+VI จะรวมเข้าไว้เช่นกันครับ) โดยพื้นฐานในการลงทุนทั้ง 2 แนวทางนี้คล้ายๆกันครับ คือ ซื้อที่ถูกและขายเมื่อแพง หรือขายแพงเพื่อไปซื้อถูกสำหรับผู้เล่น short / SBL / Put DW ครับ
          แต่นิยามของคำว่าถูกหรือแพงของการลงทุนทั้ง 2 แนวทางนี้กลับต่างกันอย่างสิ้นเชิง สาเหตุก็เนื่องมาจากมุมมองที่แตกต่างกันในการลงทุนครับ
          -สำหรับนักเก็งกำไรที่ชำนาญในตลาดจะสามารถทำกำไรได้ทั้งในขาขึ้นและขาลงของตลาด โดยในขาขึ้นจะสนใจที่ราคาหุ้นเป็นหลัก ความถูกของราคาจะอยู่ที่ว่าราคาที่ซื้อในวันนี้จะถูกกว่าราคาที่ซื้อในวันหน้า นักเก็งกำไรจึงไม่มีความกลัวที่จะซื้อหุ้นในราคาที่สูง เพราะเชื่อว่าแม้จะซื้อมาแพงก็สามารถนำไปขายที่ราคาแพงกว่าได้ ส่วนการทำกำไรในขาลงนั้น ก็จะทำตรงกันข้ามคือจะเริ่มจากการขาย ที่ราคาสูงก่อน แล้วไปรับซื้อคืนที่ราคาต่ำ โดยจะได้หุ้นเท่าเดิมแต่มีเงินที่ถือมากขึ้นครับ นักเก็งกำไรที่ดีจะต้องเป็นผู้ที่มีระบบและวินัยในตัวเองที่ดีครับ เพื่อให้ทำกำไรได้มาก ในขณะที่ต้องให้ขาดทุนน้อยที่สุด จังหวะการเข้าออกมักจะใช้กราฟเป็นตัวบอกจังหวะทั้งขาขึ้นและลง เช่น MACD Bolinger Stochastic EMA RSI ADX เป็นต้น
          -สำหรับแนวพื้นฐานจะดูความถูกของกิจการเป็นหลักครับ การเข้าซื้อของแนวพื้นฐานจะต้องมีการวิเคราะห์ตัวกิจการอย่างดี เพื่อหามูลค่าที่เหมาะสมของกิจการนั้น และยิ่งถ้ามี Margin of safety  ด้วยจะดีมาก ดังนั้นนักลงทุนสายพื้นฐานมักจะซื้อหุ้นราคาถูกๆในกิจการที่มักไม่มีคนในตลาดสนใจกัน ทำให้สามารถซื้อได้ในราคาที่ถูก และต่อให้ราคาลดลงไปก็จะซื้อเพิ่มเข้าไปอีก แล้วก็รอจนเมื่อกิจการแสดงศักยภาพออกมา ราคามันก็จะมุ่งไปหาผลประกอบการเองครับ ค่าที่ชาวพื้นฐานให้ความสำคัญ เช่น P/E P/BV PEG ROA ROE MOS อัตราการปันผล จนถึงงบการเงิน และรายงานประจำปี
       
          เมื่อเรารู้ถึงลักษณะการลงทุนแต่ละแบบแล้วเราจึงควรรู้ด้วยว่าการลงทุนแบบไหนเหมาะกับสภาพตลาดแบบใดเพื่อให้เราสามารถทำกำไร และอยู่รอดได้ในตลาดแห่งนี้ครับ
          เราจึงต้องทราบก่อนว่าในตลาดนั้นมีรูปแบบใดบ้าง โดยแนวโน้มหลักจะมีทั้งหมด 3 รูปแบบ คือ
          1.แนวโน้มขาลง downtrend
          2.แนวโน้มขาขึ้น uptrend
          3.ไม่มีแนวโน้มชัดเจน sideway แต่มีแนวรับและแนวต้านที่ค่อนข้างแข็งแรง
          โดยปกติแนวโน้มขาขึ้นและขาลงไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนแนวโน้ม (trend reversal) หรือไปในแนวโน้มเดิม (trend follow) ก็ตาม มักจะมีแนวโน้ม Sideway สำหรับการปรับฐานซักระยะ ก่อนจะมีการวิ่งตามแนวโน้มใหม่ต่อไป ดังนั้นจังหวะที่เราจะเข้าสู่ตลาดเราควรรู้เบื้องต้นก่้อนว่าเราจะเข้าไปอยู่ในช่วงแนวโน้มใด เพื่อให้วางแผนการลงทุนได้

                                                     กราฟ Set TF Week 4/2551-ปัจจุบัน

          ช่วงที่ 1 เป็นช่วง downtrend ค่อนข้างชัดเจน สาเหตุสืบเนื่องจากวิกฤต subprime ถือว่าเป็นวิกฤตจากปัจจัยภายนอกมากระทบโดยตรง ซึ่งถ้าดูกราฟทางเทคนิค จะยิ่งเห็นชัดว่าสัญญาณเริ่มตัดขาลงตั้งแต่แถวๆ 800 ลงมา MACD ตัดต่ำ 0  น่าจะเป็นช่วงที่นักเก็งกำไรไม่น่าจะเข้าตลาดมาทำกำไรนัก เพราะความเสี่ยงค่อนข้างสูง แต่ยังมีการลงทุนในช่วงนี้สำหรับนักเก็งกำไร คือสามารถทำการ short หุ้น หรือ Tfex ตามแนวโน้มได้ ส่วนนักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่อาจจะบริหารความเสี่ยงสำหรับการไม่ขายหุ้นออกมาโดยการ short tfex หุ้นตัวเองหรือ set ไว้ได้ครับ คำนวณปริมาณสัญญาให้พอเหมาะกับมูลค่าหุ้นตัวเองก็พอ
          ช่วงที่ 2 เป็นช่วงที่ต่ำสุดของการตกแล้ว ช่วงนี้จะเป็นช่วงผีหลอกครับซึ่งจะเป็นทุกครั้งหลังจากที่มีการตกอย่างหนักของหุ้น ยิ่งตกหนักมากเท่าไหร่ช่วงนี้ก็ยิ่งยาวมากเท่านั้น เพราะคนมักจะติดหุ้นที่สูงกันหมดแล้วทำให้ไม่มีแรงซื้อ เช่นเดียวกับแรงขายที่หมดเพราะไม่มีคนจะขายแล้วเช่นกัน เป็นช่วง sideway ที่น่าเบื่อมากสำหรับนักเก็งกำไรเพราะเข้าตลาดมาก็ไม่มีกำไรเนื่องจากไม่มีการซื้อขายหุ้นนั่นเอง (นักเก็งกำไรจะมองหากำไรจากการขึ้นลงของหุ้นครับ) แต่ตรงกันข้ามสำหรับนักลงทุนพื้นฐาน จะถือเป็นช่วงที่มีความสุขกับการเก็บหุ้นถูกๆดีๆที่มีอยู่เต็มตลาดได้อย่างสบายใจโดยไม่มีคนมาแย่ง ทำให้ต้นทุนถูกมาก
          ช่วงที่ 3 ช่วงที่เริ่มเป็นขาขึ้น หรือ uptrend ตรงจุดนี้ นักเก็งกำไรจะเริ่มเข้าสู่ตลาดกันแล้ว แต่ขึ้นอยู่กับระบบแต่ละคนจะเข้าช่วงไหนอย่างไร ลักษณะการเก็งกำไรช่วงนี้คือเข้าซื้อหุ้นแล้วถือ let profit run ครับ จนกว่าจะมีสัญญาณขายออกมา ส่วนนักลุงทุน ก็จะถือหุ้นที่ซื้อมาไว้ไปยาวๆเลยครับ จนกว่าราคาจะแพงเกินพื้นฐานมากก็อาจพิจารณาขาย แต่สำหรับนักลงทุนใหม่ที่เพิ่งเข้าช่วงนี้จนถึงก่อน Sideway ในช่วงที่ 4 อาจจะต้องกำหนดจุด cut loss ไว้บ้างในกรณีที่หุ้นมีการเปลี่ยน trend หรือมีการปรับฐานครับ โดยอาจจะใช้เทคนิคอลเข้าช่วยเพื่อกำหนดจุดออกได้ครับ
          ช่วงที่ 4 เป็นลักษณะ sideway ระหว่าง trend เพื่อรอการเปลี่ยนแนวโน้มต่อไป สำหรับนักเก็งกำไร   มักจะทำกำไรในช่วงนี้ได้ค่อนข้างดี เพราะมีแนวรับแนวต้านที่ค่อนข้างแข็ง โดยใช้วิธีซื้อที่แนวรับ ขายที่แนวต้าน ส่วนนักลงทุน ช่วง sideway นี้เหมือนช่วงพักผ่อน ให้ค่อยๆตรวจสอบกิจการและหาบริษัทที่ดีราคาไม่แพง เพื่อปรับพอร์ตหรือเก็บหุ้นดีๆเข้าพอร์ตโดยให้ตั้งรับไว้แถวๆแนวรับหรือสูงกว่าเล็กน้อยก็ได้
          ช่วงที่ 5 เป็นช่วงต่อเนื่องขาขึ้นหลังจาก sideway การเก็งกำไรและการลงทุนก็จะคล้ายๆกับช่วงที่ 3 นั่นเองครับ
          ช่วงที่ 6 เป็นช่วงที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ถือว่าเป็นอีกวิกฤตที่ทำให้ตลาดมีการปรับตัวลงพอสมควร แต่ก็ยังถือว่าเป็นเพียง correction เล็กๆที่อยู่ในแนวโน้มหลักเท่านั้น
          ช่วงที่ 7 นับเป็นช่วงที่อันตรายที่สุดสำหรับมือใหม่ที่เข้าสู่ตลาด และมักจะเป็นช่วงที่ตลาดเฟื่องฟูทำให้หน้าใหม่ที่เข้ามาแล้วไม่เท่าทันตลาดพลาดติดหุ้นราคาสูงกันได้ง่าย และราคาหุ้นก็สูงเกินปัจจัยพื้นฐานกันมาแล้ว จนถึงขนาดที่ว่าบทวิเคราะห์ต้องนำค่า P/E forward มาใช้เพื่อผลักดันตลาด ซึ่งเป็นหลักการลงทุนที่ไม่ถูกต้องนัก โดยในช่วงนี้สำหรับนักเก็งกำไร การที่ตลาดขึ้นสูงเพียงใดนั้นไม่เป็นปัญหาต่อการเก็งกำไรเลยเพราะถือคติว่าซื้อแพงเพื่อไปขายที่แพงกว่าได้และหากผิดพลาดก็จะ stop loss ทันที ในทางตรงกันข้ามกับช่วงที่2ที่ตลาดกำลังคึกสุดขีดจะเป็นช่วงที่นักเก็งกำไรทำกำไรได้ง่ายที่สุด เพราะมีปริมาณการซื้อขายมหาศาล ทำให้สามารถทำราคาเพื่อหากำไรจากรายย่อยได้ง่าย และยิ่งเมื่อมีการปรับฐานลงรายย่อยก็ยังมารับของต่อทำให้ความเสี่ยงน้อยลงไป ส่วนนักลงทุน ในช่วงนี้จะเป็นช่วงที่นักลงทุนเริ่มกลัวที่สุด เพราะในราคาหุ้นบางตัวมีราคาที่แพงขึ้นมากจึงไม่มีการซื้อหุ้นเพิ่มเติมเพื่อการลงทุนอย่างแน่นอน และอาจจะมีการพิจารณาปรับพอร์ตโดยขายทำกำไรออกมาบางส่วนด้วยซ้ำ จนเมื่อตลาดเริ่มมีการปรับฐานก็ใช้วิธีบริหารความเสี่ยงเช่นเดียวกับชาลงได้เช่นกัน แต่ถ้าเป็นเพียงการปรับฐานเล็กๆอาจจะไม่มีการ sap หรือซื้อหุ้นกลับก็ได้ครับ

          โดยสรุปช่วงที่สำคัญๆ สำหรับนักเก็งกำไร และนักลงทุน คือช่วงที่ 2 และช่วงที่ 6-7 ถือว่าเป็นจุดแบ่งที่ค่อนข้างชัดเจนสำหรับนักลงทุนทั้ง 2 สายนี้ จากประสบการณ์ของผู้เขียนแล้วจากที่ได้เข้าตลาดมาที่ระดับราคาที่ค่อนข้างสูงจึงค่อนข้างที่จะ sensitive กับการที่จะรักษาต้นทุนไว้ และเก็บกำไรได้เมื่อมีโอกาสประกอบกับเมื่อมองในพื้นฐานหุ้นทั้งหลายก็มีความเห็นว่า ราคาหุ้นสูงเกินมูลค่าไปทั้งตลาด โดยคร่าวๆหลังตลาดขึ้นไปถึง 1600+ ค่า P/E ก็ขึ้นไปเกือบ 17 เท่า และผลตอบแทนก็ลดต่ำจนเหลือเพียง2-3% เท่านั้น จึงตัดสินใจใช้ลักษณะการเข้าตลาดแบบเก็งกำไรในช่วงที่(7)ผ่านมา ดังนั้นเมื่อถึงจุดที่สัญญาณขายมาจึงต้องขายตามระบบครับ ทำให้สามารถรักษาเงินต้นและกำไรไว้ได้ จึงมาแชร์ประสบการณ์ไว้ให้ ณ ที่นี้
          ช่วงต่อไปนี้เมื่อเกิดการปรับฐานแล้วก็มองแล้วน่าจะเป็นการ sideway ซักระยะเพื่อเลือกแนวโน้มต่อไป และผู้เขียนก็หวังว่าทุกคนคงเอาบทความนี้ไปใช้ประโยชน์ประกอบการลงทุนได้ครับ

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

จุดเริ่มต้นการลงทุน

          ก่อนอื่นเราควรทำความเข้าใจก่อนว่าทำไมเราจึงควรต้องมีการลงทุน สาเหตุก็สืบเนื่องมาจากการที่โลกของเรานั้นมีคำว่าเงินเฟ้อครับ ก็ขออธิบายสักเล็กน้อยสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้ว่าเงินเฟ้อนี้คืออะไร ถ้าเปรียบเทียบง่ายๆก็คือมูลค่าของเงินที่ใช้ซื้อของได้น้อยลง หรือซื้อต้องใช้เงินมากขึ้นในการซื้อของปริมาณเท่าเดิม ตัวอย่างเช่น ตัวเลขเงินเฟ้อที่ 2% สมมุติปีนี้เราซื้อาหาร 1 จานที่ 100 บาท แต่ในปีหน้าเราจะซื้ออาหาร 1 จานเราต้องใช้เงิน 102 บาทเพื่อซื้อหาร 1 จานเท่าเดิมครับ จากตัวอย่างเราจะเห็นได้ว่าหากเราถือเงินไว้เฉยๆโดยไม่นำเงินไปลงทุนหรือต่อยอดเงินนั้น มูลค่าของเงินจะลดลงเรื่อยๆครับ
          คำถามต่อมาคือเราจะลงทุนอย่างไรดี ในกรณีที่แย่ที่สุดสำหรับการลงทุนที่เราควรพิจารณาคือ การลงทุนนั้นต้องไม่ให้ผลตอบแทนที่แย่กว่าเงินเฟ้อ เพื่ออย่างน้อยมูลค่าเงินที่เรามีในปัจจุบันจะไม่ลดลงอย่างแน่นอนในอนาคตครับ

          *** บทนำ : บทความต่อจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับการลงทุนไม่ใช่การเก็งกำไรครับ การลงทุนจึงหมายถึงเงินเย็นที่ไม่ได้ใช้และมีระยะเวลาลงทุนที่ค่อนข้างยาวครับ ***

          การลงทุนนั้นจะมีมากมายหลายแบบให้เลือกสรรค์ครับ ซึ่งเราอาจจะเคยได้ยินคำว่า High Risk- High Return กันมาบ้างไม่มากก็น้อย ซึ่งมันก็เป็นจริงในตลาดเงินครับ โดยการลงทุนจะแบ่งคร่าวๆเป็นประเภทใหญ่ๆดังนี้
          1.การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เป็นการลงทุนที่ค่อนข้างมีความแน่นอนที่สุดในเรื่องของการคงมูลค่าสินทรัพย์ โดยที่มูลค่าจะเติบโตขึ้นตามทำเลที่ตั้งและอัตราการเติบโตของพื้นที่โดยรอบ อัตราเติบโตขึ้นต่ำก็ควรเป็นไปตามการประเมินมูลค่าที่ดินซึ่งจะมีการประเมินราคาใหม่ทุกๆ 4 ปี และส่วนมากราคาก็มักจะปรับตัวขึ้นไปเรื่อยๆ  ข้อดีของการลงทุนนี้คือ มีความเสี่ยงค่อนข้างน้อย ส่วนข้อเสียก็คือ อาจต้องใช้เงินลงทุนที่ค่อนข้างสูง หรืออาจต้องรอจนกว่าจะมีการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ ซึ่งจะใช้เวลาค่อนข้างนานทีเดียว แต่ผลตอบแทนก็มักจะคุ้มค่าครับ
          2.การลงทุนในเงินฝากหรือเงินกู้ การลงทุนในเงินฝากของสถาบันการเงินก็เหมือนกับเราเอาเงินไปให้ธนาคารยืมเพื่อไปใช้จ่ายหมุนเวียนในกิจการแล้วตอบแทนเราด้วยเงินดอกเบี้ยนั่นแหละครับ ส่วนพวกเงินกู้ ขอให้ทุกท่านไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ดอกเบี้ยกับผลตอบแทนในตลาดหุ้น ครับ
          3.การลงทุนในตลาดทุน ถือเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงกลางๆ โดยจะมีการลงทุนโดยเป็นผู้ถือหุ้นในตลาดหรือการไปซื้อกองทุนรวมก็ได้ครับ โดยส่วนนี้จะพูดถึงแนวทางสำหรับนักลงทุนครับ
          สำหรับคนที่อาจจะไม่มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจในตลาดหุ้นและไม่มีเวลาติดตามตลาด การลงทุนในเบื้องต้นที่ง่ายและสะดวกที่สุดคือการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นครับ (ไม่นับกองทุนทอง น้ำมัน หรือกองทุนบริหารความเสี่ยงอื่นๆนะครับ) โดยกองทุนรวมจะมีผู้จัดการกองทุนที่มีความรู้ความสามารถที่จะมาบริหารเงินลงทุนให้เหมาะสมครับขึ้นอยู่นโยบายการลงทุนของกองทุนแต่ละกอง โดยมากแล้วมูลค่ากองทุนมักจะมีผลตอบแทนไปในทิศทางเดียวกับตลาด
          หลายๆท่านอาจมีคำถามว่าแล้วถ้าตลาดเป็นขาลงละกองทุนที่เราถืออยู่มูลค่าไม่ลดลงด้วยหรือ คำตอบคือลดลงเช่นเดียวกับผู้ที่ลงทุนด้วยตัวเองในหุ้นครับ แต่จากการศึกษาของ เบนจามิน เกรแฮม แล้วมีคำตอบสำหรับการแก้ปัญหานี้ให้ โดยการลงทุนในธุรกิจที่ดีและเหมาะสมเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเพียงพอผลตอบแทนที่ได้จากตลาดจะค่อยๆเพิ่มพูนขึ้นไปเรื่อยๆในระยะยาวครับ เพียงแต่ตลาดหุ้นมักจะมีช่วงที่ฮึกเหิม หรือหดหู่จนเกินควรแค่นั้นเอง ดังนั้นจึงได้มีการออกแบบวิธีการลงทุนที่เรียบง่ายแต่ได้ผล นั่นก็คือ DCA นั่นเองครับ
          DCA (Dollar Cost Average) เป็นวิธีที่ตัดปัญหาเรื่องอารมณ์และเหตุผลในการจับจังหวะการซื้อหุ้นทั้งหมดทิ้งไป โดยการกำหนดง่ายๆว่า เราจะลงทุนเป็นเงิน......บาท ในทุกๆ.... (วัน สัปดาห์ เดือน ปี) ก็แล้วแต่ความสามารถในการเก็บออมเงินทุนของแต่ละคน ซึ่งการลงทุนรูปแบบนี้การลงทุนในช่วงที่ราคาหุ้นต่ำเราก็จะลงทุนได้หุ้นมากขึ้นที่เงินเท่ากัน แต่เราจะได้หุ้นน้อยลงเมื่อราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นการลงทุนในช่วงที่หุ้นราคาถูกจะมาถัวเฉลี่ยกับช่วงที่ราคาหุ้นสูงได้ทำให้มูลค่าหุ้นเป็นไปตามแนวโน้มการเติบโตของตัวบริษัทได้ ประกอบกับตรรกะง่ายๆที่ว่า ตราบเท่าที่กิจการยังเติบโตไปได้ราคาหุ้นและผลตอบแทนย่อมต้องเติบโตไปด้วยเช่นกัน แต่ส่วนนี้นักลงทุนต้องใช้ความรู้ความสามารถในการเลือกหุ้นที่ดีเข้าพอร์ตด้วยตนเอง ต่างจากผู้ถือกองทุนรวมที่จะมีผู้บริหารกองทุนจัดการให้อยู่แล้ว หากไม่ต้องการความเสี่ยงในการลงทุนมากนักก็ลงทุนได้ในหุ้นใหญ่ของตลาดได้ เช่น SET50 SET100 เป็นต้น
          ส่วนการลงทุนในตลาดทุนรูปแบบอื่นที่นิยมกันอย่างสูงก็คือแนว VI (Value Investor) หรือที่เรียกว่านักลงทุนเน้นคุณค่านั่นเอง เป็นการลงทุนโดยเทียบกับการซื้อมูลค่ากิจการต้องมีมูลค่า หรือการเจริญเติบโตที่ดีในอนาคตโดยราคาต้องสมเหตุสมผลหรือมีส่วนต่างความปลอดภัย (Margin of Safety) สำหรับมูลค่าหุ้นนั้น มาก-น้อยแล้วแต่แนวการลงทุน-การรับความเสี่ยงของแต่ละท่าน
         จริงๆแล้วสำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นคนส่วนมากมักจะโดนความโลภเข้าครอบงำเมื่อเข้ามาอยู่ในตลาด สาเหตุก็เพราะมักมีคนอื่นมาโอ้อวดหรือเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับการได้กำไรจากการเล่นหุ้น ทำให้คนที่ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนน้อยหรือขาดทุนเกิดความไขว้เขวในการลงทุนไปสู่การเก็งกำไรได้ โดยเราไม่ได้มองอีกมุมหนึ่งว่าคนที่กำไรนั้นชอบโอ้อวด แต่ก็มีคนที่ขาดทุนนั้นแต่ไม่กล้าออกตัวเพราะเหมือนกับแสดงว่าตัวเองไม่มีฝีมือในตลาดหุ้นเช่นกัน
         ดังนั้นสำหรับนักลงทุนที่แท้จริงแล้ว การลงทุนอยู่สม่ำเสมอในหุ้นที่ดีไม่ว่าตลาดจะเป็นเช่นไรก็ตามคุณจะได้ผลตอบแทนที่ดีแน่นอน เพียงแต่ส่วนใหญ่คนมักจะเจ็บตัว และมีทัศนคติที่ไม่ดีต่อตลาดหุ้น ทำให้หันหลังจากการลงทุนเสียหมด จนไม่อาจประสบความสำเร็จในการลงทุนได้
       
         บทสรุปสำหรับการลงทุนนี้ ไม่ว่าจะลงทุนในรูปแบบใดล้วนมีผลตอบแทนทั้งสิ้นเพียงแต่ลงทุนให้ถูกจังหวะ ถูกเวลา และถูกที่ เราก็จะได้ผลตอบแทนที่เหมาะสมกับแผนที่เราตั้งไว้ครับ อย่าลืมนะครับ เงินเก็บไว้เฉยๆมันด้อยค่าลงทุกวัน ให้มันออกไปทำงานซะบ้างครับ

วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิเคราะห์ตลาด 7/7/2556

นับจากวันที่มีข่าว เรื่องประกาศอัตราการจ้างงานนอกภาคการเกษตรออกมาที่ 195,000 อัตรา สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ที่ 165,000 แม้ว่าอัตราการว่างงานจะคงไว้ที่ 7.6% ก็ตาม แต่ในแง่ความรู้สึกแล้วมองได้ว่าเศรษฐกิจทางสหรัฐเริ่มเติบดีขึ้นทำให้มีความกังวลเรื่อง อาจจะมีการชะลอ QE เร็วขึ้นกว่าเดิม โดยตลาดต่างๆได้เริ่มตอบรับต่อข่าวนี้แทบจะในทันที

เริ่มจากตลาดเงิน อัตราแลกเปลี่ยน USD ต่อเงินสกุลอื่นๆแข็งค่าขึ้นทันทีครับ เช่น บาท ยูโร  และเยน โดยมีแนวโน้มเดียวกันในค่าเงินอื่นเช่นกัน






ทำให้มองเห็นแนวโน้มการไหลกลับของเงินดอลลาร์อย่างชัดเจนในทุกๆตลาด ดูแนวโน้ม future ของตลาดอื่นๆก็เป็นไปในทิศทางลงอย่างชัดเจนครับ
เมื่อดูแนวโน้มของตลาด ดาวโจนส์ ที่บวกขึ้นไปถึง +147.29 ปิดที่ 15135.84  ประกอบกับ อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร 10ปีที่ขึ้นไปที่ 2.72% ทันทีที่ข่าวออกมามา

จึงมองเห็นแนวโน้มค่อนข้างชัดเจนของเงินดอลล่าร์แล้วว่าน่าจะมีการไหลกลับของเงินอย่างแน่นอน สาเหตุเพราะการกังวลเรื่อง QE ที่ทำให้คนต้องรีบลดความเสี่ยงโดยการกลับไปถือเงินดอลไว้ก่อนและนำไปลงทุนต่อในรูปของเงินดอลเช่นตลาดหุ้น หรือ พันธบัตรของสหรัฐนั่นเอง โดยเป็นการลงทุนเพื่อรอเวลาที่จะดึงเงิน QE ออกจากระบบต่อไป

สำหรับแนวโน้มตลาดในอาทิตย์หน้า จะมีแรงกดดันตลาดจากปัจจัยการไหลเงินกลับของเงินอย่างแน่นอนครับ โอกาสตลาดจะสดใสโอกาสคงมีไม่มาก เพราะตอนนี้ยอดเงินของต่างชาติที่อยู่ในตลาดหุ้นบ้านเราก็ยังมีอีกพอสมควร (Net 120,000 M ไม่รวมมูลค่าเพิ่มจากตลาดปรับตัวสูงขึ้น) ตอนนี้จึงน่าจะมองแรงขายของต่างชาติเป็นหลักครับ อยู่ที่ว่าจะมีการเทขายลักษณะใด ถ้าค่อยๆลงสวยก็ดีไปครับ ตลาดไม่ค่อย Panic แต่ถ้าลงแบบแรงๆน่าจะเกิด panic ตามมาแน่นอนจึงขึ้นอยู่กับว่าจะมีการขายในลักษณะใด เพราะไม่ใช่แต่ทางฝั่งเราเท่านั้นต่างชาติก็มี panic เช่นกันครับซึ่งไม่มีใครยอมขาดทุนกว่าใครแน่นอน
แต่อย่างไรก็ดียังพอมีพระเอกในสถานการณ์นี้อยู่บ้างครับ เท่าที่มองเห็นน่าจะเป็นกลุ่มพลังงานครับ เพราะราคาน้ำมันมีการปรับตัวสูงขึ้นเป็น 103.49 ต่อบาเรล โดยสาเหตุหลักมาจากการจราจลยืดเยื้อในอิยิปต์ครับ แต่เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว น่าจะพอยันตลาดได้บ้างเล้กน้อยแต่อย่าคาดหวังอะไรมากครับ

ช่วงนี้แนะให้ดูทิศทางตลาดไปก่อนครับ ยังไม่ต้องรีบเข้าตลาดปัจจัยลบยังมีเยอะกว่าปัจจัยบวกครับ ต่อให้ตลาดขึ้นได้ก็ไปได้ไม่ไกล ยังดูมีความเสี่ยงอยู่ค่อนข้างมาก ยังมองว่ามีโอกาสลงต่ออยู่ครับ

Trading strategy : wait and see
ปัจจัยกดดันตลาดระยะสั้น : Fundflow ไหลออก

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ดอกเบี้ยกับผลตอบแทนในตลาดหุ้น

          คงปฏิเสธไม่ได้ว่าการที่แต่ละคนเข้ามาลงทุนนั้นต้องการผลตอบแทนอย่างแน่นอน แต่เราจะทราบได้อย่างไรว่าการลงทุนแบบไหนจะให้ผลตอบแทนอะไรบ้างและคุ้มค่ากับความเสี่ยงที่มีหรือไม่ ดังนั้นเราจึงควรทำความรู้จักของผลตอบแทนในการลงทุนแบบต่างๆกันเพื่อให้เราจัดสรรค์เงินลงทุนของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          โดยเราจะเริ่มต้นจากผลตอบแทนของการลงทุนในแต่ละแบบก่อน โดยเริ่มจากดอกเบี้ย ผลตอบแทนของดอกเบี้ยจะเป็นสิ่งที่ทุกคนค่อนข้างคุ้นเคยกันอยู่แล้ว เพราะได้พบเจออยู่ประจำในชีวิตประจำวัน โดยนิยามของดอกเบี้ยก็คือการที่เรานำเงินของเราไปให้แก่ผู้ที่ต้องการใช้(ผู้กู้)นำเงินของเราไปเพื่อลงทุนหรือหาผลประโยชน์ โดยให้ค่าตอบแทนแก่เราในรูปแบบของเงินดอกเบี้ย ดอกเบี้ยที่เราได้พบเจออยู่เสมอ เช่น การกู้ยืมระหว่างกัน การฝากธนาคาร การซื้อพันธบัตร และหุ้นกู้ของบริษัทต่างๆ โดยผลตอบแทนและความเสี่ยงที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

          -การกู้ยืมระหว่างกัน ตามกฎหมายแล้วให้คิดดอกเบี้ยได้ไม่เกิน 15% ต่อปี หรือถ้าไม่ได้ตกลงกันไว้ก็ให้ใช้ 7.5%ต่อปี ความเสี่ยงคือ อาจเกิดการเบี้ยวหนี้ได้
          -ฝากธนาคาร ในปัจจุบันทางธนาคารก็ได้มีพัฒนาด้านเงินฝากขึ้นมาหลากหลายเพื่อตอบสนองแก่การลงทุนในระยะต่างๆ ตามแต่ความประสงค์ของผู้ฝากเงินครับ ผลตอบแทนก็แตกต่างไปตามข้อกำหนดของแต่ละที่ ความเสี่ยง ถือว่าค่อนข้างน้อย โดย ณ ปัจจุบันมีการประกันความเสี่ยงของเงินต้นให้ที่ 1 ล้านบาทต่อคนต่อธนาคาร ในกรณีที่ธนาคารเกิดล้มขึ้นมาครับ เรากระจายความเสี่ยงได้โดยการเปิดบัญชีหลายธนาคารได้ครับ
          -พันธบัตร เปรียบเสมือนเราเป็นเจ้าหนี้รัฐบาล ผลตอบแทนจะสูงขึ้นตามอายุพันธบัตรที่มากขึ้นครับ และโดยส่วนมากก็มักจะมีอายุค่อนนาน จึงเหมาะกับผู้ที่ลงทุนระยะยาวครับ ความเสี่ยงแทบจะไม่มี มีเพียงแต่การเสียโอกาสที่จะนำเงินนั้นมาลงทุนอย่างอื่นเท่านั้นเอง
          -หุ้นกู้ของบริษัท ก็คือบริษัทมาของกู้เงินจากเราเพื่อนำเงินไปใช้จ่ายนั่นเอง โดยผลตอบแทนและความเสี่ยงของหุ้นกู้จะขึ้นกับค่า credit rating ของหุ้นกู้นั้นๆ โดยหุ้นกู้ที่ credit rating สูง จะได้ผลตอบแทนต่ำกว่า แต่ความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ ส่วนหุ้นกู้ที่มี credit rating ต่ำจะให้ผลตอบแทนที่สูง แต่มีความเสี่ยงในการผิดนัดชำระหนี้สูง ซึ่งแบ่งได้ดังนี้ AAA , AA , A ,BBB, BB ,B ,C ,D ระดับที่เหมาะแก่การลงทุนขึ้นไปควรอยู่ระดับ BBB ขึ้นไปครับ
          ต่อไปเป็นผลตอบแทนในตลาดหุ้น โดยสมัยก่อนที่ยังไม่มีนวัตกรรมทางการเงินมากมายนัก การลงทุนในตลาดหุ้นจะมีเพียงลักษณะเดียวคือการซื้อ-ขายหุ้นของ บริษัทจดทะเบียนที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ แต่เมื่อเวลาเปลี่ยนไปการลงทุนในรูปแบบเดิมก็เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบสนองต่อการบริหารความเสี่ยง หรือการแสวงหากำไรแก่นักลงทุนมากขึ้นเรื่อยๆ ดังเช่นในตลาดบ้านเราขณะนี้ก็เริ่มมีนวัตกรรมการลงทุนในหลายๆตลาด ได้แก่
          1.ตลาดหุ้น
          2.DW (Derivative Warrant)
          3.ตลาด Tfex
          4.ตลาด Option
          โดยในส่วนนี้จะกล่าวถึงการลงทุนเป็นหลักจึงไม่ขอเอ่ยถึงการเก็งกำไรหรือการบริหารความเสี่ยงในตลาด DW Tfex และ Option ครับ

          ตลาดหุ้น มีผลตอบแทนแก่ผู้ลงทุน 2 ชนิดคือ ส่วนเพิ่มมูลค่าหุ้น (Capital gain) และเงินปันผล (Dividend)
          - Capital gain ปัจจัยที่มีผลต่อราคาหุ้น มี 2 อย่างด้วยกัน คือ ผลประกอบการ ซึ่งเป็นปัจจัยชี้นำมูลค่าหุ้นได้ในระยะยาว และ แรง Demand-Supply ในหุ้นตัวนั้น ซึ่งเป็นปัจจัยชี้นำราคาหุ้นในระยะสั้น ดังนั้นสำหรับนักลงทุนแล้วหากเรามั่นใจว่าหุ้นที่เราคัดสรรค์มาอย่างดีแล้วนั้นจะมีการเติบโตต่อไปในอนาคต ราคาหุ้นในอนาคตย่อมต้องสูงขึ้นด้วยอย่างแน่นอนครับ ซึ่งจะต่างจากนักเก็งกำไรในการลงทุนนั้นหากผู้เข้ามาแสวงหากำไรในราคาหุ้น (capital gain) ย่อมมีความเสี่ยงสำหรับการผันผวนของราคาหุ้นในระยะสั้นครับ
          -Dividend จะมากน้อยขึ้นอยู่กับผลประกอบการ และนโยบายการจ่ายปันผลของบริษัท โดยทั้ง 2 สิ่งนี้จะเป็นปัจจัยสะท้อนไปที่ราคาหุ้นด้วยเช่นกัน โดยนักลงทุนบางท่านก็อาจะเน้นที่ปันผลเป็นหลักอย่างเดียวก็มี หรือที่เรียกกันว่า หุ้นห่านทองคำ นั่นเอง
          โดยเราจะสังเกตุได้ว่า ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยจะคล้ายคลึงกับผลตอบแทนจากเงินปันผลมากทีเดียว แต่หากมองภาพในระยะสั้นแล้วเราจะมองเห็นว่า ผลตอบแทนของเงินปันผลนั้นจะมีค่าเปลี่ยนแปลงไปตามมูลค่าของหุ้น ยกตัวอย่างเช่น
ที่ราคาหุ้น 10 บาท มีเงินปันผลให้ 1 บาท ดังนั้นผลตอบแทนของหุ้นตัวนี้มีค่าเท่ากับ 10% แต่เมื่อราคาหุ้นที่สูงขึ้น กลับจะทำให้ผลตอบแทนในรูปปันผลลดต่ำลง โดยเมื่อราคาหุ้นขึ้นไปที่ 20 บาท หากเราถือตั้งแต่ราคา 10 บาท เราก็จะได้ Capital gain ถึง 100% แต่ผลตอบแทนจากเงินปันผลจะลดลงเหลือเพียง 5% เท่านั้น ผู้เขียนจึงต้องการจะสื่อให้เห็นว่า การที่เราซื้อหุ้นปันผลในราคาที่สูงเพื่อคาดหวังกับเงินปันผลเพื่อเอาชนะอัตราดอกเบี้ยจึงเป็นเรื่องไม่ถูกต้องนัก ยกเว้นแต่เราจะมองว่ากิจการของหุ้นตัวนั้นจะมีการเติบโตที่ดีขึ้นในอนาคตอย่างแน่นอนเพื่อให้เราถือหุ้นเพื่อการลงทุนได้อย่างสบายใจนั่นเอง
          โดยความเสี่ยงสำหรับหุ้นห่านทองคำ ณ ราคาสูงก็คือ การเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะส่งผลต่อราคาหุ้นอย่างเลี่ยงไม่ได้ในกรณีที่หุ้นนั้นไม่ได้มีการเติบโตเพิ่มขึ้นจนทำให้อัตราเงินปันผลสูงขึ้นเมื่อเทียบกับอัตราดอกเบี้ย เมื่อผลตอบแทนน้อยลงก็น่าจะมีการไหลของเงินไปสู่ที่ผลตอบแทนดีกว่าและปลอดภัยกว่าครับ

          ส่วนตัวผู้เขียนมองว่า ณ ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยน่าจะเป็นจุดต่ำสุดแล้ว และเริ่มมีสัญญาณขึ้นบ้างแล้วใน bond ของทางสหรัฐ ผู้เขียนจึงเขียนบทความนี้เพื่อเป็นอีกปัจจัยในการตัดสินใจเลือกหุ้นในการลงทุนครับ

วันพุธที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

นักลงทุนกับความเสี่ยง

          เป็นคำพูดที่มีมาช้านานแล้ว และมันก็เป็นจริงในระดับหนึ่งครับ แต่สิ่งเหล่านี้จะมีผลน้อยลงกับนักลงทุนผู้ช่ำชองในตลาดความเสี่ยงจะลดน้อยลงตามความสามารถที่เพิ่มขึ้น โดยจะแบ่งความเสี่ยงเป็นแนวคิดได้ตามแนวการลงทุน ก็คือ

          1.แนวเก็งกำไร (Speculate)  คติประจำใจ : มีกำไรที่ไหนไปที่นั่น ,ซื้อแพงเพื่อไปขายแพงกว่า
          เป็นนักลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงสุด มีลักษณะการเล่นหุ้นตามข่าวหรือตามกระแสทุกอย่าง แต่มีการจำกัดความเสี่ยงโดยการ Cut loss ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่สุดสำหรับนักลงทุนแบบนี้ครับ โดยนักเก็งกำไรก็ยังแบ่งเป็นหลายระดับตามหลักของการเข้าทำกำไร ได้แก่
          - ตามระยะเวลาที่เก็งกำไร เช่น รายวัน รายสัปดาห์ หรืออาจจะเป็นรอบเก็งกำไรในช่วงต่างของปี โดยลักษณะการเข้าเก็งกำไรของกลุ่มนี้จะมี จุดเข้าออกที่ค่อนข้างชัดเจนตามระยะเวลาที่เข้าทำกำไร แต่อาจมีจ้อด้อยที่การทำกำไรอาจไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเท่าใดนัก
          - ตามกระแสเงินทุน Fundflow โดยจะมองตามกระแสเงินทุนต่างชาติเป็นหลัก เพราะถือว่าเป็นกลุ่มที่มีอิทธิพลสูงต่อปัจจัยราคาหุ้นโดยตรง และมีรอบการเข้าออกที่ค่อนข้างชัดเจน มีนักลงทุนไม่น้อยที่อิงกระแสนี้เช่นกัน
          - ตามกระแสข่าวดี/ร้ายที่มีต่อหุ้น ลักษณะนี้มักจะต้องเป็นข่าววงในก่อน และเมื่อกระจายสู่สาธารณะก็จะเป็นช่วงที่หมดรอบไปแล้ว ปริมาณของกำไรขึ้นอยู่กับการเข้าถึงข่าวและความแน่นอนของข่าว
          แต่ไม่ว่าจะเข้าทำกำไรในลักษณะใดก็ตามต้องมีวินัยที่ดีในการ cut loss เสมอไม่ว่า ตลาดจะเป็นเช่นไรก็ตาม และต้องมีการ take profit หรือ protect profit ไว้เช่นเดียวกัน

          2.แนวเทคนิค (Technical)  คติประจำใจ : กราฟคือพระเจ้า
          เป็นนักลงทุนที่มีความเสี่ยงรองลงมา เพราะโดยพื้นฐานของทาง technical แล้วมักไม่ได้มองที่พื้นฐานของตัวหุ้นเลย สิ่งที่เชื่อถือได้สำหรับนักเทคนิคคือ กราฟ และโวลุ่มการซื้อขายเท่านั้น ลักษณะการเข้าทำกำไรของนักเทคนิคคือรอจนสัญญาณชัดเจนแล้วจึงลงมือครับ ส่วนสัญาณที่ใช้ก็ขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน ตัวอย่างเช่น
          -MACD มีความแน่นอนต่อแนวโน้มค่อนข้างสูง แต่สัญญาณถือได้ว่าช้าที่สุดในบรรดา Indicator ทั้งหลาย เหมาะกับการทำกำไรตามแนวโน้มขาขึ้นและขาลง แต่ไม่เหมาะกับช่วง Sideway
          -Stochastic มีความเร็วของสัญญาณต่อการขึ้นลงของราคาค่อนข้างเร็ว มักจะใช้ประกอบกับ indicator ตัวอื่นเพื่อยืนยันสัญญาณมากกว่า แต่ใช้ทำไรได้ดีในช่วง sideway ครับ
          -EMA/SMA มีความเร็วของสัญญาณขึ้นอยู่กับการวางระบบในการเทรดของแต่ละคน หากวางระบบได้ดีแล้วมีการทดสอบ back test กับระบบจนมั่นใจแล้ว ความเสี่ยงที่มีก็จะถูกจำกัดอยู่ในระบบที่เราวางไว้ครับ และอาจจะต้องมีการ cut loss บ้างเมื่อระบบเกิด false signal (ให้สัญญาณผิดพลาด)
          โดยหลักของนักเทคนิคแล้ว ถือว่าเป็นนักลงทุนที่ทำผลตอบแทนได้ค่อนข้างดี เพราะโดยหลักแล้วนักเทคนิคมักไม่ทำกำไรออกมาจนกว่าระบบจะส่งสัญญาณ ทำให้มี let profit run อย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่ขาย ณ จุดสูงสุดเช่นกันยกเว้นแต่มีการกำหนดจุดทำกำไรแน่นอนแล้วเท่านั้น
          โดยทั่วไปนักลงทุนทั้ง 2 ประเภทมักทำกำไรได้ในทั้งขาขึ้นและขาลงโดยมีการเล่นทำกำไรทั้งใน tfex Option derivative-warrant

          3.แนวพื้นฐาน (Fundamental)  คติประจำใจ : ราคาหุ้นต้องวิ่งเข้าสู่ปัจจัยพื้นฐานเสมอ
          เป็นนักลงทุนที่ความเสี่ยงเริ่มน้อยลง แต่ในการเลือกลงทุนในหุ้นแต่ละตัวนั้นก็ต้องทำการบ้านในการดูพื้นฐานกิจการ งบการเงิน และปัจจัยทางเศรษฐกิจไว้บ้าง เพื่อประกอบการตัดสินใจ ส่วนมากมักจะเป็นนักลงทุนในระยะกลางจนถึงระยะยาว
นักลงทุนกลุ่มนี้มักจะไม่ค่อยต่อราคาหุ้นมากมาย ขอเพียงแค่ให้มี MOS บ้างและมีผลตอบแทนที่เหมาะสมกับความต้องการก็พอ และจากการที่เลือกสรรค์หุ้นอย่างดีแล้วจึงต้องมั่นใจว่ากิจการที่เราเป็นเจ้าของนั้นยังมีพื้นฐานที่ดีอยู่ ก็ยังคงถือหุ้นตัวนั้นต่อไปตราบเท่าที่พื้นฐานยังไม่เปลี่ยน โดยไม่สนกับราคาหุ้น ณ ปัจจุบัน เพราะไม่ว่าหุ้นจะขึ้นลงอย่างไรมันย่อมวิ่งเข้าหามูลค่าพื้นฐานของตัวกิจการเสมอ ตราบเท่าที่กิจการยังเติบโตต่อไป ราคาหุ้นในระยะยาวก็ย่อมต้องสูงขึ้นตามนั่นเอง
           แต่ความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนประเภทนี้ก็คือ มูลค่าหุ้นที่อาจลดลงชั่วคราว โดยปัจจัยภายนอกมากระทบซะมากกว่า หรืออีกอย่างก็คือ เสียโอกาสของเงินในการทำกำไรเท่านั้นเอง โดยจุดนี้แหละเป็นบททดสอบสำหรับนักลงทุนระยะยาวครับ
         
          4.แนวมูลค่า (Value Investor)  คติประจำใจ : เจอของถูกเมื่อไหร่ค่อยเจอกัน
          จะคล้ายๆกับนักลงทุนพื้นฐาน แต่นักลงทุนแนวนี้จะแสวงหามูลค่าของตัวกิจการ และเล็งเห็นถึงศักยภาพของกิจการอย่างชัดเจนเมื่อเทียบกับมูลค่าของตัวกิจการที่ต้องการ โดยมากนักลงทุนแนวนี้จะมีแนวคิดที่ค่อนข้างก้าวหน้ากว่ากลุ่มอื่น คือจะไปมองหากิจการลงทุนที่มีมูลค่าที่ถูกแต่มีความสามารถทำธุรกิจที่ดีได้ในอนาคต ในขณะที่คนอื่นๆยังมองไม่เห็น ทำให้ซื้อหุ้นได้ในราคาที่ถูกเพราะไม่ต้องไปแย่งซื้อกับใคร
          และผลตอบแทนที่ได้ของนักลงทุนกลุ่มนี้มักจะสูงกว่ากลุ่มอื่นๆทั้งหมด เพราะได้กิจการมาในราคาที่คนอื่นไม่สนใจ แต่เมื่อกิจการเริ่มแสดงศักยภาพตามที่นักลงทุนมองไว้ราคามักจะวิ่งขึ้นไปหลายเท่าตัวเลยทีเดียว และสำหรับความเสี่ยงของนักลงทุนประเภทนี้ค่อนข้างต่ำ ความเสี่ยงเดียวที่น่าจะมี คือ การที่มองธุรกิจที่ผิดพลาดเองเท่านั้น

          5.นักค้ากำไร (Arbitrage)  คติประจำใจ : อะไรก็ได้ขอให้มีกำไร
          โดยนิยามของนักค้ากำไรก็คือ การทำกำไรโดยไม่มีความเสี่ยงหรือความเสี่ยงน้อยมากๆ นักลงทุนลักษณะนี้ต้องใช้ความรู้และความสามารถเฉพาะตัวที่ค่อนข้างสูงเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่น่าพึงพอใจ บวกกับต้องมีวิสัยทัศน์ในการทำไรที่ค่อนข้างแม่นยำเพื่อให้ความเสี่ยงนั้นต่ำที่สุด กล่าวคือความสามารถของนักค้ากำไรที่เก่งนั้นจะทำกำไรได้สูงในขณะที่ความเสี่ยงต่ำมาก ยกตัวอย่างเช่น การ เปิด Short - long spread ในสัญญา tfex , การทำ tender offer , การซื้อ-ขาย-แปลงหุ้นwarrant ครับ
          
          6.เจ้ามือ (Host)  คติประจำใจ : จุดไฟล่อแมงเม่า
          เป็นนักลงทุนที่ผู้เขียนไม่สนับสนุนที่สุดครับ เพราะเจ้ามือจะใช้หลักการในการเก็งกำไรโดยไม่สนใจพื้นฐานหุ้น ใช้ vol ดันราคาเท่านั้นครับ ซึ่งมันจะเป็น zero sum game คือต้องมีคนได้-เสียในเกมนี้ ใครลุกช้าเสียเงินครับ โดยหลักการของเจ้ามือจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วง
          1)ช่วงเก็บหุ้น ช่วงนี้โวลุ่มจะบางๆ มีโวลุ่มเข้าบ้างเล้กน้อยแต่ไม่มีการเคลื่อนไหวของราคาหุ้น จนกว่าจะเก็บหุ้นจนพอใจ
          2)ช่วงลากโชว์ หรือ เรียกแขก จะเป็นช่วงที่มีการเริ่มทำราคาขึ้นไปสูงขึ้นโดยมีโวลุ่มสนับสนุน โดยช่วงนี้ก็จะมีการปล่อยข่าวดีๆหรือข่าวลับวงในออกมาเพื่อกระตุ้นราคา ลักษณะการลากก็ทำได้ไม่ยาก โยนไปโยนมาระหว่างเจ้ามือเอาก็ได้ครับ และให้ติดอยู่ใน most active นานๆ เพื่อดึงดูดความสนใจของนักลงทุน แต่ช่วงลากนี้ต้องมีการตกลงกับผู้ถือหุ้นใหญ่ หรือผู้บริหารไว้ก่อนเพื่อมิให้เกิดการสกัดขากันเกิดขึ้นครับ
          3)ช่วงระบายของ เมื่อนักลงทุนรายย่อยเริ่มเข้ามาผสมโรงตามที่คาดไว้แล้วก็ทำการลากต่อไปยังเป้าหมาย แล้วจึงเริ่มระบายของออก โดยค่อยๆทยอยขายไปเรื่อยๆปล่อยให้รายย่อยทำงานต่อไป จนเมื่อใดที่นักลงทุนรายย่อยเริ่มหมดแรงแล้ว ก็ทำการปิดรอบครับ ขายทิ้งทุบทุกราคา เพราะขายเท่าไหร่ก็กำไร เมื่อหุ้นทิ้งดิ่งอย่างแรงพร้อมโวลุ่มก็เป็นสัญญาณหมดรอบครับ ใครลุกช้าก็ติดดอยไป
          โดยทั่วไปแล้วการปั่นมักจะทำตอนช่วงที่ตลาดคึกคักสุดขีด เพราะนักลงทุนหน้าใหม่เยอะและไม่ทันเล่ห์เหลี่ยมพวกนี้จึงทำให้ทำกำไรได้ง่าย ส่วนผู้ชำนาญแล้วจะรู้ว่าหุ้นไหนเป็นอย่างไรดีมักจะเล่นสนุกสนานตามน้ำซะมากกว่า

                                           ~~~ แล้วคุณละครับเป็นนักลงทุนแบบไหน ~~~